. 0 min read

บล็อกเชน คืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

เมื่อพูดถึงบล็อกเชน หลายคนมักจะนึกถึงความเกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล หรือคริปโตเนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับบิทคอยน์นั่นเอง

ในเมื่อคุณรู้จักบิทคอยน์แล้ว ทีนี้มาทำความรู้จักกับบล็อกเชน คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร ทำงานอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรในโลกดิจิทัลที่กำลังดำเนินไปทั่วทุกมุมโลกแบบนี้

บทความนี้เราจะกล่าวถึงข้อมูลที่เทรดเดอร์ควรรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมนี้ และบทบาทสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตของบล็อกเชน ข้อดี ข้อเสียที่จะได้รับในอนาคต

บล็อกเชน หมายถึงอะไร ?


บล็อกเชน คือฐานข้อมูลประเภทหนึ่ง หรือชุดข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในบล็อกโดยเชื่อมต่อผ่านโปรโตคอลและมีการเข้ารหัสที่ซับซ้อน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะสามารถอัปเดตได้แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงย้อนหลังได้ นั่นหมายความว่าข้อมูลทั้งหมดสามารถตรวจสอบจากรอยประทับเวลา ตรวจสอบเมื่อใดก็ได้ และสามารถใช้เป็นลายนิ้วมือดิจิทัลได้อีกด้วย

บล็อกเชน หมายถึงอะไร ?

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าบล็อกเชน (blockchain) หมายถึงเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง และมักนำมาใช้ในธุรกิจการเงินเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในสกุลเงินดิจิทัลนั่นเอง

ผู้คิดค้นบล็อกเชน คือใคร ?


แล้วบล็อกเชนจุดเริ่มต้นมาได้อย่างไร ? ใครเป็นผู้คิดค้น ?

บล็อกเชนได้เปิดตัวครั้งแรกในปี 2016 โดยทำหน้าที่สนับสนุนบิทคอยน์ซึ่งถูกสร้างโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลภายใต้ชื่อ Nakamoto Satoshi

แต่อย่างไรแล้วเกือบสองทศวรรษก่อนหน้านี้ได้มีงานวิจัยสรุปโครงร่างครั้งแรกโดยนักวิจัย Stuart Haber และ W. Scott Stornetta ในปี 1991 ซึ่งได้ถูกพัฒนามาเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส Stefan Konst ที่ทำสำเร็จเมื่อปี 2000 และถูกนำมาใช้งานจริงเป็นครั้งแรก

ต่อมาในปี 2014 บล็อกเชนได้แยกตัวออกจากบิทคอยน์อย่างสิ้นเชิงจนถูกเรียกว่าเป็นเวอร์ชั่น 2.0 ซึ่งนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากบิทคอยน์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของเหรียญคริปโตทางเลือกอื่น และการเติบโตของวงการสกุลเงินดิจิทัล

คุณลักษณะของเทคโนโลยี บล็อกเชน


คุณสมบัติที่โดดเด่นของบล็อกเชน คือจุดแข็งที่ทำให้ผู้ใช้งานให้ความสนใจกันเป็นวงกว้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประการดังนี้

เปลี่ยนค่าไม่ได้ (Immutability)

การเปลี่ยนค่าไม่ได้ในบล็อกเชน คือการที่หลังจากนำข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้อีกต่อไป การเปลี่ยนค่าไม่ได้ในบล็อกเชนเกิดจากกระบวนการทื่เรียกว่า แฮช (Hash) ในการแปลงข้อมูลให้เป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่มีลักษณะจำเพาะของข้อมูลนั้นเพื่อความปลอดภัย และนำมา Out put หรือที่เรียกว่า CheckSum เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

ทุกครั้งที่มีการแฮชข้อมูลเดียวกันด้วยอัลกอลิทึมเดียวกัน คุณจะได้ผลลัพธ์แบบเดิมเสมอ ซึ่งตรงนี้จะทำหน้าที่เป็นลายเซ็นดิจิทัลนั่นเอง

ในบล็อกเชน แฮชจะถูกสร้างขึ้นโดยใช้ทั้งข้อมูลจากบล็อกที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันและบล็อกก่อนหน้านี้ และทำการเชื่อมสองทั้งสองเข้าด้วยกัน หากมีใครพยายามเปลี่ยนข้อมูลบล็อกใดบล็อกหนึ่ง แฮชทั้งหมดจะถูกเปลี่ยน ส่งผลให้ข้อมูลในบล็อกทั้งหมดไม่สามารถใช้งานได้อีก

นั่นหมายความว่า แฮชคือสิ่งที่จะช่วยรับประกันความสมบูรณ์ของข้อมูล และสามารถอ้างอิงข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในบล็อกเชนได้ตลอดเวลา และสามารถอัปเดตใหม่ได้โดยมีประวัติที่ชัดเจน สามารถเรียกดูและอ้างอิงได้ ทำให้มีความน่าเชื่อถือ และป้องกันการฉ้อโกงได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเป็นการบันทึกไว้ว่าใครทำอะไรกับชุดข้อมูลและทำอย่างไรบ้าง

การกระจายอำนาจ (Decentralization)

การกระจายอำนาจในบล็อกเชน คือ การถ่ายโอนอำนาจและความรับผิดชอบจากศูนย์กลางไปยังผู้เข้าร่วมทั้งหมด นั่นหมายความว่าไม่มีใครทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของใคร เพราะทุกคนมีสิทธิ์และความเท่าเทียมกัน

ประโยชน์ของการกระจายอำนาจมีดังนี้

  • การสื่อสารแบบเพียร์ทูเพียร์ : ไม่มีตัวกลางในการรับส่งข้อความหรือข้อมูลต่าง ๆ อีกต่อไป เพราะคุณสามารถใช้บล็อกเชนส่งเข้าถึงบุคคลได้โดยตรง เช่น การซื้อขายคริปโตระหว่างผู้ค้าและผู้ซื้อโดยไม่ผ่านตัวกลาง ซึ่งพวกเขาจะทำการตกลงราคากันเองโดยไม่จำเป็นต้องราคาเดียวกับแพลตฟอร์มซื้อขาย
  • ความปลอดภัย : ข้อมูลไม่ได้ถูกจัดเก็บไว้เพียงจุดใดจุดหนึ่ง แต่จะกระจายไปยังผู้ใช้งานทุกคน จึงทำให้ไม่สามารถทำการแฮ็กข้อมูลบนบล็อกเชนได้
  • การแจ้งเตือน : ด้วยความที่ข้อมูลถูกกระจายไปยังผู้ใช้งาน ดังนั้นเมื่อเวลาที่มีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดหรือการทุจริต ก็จะสามารถรับรู้และแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
  • ความต่อเนื่องในการใช้งาน : หากผู้ใช้งานรายใดรายหนึ่งกำลังอัปเดตข้อมูลแล้วเกิดไฟฟ้าดับ เครือข่ายก็ยังคงใช้งานได้ตามปกติ เนื่องจากไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนใดคนหนึ่ง
  • ความไว้วางใจ : ไม่จำเป็นต้องรู้จักกับผู้ใช้งานทุกคน ด้วยความที่เปลี่ยนค่าไม่ได้ทำให้คุณสามารถไว้วางใจได้ว่าจะไม่มีใครมาแอบแก้หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง

นี่จึงเป็นเหตุให้เทคโนโลยี บล็อกเชนได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างในเรื่องของความเท่าเทียมและปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับธุรกิจการเงิน

ความโปร่งใส (Transparency)

ความโปร่งใสของบล็อกเชน คือ การที่ทุกอย่างถูกจัดเก็บไว้ในบล็อกเชนและไม่สามารถแก้ไขได้ นั่นหมายความว่าข้อมูลจะไม่ได้แสดงให้ทุกคนที่ใช้งานเห็น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สามที่สำคัญของบล็อกเชน แต่คุณสามารถตรวจสอบทุกธุรกรรมข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านสิ่งที่เรียกว่า Block Explorer ได้

ความโปร่งใส (Transparency)

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังบุคคลหรือบริษัทที่รับผิดชอบได้ง่าย เพราะคุณไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเมื่อใช้บิทคอยน์ หรือสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ เพราะคุณจะได้รับกระเป๋าดิจิทัลเป็นของตัวเอง และมันจะเป็นที่อยู่ในการจัดเก็บข้อมูลไว้ในบล็อกเมื่อมีการทำธุรกรรมทางการเงิน

แต่ “ยากต่อการตรวจสอบ” ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ หลายบริษัทที่ใช้บล็อกเชนจะอย่างแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนจะมีที่อยู่กระเป๋าเงินแสดงเป็นสาธารณะ เพื่อให้คุณสามารถเห็นธุรกรรมของพวกเขาได้ เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน หากคุณได้ทำการ KYC หรือยืนยันตัวตนเพื่อลงทะเบียนในตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยน ที่อยู่กระเป๋าเงินของคุณจะได้เชื่อมโยงกับข้อมูลส่วนตัวโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกค้นพบ แฮ็ก หรือละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้เช่นกัน

บล็อกเชน คือเทคโนโลยีด้านใด ทำงานอย่างไร ?


วิธีการใช้งานบล็อกเชน (blockchain)

เรามาดูกันว่าประโยชน์ของบล็อกเชน (blockchain) เป็นเทคโนโลยีด้านการจัดเก็บข้อมูลแบบใดกันบ้าง และธุรกิจประเภทไหนที่เริ่มทำบล็อกเชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดเก็บข้อมูล

  • การเงิน : ช่วยให้การชำระเงินระหว่างประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ReiseBank AG ในประเทศเยอรมนี ที่ได้นำเทคโนโลยี บล็อกเชนเข้ามาช่วยในการโอนเงินข้ามประเทศ จากที่ต้องใช้เวลา 1-3 วันทำการ ลดเหลือเพียง 20 วินาทีเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมธนาคารหลายแห่งจึงมองหาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคาร (CBDC) ของตัวเอง
  • อสังหาริมทรัพย์ : บล็อกเชนมีส่วนช่วยในการทำธุรกิจดังกล่าวได้ตั้งแต่การทำ Smart Contact หรือสัญญาอัจฉริยะที่จะช่วยลดเวลาในการทำสัญญา และเปลี่ยนรูปแบบการซื้อขายให้กลายเป็น Token หรือการระดมทุนในรูปแบบ ICO หรือพรีเซล เพื่อให้นักลงทุนสะดวกในการเข้าถึง และใช้เวลาไม่นานนัก
  • การแพทย์ : บล็อกเชนจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าจะแชร์ข้อมูลกับใคร รวมถึงประวัติการรักษาต่าง ๆ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่อันตราย เพื่อให้สะดวกสำหรับการส่งต่อรักษา หรือการใช้งานหุ่นยนต์กู้ภัยในการกระจายข้อมูลไปยังหุ่นยนต์ตัวอื่น ๆ ลดเวลาในการป้อนคำสั่งทีละตัว รวมไปถึงการตรวจสอบข้อมูลเวชภัณฑ์เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้ ยังไม่หมดอายุ หรือเป็นยาปลอม เป็นต้น
  • ศิลปะ : งานศิลปะผ่านบล็อกเชน หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ NFT ที่มีการซื้อขายกันเป็นวงกว้าง บล็อกเชนจะช่วยให้พิสูจน์ได้ว่างานศิลปะดังกล่าวเป็นของใคร และสามารถสืบได้ว่าใครเป็นเจ้าของดั้งเดิมของมัน ทำให้งานศิลปะเหล่านี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและไม่สามารถหาจากไหนทดแทนได้ ซึ่งเป็นคุณค่าของงานศิลปะอย่างแท้จริง
  • ร้านค้า : บล็อกเชนจะช่วยให้ห้างร้านต่าง ๆ สามารถเปิดข้อมูลสินค้าได้อย่างโปร่งใส ที่ให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง รวมไปถึงการชำระเงินกับทางร้านค้าโดยตรง คุณจะสามารถซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอคิวหรือใช้เวลานาน

วิธีลงทุนเทคโนโลยีบล็อกเชน


คุณสามารถทำการลงทุนบล็อกเชนได้สองวิธีหลักคือ

ผ่านหุ้น

คุณสามารถลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีโซลูชั่นบล็อกเชนเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอได้ สิ่งเหล่านี้มักจะเป็นตัวเลือกที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับสกุลเงินดิจิทัล หรือคริปโต อีกทั้งคุณยังสามารถลงทุนในธุรกิจหรือบริษัทสตาร์ทอัปที่มีการเผยแพร่บล็อกเชนสู่สาธารณะได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ยิ่งคุณถือหุ้นเยอะเท่าไหร่ คุณยิ่งมีอำนาจในการจัดการบริษัทมากเท่านั้น

ผ่านสกุลเงินดิจิทัล

การซื้อสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตในการลงทุนบล็อกเชน คือ เมื่อเครือข่ายบล็อกเชนแนะนำแนวคิดใหม่ มีการปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงสำคัญอื่น ๆ ทำให้ราคาเหรียญมักจะได้รับการกระตุ้นให้เพิ่มขึ้น

ไม่เพียงแต่สามารถสร้างรายได้ด้วยวิธีนี้เท่านั้น แต่การเป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัลในจำนวนที่เหมาะสมยังให้สิทธิ์การลงคะแนนเสียงในบล็อกเชนอีกด้วย ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ต่างจากการมีหุ้นเลย

วิธีการใช้งานบล็อกเชน (blockchain)


เมื่อทำความเข้าใจคุณสมบัติสำคัญของบล็อกเชน คืออะไรแล้ว จะช่วยให้เข้าใจว่าเทคโนโลยีดังกล่าวทำงานอย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาธุรกิจของคุณได้อย่างยั่งยืน โดยสามารถนำมาใช้งานได้ดังนี้

สัญญาอัจฉริยะ

ทุกการทำธุรกรรม หรือการตกลงใด ๆ ก็ตาม ย่อมมีสัญญาตามมา โดยบล็อกเชนจะช่วยสร้างสัญญาอัจฉริยะ หรือ Smart Contract ให้กับผู้จำหน่ายและผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยในการลดต้นทุนทรัพยากรอย่างเช่น กระดาษ พนักงาน และอื่น ๆ

โดยจะเป็นสัญญาที่ไม่ผ่านคนกลางและเป็นรูปแบบดิจิทัลที่สามารถจัดเก็บไว้ได้อย่างปลอดภัย สามารถเรียกตรวจสอบเมื่อใดก็ได้ตามความต้องการ ป้องกันการสูญหายของข้อมูล หรือหาสัญญาไม่เจอ นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองไม่ต้องผ่านคนกลาง ทำให้รวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ธุรกรรมทางการเงิน

ลดระยะเวลาในการทำธูุรกรรมได้อย่างมากเมื่อใช้เทคโนโลยี บล็อกเชน จากที่เคยต้องใช้เวลาตรวจสอบหลายวันอาจะเสร็จสิ้นภายในไม่กี่วินาที ยกตัวอย่างจากการโอนเงินข้ามประเทศของธนาคารในประเทศเยอรมัน ที่ใช้เวลาแล้วเสร็จภายใน 20 วินาทีเท่านั้น ซึ่งลดเวลาได้หลายสิบเท่าเลยทีเดียว

ไม่เพียงเท่านั้น การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบล็อกเชนเป็นการทำงานด้วยระบบ Peer to Peer ซึ่งไม่ต้องผ่านตัวกลาง ซึ่งจะช่วยให้สถาบันทางการเงินลดต้นทุนในการดำเนินการ ซึ่งส่งผลต่อค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง จึงกล่าวได้ว่าทั้งรวดเร็ว และค่าธรรมเนียมต่ำ อีกทั้งยังปลอดภัย

รู้พฤติกรรมผู้บริโภค

ในการใช้งานบล็อกเชน คือทุกคนจะมี Digital ID ยิ่งหากในอนาคตมีผู้ใช้งานบล็อกเชนมากขึ้น จะสามารถตรวจสอบและสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลการใช้งานจริงเนื่องจากไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้ ทำให้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการตลาด หรือผู้ที่ต้องการวิเคราะห์การใช้งานของผู้บริโภค

ซึ่งนั่นจะส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่ต้องการและสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองได้อย่างตรงจุด มากกว่าการเก็บข้อมูลภาคสนามที่มีโอกาสจะเป็นข้อมูลปลอมได้

บทสรุป


บล็อกเชน คือเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงย้อนหลังได้ จึงทำให้สามารถตรวจสอบย้อนหลังตามประทับเวลาที่ถูกต้อง ชัดเจน ถึงแม้จะมีการอัปเดตข้อมูลเข้าไปแล้วก็ตาม ดังนั้นแล้วจึงทำให้ชุดข้อมูลมีความโปร่งใส และปลอดภัย

ปัจจุบันมีธุรกิจหลายประเภทที่ทำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้งาน ไม่ว่าจะทั้งการทำสัญญาอัจฉริยะ การทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อการพัฒนาสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการได้อย่างตรงจุด

ในอนาคต บล็อกเชนจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของผู้คน ยิ่งถูกพัฒนาให้ใช้งานง่ายและเข้าถึงง่ายมากเพียงใด ย่อมมีผู้สนใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของบล็อกเชนมาขึ้นเท่านั้น และประโยชน์ของเทคโนโลยีเหล่านี้คือการลดเวลาในการดำเนินการ ลดต้นทุน ปลอดภัย