ประเภทของคริปโตเคอเรนซี่

สมชาย หวาง
| 20 min read

ประเภทของคริปโตเคอเรนซี่

โลกเปลี่ยนไปในปี 2009 เมื่อ Bitcoin ถูกเปิดตัวขึ้นครั้งแรก แต่ในตอนนั้นเรายังไม่ได้ตระหนักถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างที่เป็นอยู่ของคริปโตเคอเรนซี และเราก็ยังไม่ได้คาดการณ์ว่าจะมีคริปโตเคอเรนซีหลากหลายประเภทเกิดขึ้นมากเพียงใด วันนี้ มีคริปโตเคอเรนซีอยู่เกือบ 10,000 สกุล และยังมีอีกจำนวนมากที่ได้ตายไปแล้ว

ในบทความนี้ เราจะสำรวจประเภทของ Cryptocurrency ต่าง ๆ รวมถึงสรุปโครงการชั้นนำและสิ่งที่ทำให้แตกต่างจากอีกนับพันโครงการ ก่อนอื่น มาดูกันว่าทำไมถึงมีโครงการคริปโตมากมายขนาดนี้

ทำไมถึงมีประเภทของคริปโตเคอเรนซี่หลากหลายขนาดนี้


เหตุผลสำคัญที่มีคริปโตเคอเรนซีจำนวนมากนั้น ส่วนใหญ่มาจากแนวคิดเรื่องเหรียญกับโทเค็น เราจะพูดถึงความแตกต่างกันในหัวข้อถัดไป แต่โทเค็นนั้นเป็นส่วนสำคัญของตลาดคริปโต และสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้ไม่ได้มีบล็อกเชนเป็นของตัวเองแต่พึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานของบล็อกเชนอื่น ๆ แทน

Bitcoin เป็นคริปโตเคอเรนซีสกุลแรกที่ใช้งานได้จริงและเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ถือว่าเป็นเหรียญคริปโตน่าลงทุนอันดับต้นๆเสมอมา โดย Whitepaper ของ Bitcoin ในปี 2008 นำไปสู่การเปิดตัวบล็อกเชน (Blockchain) ในปี 2009 และในปี 2011 Litecoin ถูกเปิดตัวขึ้นมา โครงการนี้เป็น fork ของ Bitcoin code และมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขจุดอ่อนบางประการของ Bitcoin โดยเฉพาะเรื่องความเร็วในการทำธุรกรรม Litecoin สร้างบล็อกใหม่เร็วกว่า Bitcoin ถึง 4 เท่า โดยใช้เวลาเป้าหมายในการสร้างบล็อกอยู่ที่ 2.5 นาที เทียบกับ 10 นาทีของ Bitcoin

กราฟราคา Bitcoin
กราฟราคา Bitcoin – ที่มา: Tradingview

แนวคิดเรื่องการปรับปรุงนี้ยังคงดำเนินต่อไปในโครงการอื่น ๆ โครงการคริปโตในปัจจุบันจำนวนมากพยายามที่จะแก้ไขข้อบกพร่องของโครงการที่มีอยู่หรือเพิ่มคุณสมบัติใหม่ ๆ ที่ไม่ปรากฎอยู่ในโครงการที่มีอยู่

Ethereum เป็นตัวอย่างที่ดีของการประดิษฐ์คริปโตเคอเรนซีที่นำเสนอคุณลักษณะใหม่ ๆ ในรูปแบบเดิม Ethereum ใช้กลไกฉันทามติคล้ายกับ Bitcoin โดยทั้งสองโครงการใช้ฉันทามติ Proof of Work อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ Ethereum แตกต่างอย่างมากคือความสามารถในการรองรับ Smart Contract ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนเครือข่ายบล็อกเชน

Bitcoin และ Litecoin ทำหน้าที่ง่าย ๆ ในการเป็นที่เก็บมูลค่า โดยทำหน้าที่เป็นเงินดิจิทัล ในทางตรงกันข้าม Ethereum มีความสามารถในการสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานบนเครือข่าย ขณะที่ Bitcoin ไม่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมและอาจไม่มีวันแข่งขันกับเครือข่าย Smart Contract ในปัจจุบัน และเพื่อสร้างการใช้งานเพิ่มเติม โลกจึงต้องการคริปโตเคอเรนซีประเภทอื่น บล็อกเชนใหม่อย่าง Ethereum จึงเปิดตัว Genesis Block ของตนในปี 2015

สกุลเงินดิจิทัลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

คริปโทเคอร์เรนซี มีอะไรบ้างนั้น เป็นที่ประมาณกันว่าในปัจจุบันมีโครงการคริปโตราว 10,000 โครงการ Coingecko ระบุว่ามีคริปโตเคอเรนซีมากกว่า 24,000 ประเภท ทั้งเหรียญคริปโตที่มียูทิลิตี้จริง และเหรียญมีมที่น่าลงทุน อย่างไรก็ตาม เกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ของโครงการที่ระบุในเว็บไซต์ข้อมูลคริปโตนั้นได้ตายไปแล้ว ส่วนใหญ่เป็นเหรียญคริปโตใหม่ ๆที่เกิดขึ้นในช่วงการวิ่งขึ้นของตลาดกระทิงในช่วงปี 2020 ถึง 2021

Ethereum เองก็ยังคงเป็นเครือข่ายคริปโตที่ใหญ่ที่สุดที่รองรับ Smart Contract แต่ก็ยังคงเผชิญกับปัญหาต่อเนื่องหลายประการ รวมถึงความสามารถในการขยายขนาด ซึ่งหมายถึงความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมนับพันรายการต่อวินาที (TPS) และค่าธรรมเนียม ธุรกรรมบนเครือข่ายจะแพงขึ้นเมื่อการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น

ตลาดก็ตอบสนองด้วยโครงการใหม่ ๆ ที่มาแก้ปัญหาเรื่องการขยายขนาดและค่าใช้จ่าย Solana, Polygon และ Cardano ล้วนเป็นเครือข่ายที่สามารถใช้งาน Smart Contract ได้ ซึ่งสามารถประมวลผลธุรกรรมต่อวินาทีได้มากขึ้นด้วยต้นทุนต่อธุรกรรมที่ต่ำกว่า

Transaction Per Second สำหรับเครือข่าย Smart Contract ชั้นนำได้แก่

  • Ethereum ประมาณ 20 TPS
  • Solana 45,000 TPS
  • Polygon 65,000 TPS
  • Cardano 1,000 TPS

ระบบเครือข่ายคริปโตเติบโตอย่างรุ่งเรืองด้วยการแข่งขันและนวัตกรรม ในขณะเดียวกันก็มีการแบ่งปันเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน โครงการส่วนใหญ่จะเผยแพร่โค้ดของตนแบบ open-source ที่คนอื่นสามารถ fork โครงการหรือนำโค้ดไปใช้ได้

Open-Source Code คืออะไร

Open-source code หมายถึงโค้ดคอมพิวเตอร์ที่ให้คนอื่นดูได้ โปรแกรมจำนวนมากเป็น closed-source ซึ่งหมายความว่า เราไม่รู้ว่าโปรแกรมกำลังทำอะไรอยู่หรือมีการเก็บข้อมูลอะไรบ้าง Open-source ทำให้มีความโปร่งใส และในหลายกรณีก็ทำให้คนอื่นสามารถคัดลอกและแก้ไขโค้ดได้ Litecoin ทำเช่นนี้กับโค้ดของ Bitcoin จากนั้น Dogecoin ก็ “fork” โค้ดของ Litecoin ซึ่งทำให้เกิดบล็อกเชนใหม่ทั้งสองกรณี

หลายโครงการใหม่พยายามที่จะปรับปรุงคุณลักษณะและความสามารถของโครงการที่มีอยู่ Open-source code ทำให้สิ่งนั้นเป็นไปได้ ในขณะเดียวกันก็ทำให้โครงการมีความโปร่งใสสำหรับผู้ใช้

เข้าใจพื้นฐาน


มาเรียนรู้พื้นฐานบางอย่างที่ทำให้เราเข้าใจประเภทของโครงการคริปโตได้ง่ายขึ้นกัน

นิยามของคริปโตเคอเรนซี

คริปโตเคอเรนซี เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้เทคนิคการเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยและการบันทึกบัญชี ธุรกรรมจะถูกเก็บไว้ในบัญชีแยกประเภทแบบกระจายตัวที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์หลายร้อยหรือหลายพันเครื่องทั่วโลก

เครือข่ายคริปโตอย่าง Bitcoin และ Ethereum ใช้คริปโตเคอเรนซีหลักของตนเป็นวิธีการจ่ายเงินสำหรับธุรกรรมบนเครือข่าย นอกจากนี้ สกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นที่เก็บมูลค่าและหน่วยบัญชีด้วย โดยสรุป เหรียญเหล่านี้คือเงิน ถ้าคู่ค้าในธุรกรรมก็มองว่าเป็นเงินเหมือนกัน

Crypto Coins และ Tokens

แม้จะใช้แทนกันได้บ่อยครั้ง แต่เหรียญ (Coins) และ โทเค็น (Tokens) มีความแตกต่างกัน

  • Coins: เหรียญ คือ คริปโตเคอเรนซีหลักสำหรับบล็อกเชนเฉพาะ ตัวอย่างเช่น bitcoin เป็นสกุลเงินของเครือข่ายบล็อกเชน Bitcoin เช่นเดียวกัน ether เป็นคริปโตเคอเรนซีเหลักของบล็อกเชน Ethereum เหรียญเป็นประเภทของเงินที่เฉพาะเจาะจงที่ต้องใช้เพื่อทำธุรกรรมบนเครือข่ายบล็อกเชนเฉพาะ
  • Tokens: โทเค็น คือตัวแทนความเป็นเจ้าของ แต่อยู่บนบล็อกเชนหลัก มักเป็นเหรียญคริปโต pre-sale ที่ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น โทเค็น Aave ใช้บนบล็อกเชน Ethereum เพื่อลงคะแนนเสียงในข้อเสนอของโครงการและเป็นกองทุนประกันสำหรับผู้ใช้โปรโตคอลการให้ยืมและกู้ยืมของ Aave อย่างไรก็ตาม Aave ไม่มีบล็อกเชนของตน

เมื่อพูดถึงจำนวนคริปโตเคอเรนซีที่มีมากกว่าหมื่นสกุล สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าส่วนใหญ่เป็นโทเค็น มากกว่าที่จะมีบล็อกเชนที่เป็นอิสระ

Blockchain: เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังคริปโตเคอเรนซี

คำว่า Blockchain ได้รับชื่อมาจากโครงสร้างของมันเอง เครือข่ายคริปโตจะรวมธุรกรรมเข้าเป็นกลุ่มที่เรียกว่า block โดย block เหล่านี้จะเชื่อมต่อกันโดยใช้ cryptographic hash ซึ่งเป็นค่าที่ถูกเข้ารหัสที่เชื่อมโยง parent block (บล็อคก่อนหน้า) กับ child block (บล็อคถัดไป) เป็นลูกโซ่ 

ในทางปฏิบัติ บล็อกเชนเหล่านี้จะเป็นสมุดบัญชีใหญ่ บันทึกรายการธุรกรรม ซึ่งจะมีการกระจายไปยังโหนดอื่น ๆ ในเครือข่ายบล็อกเชน ตัวอย่างเช่น Bitcoin มีจำนวนโหนด Bitcoin ประมาณ 53,000 โหนดทั่วโลก แต่ละโหนดมีสำเนาของบล็อกเชน

โครงการคริปโตที่มีชื่อเสียงหลายโครงการ เช่น Avalanche, Hedera, IOTA และ Kaspa ใช้ Directed Acyclic Graph หรือ DAG แทนบล็อกเชนแบบดั้งเดิม DAG จะจัดธุรกรรมเป็นกลุ่มใน Vertex โดย Vertex เหล่านี้จะเชื่อมต่อกัน และ DAG สามารถจัดลำดับเวลาธุรกรรมได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีห่วงโซ่ที่เข้มงวด

ไม่ว่าจะเป็น blockchain หรือ DAG เครือข่ายคริปโตจะเก็บบันทึกธุรกรรม ซึ่งอาจจะมีสำเนาอยู่นับพัน ๆ ชุด

การกระจายอำนาจในคริปโต คืออะไร

การกระจายอำนาจในคริปโต หมายถึงแนวคิดเรื่องเครือข่ายที่ไม่มีศูนย์กลาง อย่างไรก็ตาม การกระจายอำนาจจะพูดถึง 3 ด้านหลัก ๆ คือ

  • การเก็บข้อมูล: ธุรกรรมบล็อคเชนจะมีการทำซ้ำบนโหนด ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่าย
  • การตรวจสอบ: เมื่อโหนดที่ตรวจสอบธุรกรรมถูกบริหารโดยโหนดอิสระที่ไม่ได้มีอิทธิพลมากเกินไป เครือข่ายจะถือว่ามีการกระจายอำนาจ
  • การจัดการ: โครงการที่มีการกระจายอำนาจจะใช้ระบบการลงคะแนนเสียงเพื่อตัดสินใจในโครงการแทนที่จะใช้ทีมจัดการ
  • การกระจายอย่างเป็นธรรม: ไม่ใช่ผู้พัฒนาและนักลงทุน VC ที่จะถือโทเค็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในโครงการที่กระจายอำนาจ แต่ต้องเป็นชุมชน

ข้อควรสังเกตก็คือ ไม่ใช่ทุกเครือข่ายคริปโตจะกระจายอำนาจอย่างเต็มที่ และบางโครงการก็กำลังพยายามไปสู่การกระจายอำนาจ Cardano กำลังมุ่งสู่การกระจายอำนาจด้วยยุค Voltaire ของตน

บทบาทของ Altcoin


คำว่า altcoin ย่อมาจาก alternative coin มักจะหมายถึงคริปโตเคอเรนซีอื่น ๆ นอกเหนือจาก Bitcoin ตัวอย่างเช่น Ether คริปโตเคอเรนซีของโครงการคริปโตที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โดยบางคนก็ยังถือว่าเป็น altcoin อยู่

อย่างไรก็ตาม หลายคนในชุมชนคริปโตจะจัด ether และ bitcoin อยู่ด้วยกัน ส่วนคริปโตเคอเรนซีอีกมากกว่า 10,000 สกุล รวมถึงโทเค็น จะถูกพิจารณาว่าเป็น altcoin

คำนี้มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับ Bitcoin ตัวอย่างเช่น “altcoin season” หมายถึงช่วงที่เหรียญและโทเค็นอื่น ๆ ได้รับความสนใจหลังจากที่ราคา Bitcoin ปรับตัวขึ้นอย่างมาก

เหรียญใหม่มาแรงและโทเค็นจำนวนมากที่เห็นราคาพุ่งขึ้นสูงสุดในแง่เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วยคริปโตเคอเรนซีที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียง altcoin ชั้นนำที่เคยพุ่งทะยานอย่างรุนแรงมีดังต่อไปนี้

คริปโตเคอเรนซี ราคาเมื่อเปิดตัว ราคา ณ วันที่ 24 มกราคม
Ether (ETH) $0.74 $2,375.30
Cardano (ADA) $0.02 $0.52
BNB (BNB) $0.15 $309.99
Solana (SOL) $0.75 $104.95
Chainlink (LINK) $0.11 $15.62

เราจะพูดถึงคริปโตเคอเรนซีเหล่านี้และเหรียญอื่น ๆ อย่างละเอียดมากขึ้นในหัวข้อถัดไป

โทเค็นคริปโตเคอเรนซี อธิบายได้อย่างไร


โทเค็นคริปโตเคอเรนซีแบ่งออกเป็น 2 หมวดหมู่หลัก คือ utility token และ security token โทเค็นเหล่านี้สามารถทดแทนกันได้ ซึ่งหมายความว่าแต่ละโทเค็นเหมือนกับโทเค็นประเภทเดียวกัน ส่วนหมวดหมู่ที่ 3 คือ non-fungible token (NFT) ซึ่งแทนความเป็นเจ้าของ แต่ NFT แต่ละตัวจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ

Utility Token

Utility token ให้สิทธิ์การเข้าถึงสินค้าและบริการของโปรโตคอลหรือบริษัท

ตัวอย่างเช่น โปรโตคอล Curve Finance ใช้ utility token CRV เป็นสิ่งจูงใจสำหรับผู้ที่มีสภาพคล่อง ผู้ใช้ที่ให้คริปโตเคอเรนซีกับพูลสภาพคล่อง (swap) สามารถได้รับโทเค็น CRV ด้วยเหตุนี้ utility token จึงมักเรียกว่า liquidity token ด้วย

ในอีกตัวอย่างหนึ่ง โปรโตคอล Radiant Capital ใช้โทเค็น RDNT เพื่อจูงใจผู้ใช้บนแพลตฟอร์มสามารถปล่อยกู้และกู้ยืมได้ ผู้ใช้ที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายโทเค็น RDNT ก็สามารถได้รับส่วนแบ่งรายได้ของโปรโตคอลด้วย

โทเค็น CRV และ RDNT ยังทำหน้าที่เป็นโทเค็นการกำกับดูแลด้วย ซึ่งหมายความว่าผู้ถือสามารถโหวตเพื่อเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลเหล่านี้ได้

Security Token

Security token แทนความเป็นเจ้าของของทรัพย์สิน เช่น หุ้นอสังหาริมทรัพย์ หรือหุ้นในบริษัท Security token แตกต่างจาก utility token ตรงที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแล เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) ในปี 2021 INX กลายเป็น security token รายแรกที่จดทะเบียนกับ SEC 

ที่มา: Wikimedia Commons – Chainlink Smart Contract Securities

Security token ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่หลายคนคาดว่าโทเค็นเหล่านี้จะปฏิวัติตลาดหุ้นแบบดั้งเดิมและตลาดการเงินอื่น ๆ โดยการย้ายธุรกรรมไปอยู่บนบล็อกเชน

ประเภทหลักของคริปโตเคอเรนซี


ในบรรดาคริปโตเคอเรนซีกว่า 10,000 สกุลที่มีอยู่ การหาที่ลงทุนนั้นท้าทายไม่น้อย ต่อไปนี้ เราจะสรุปประเภทคริปโตเคอเรนซีหลัก ๆ และสิ่งที่ทำให้แตกต่างจากตัวอื่น

Bitcoin (BTC)

Bitcoin ซึ่งตอนนี้เป็นชื่อที่ใครๆก็รู้จัก เป็นคริปโตเคอเรนซีสกุลแรกที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย เครือข่าย Bitcoin ใช้ระบบ Proof of Work (PoW) เพื่อปกป้องธุรกรรมโดยการกำหนดให้นักขุดต้องแก้โจทย์ cryptographic hash เพื่อสร้าง block ถัดไป เมื่อนักขุดทำสำเร็จ นักขุดคนนั้นก็จะสร้าง block และได้รับรางวัลของ block นั้น

จำนวน Bitcoin จำกัดอยู่ที่ 21 ล้าน bitcoin ซึ่งส่วนใหญ่ถูกขุดไปแล้ว โดยคาดว่าอุปทานจะเพิ่มขึ้นจนใกล้ถึงจุดสูงสุดจนถึงปี 2140 ความขาดแคลนของ Bitcoin รวมกับพลังงานที่ใช้ในการขุด ทำให้หลายคนเรียก Bitcoin ว่าเป็นทองคำดิจิทัล

Ether (ETH)

Ether ขับเคลื่อนเครือข่าย Ethereum ซึ่งบางครั้งเรียกว่า world computer Ethereum เปิดตัวในปี 2015 เป็นเครือข่ายบล็อคเชนแรกที่รองรับ Smart Contract โปรแกรมคอมพิวเตอร์เหล่านี้ทำงานบน Ethereum Virtual Machine (EVM) ซึ่งเป็นระบบที่ปลอดภัยบนโหนดเครือข่ายที่ใช้คำสั่งแบบมีเงื่อนไข ในลักษณะถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ ให้ทำอย่างนั้น

ในขณะที่ ether มีปริมาณไม่จำกัด แต่อุปทานของ ETH ได้กลายเป็นแบบอุปทานลดลงเมื่อเวลาผ่านไป (Deflationarys) เล็กน้อยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา Ethereum ใช้ระบบ Proof of Stake (PoS) และมอบรางวัลการ Stake สำหรับการใช้ ETH เป็นหลักประกันเพื่อรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ขณะเดียวกัน เครือข่ายก็เผาค่าธรรมเนียมธุรกรรมพื้นฐานโดยส่งค่าธรรมเนียมไปยังที่อยู่ที่เรียกคืนไม่ได้

Binance Coin (BNB)

BNB ถูกเปิดตัวครั้งแรกโดย Binance เพื่อเป็นเครื่องมือลดค่าธรรมเนียมการเทรด แต่ในปัจจุบัน BNB มีบทบาทมากกว่านั้นมาก Binance Coin ตอนนี้ขับเคลื่อน BNB Smart Chain ซึ่งเป็นทางเลือกยอดนิยมของเครือข่าย Ethereum โดยมีความเข้ากันได้กับ EVM ควบคู่ไปกับธุรกรรมที่เร็วขึ้นและค่าธรรมเนียมที่ถูกลง

อย่างไรก็ตาม หลายคนมองว่า BNB Smart Chain มีการกระจายอำนาจน้อยกว่า Ethereum BNB Smart Chain ใช้ validator หรือผู้ตรวจสอบ 56 รายเทียบกับ Ethereum ที่มี validator มากกว่า 1 ล้านราย

Solana (SOL)

Solana Network ถูกสร้างมาเพื่อความเร็ว โดยใช้ภาษาโปรแกรม Rust เพื่อให้สามารถรองรับ Smart Contract ที่มีความเร็วในการทำธุรกรรมสูงถึง 65,000 TPS เช่นเดียวกับ Ethereum Solana ใช้ระบบ Proof of Stake ซึ่งเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนระบบ Proof of Work แม้ว่าจะเพิ่งเปิดตัวในปี 2020 แต่ Solana ตอนนี้อยู่ในอันดับที่ 5 ของมูลค่าที่ถูกล็อกไว้ (TVL) ซึ่งเป็นตัววัดเงินที่ถูกล็อกไว้ใน Smart Contract

อุปทานรวมของ Solana ไม่ได้ถูกจำกัดไว้ แต่ Solana จะใช้อัตราเงินเฟ้อรายปีที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี

Ripple (XRP)

Ripple (XRP) เป็นผลงานของ Ripple Labs และกลายเป็นคริปโตเคอเรนซีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในการโอนเงินข้ามพรมแดนด้วยต้นทุนที่ต่ำ Interledger Protocol ที่เปิดตัวในปี 2016 ทำให้ XRP เป็นหนึ่งในคริปโตเคอเรนซีที่ต้องการมากที่สุด เนื่องจากความสามารถในการทำงานร่วมกับสกุลเงินต่างๆของเครือข่าย RippleNet

Cardano (ADA)

Cardano ก่อตั้งโดยผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum คนหนึ่งคือ Charles Hoskinson และเป็นที่รู้จักในการพัฒนาอย่างรอบคอบที่มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการสร้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าบล็อกเชนจะเปิดตัวในปี 2017 แต่ Cardano เพิ่งเริ่มรองรับ Smart Contract ในปี 2021

ADA คริปโตเคอเรนซีหลักของ Cardano (ตั้งชื่อตามโปรแกรมเมอร์คนแรกคือ Ada Lovelace) ขับเคลื่อนธุรกรรมบนเครือข่าย Cardano อุปทานสูงสุดของ ADA ถูกจำกัดไว้ที่ 45,000 ล้านโทเค็น

Dogecoin (DOGE)

Dogecoin คริปโตเคอเรนซียอดนิยมที่เปิดตัวในปี 2013 ถูกสร้างขึ้นจากการ fork ของ Litecoin ซึ่งเป็น fork ของ Bitcoin อีกที อย่างไรก็ตาม ต่างจาก Litecoin และ Bitcoin ตัว Dogecoin ไม่มีอุปทานสูงสุด แต่ Dogecoin มีการออกเหรียญ Dogecoin คงที่ที่ 5,000 ล้านเหรียญต่อปี

โครงการสนุกๆนี้เริ่มต้นจากมุกตลก แต่พิสูจน์ให้เห็นถึงพลังของเหรียญด้วยมาสคอตสุนัขชิบะอินุ ที่ซุกซนและกองทัพผู้ถือ DOGE ที่ภักดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเปิดตัว Dogecoin 1 เหรียญมีมูลค่าซื้อขายที่ $0.0002 ปัจจุบัน DOGE ซื้อขายที่ $0.08 และเคยพุ่งไปถึง $0.74 มาแล้ว

TRON (TRX)

ด้วย TVL ประมาณ 25% ของ Ethereum เครือข่าย TRON มี TVL ใหญ่เป็นอันดับสองในอุตสาหรกรรมคริปโตที่ 7.863 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับ Ethereum ที่ 32.302 พันล้านดอลลาร์ โครงการนี้เริ่มต้นในปี 2018 ในฐานะโทเค็น Ethereum ก่อนที่จะพัฒนาบล็อกเชนของตัวเอง ตอนนี้เครือข่าย TRON มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมเนื้อหาดิจิทัล โดยสร้างเศรษฐกิจความบันเทิงแบบกระจายศูนย์สำหรับชุมชนอินเทอร์เน็ต

คริปโตเคอเรนซีหลักของ Tron คือ Tronix (TRX) ที่เป็นตัวขับเคลื่อนเครือข่าย

Tether (USDT)

Stablecoin Tether ที่ออกแบบมาเพื่อยึดตามมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐ ยังคงเป็น stablecoin ที่ใช้กันมากที่สุดในโลก Tether Operations Limited เป็นผู้ออกโทเค็น โดยรับประกันกับผู้ใช้ว่าทุกๆ USDT 1 เหรียญจะมีเงินสำรองของ Tether หนุนหลังอยู่ 100%

แทนที่จะเป็นคริปโตเคอเรนซีที่ลงทุนได้ Tether และ stablecoin ที่คล้ายกันเป็นวิธีที่สะดวกในการจ่ายสำหรับการซื้อที่กำหนดราคาเป็น USD หรือเป็นวิธีถือมูลค่าที่คงที่ไว้ระหว่างการลงทุน

US Dollar Coin (USDC)

เหมือนกับ Tether, US Dollar Coin (USDC) รักษาความเท่าเทียมกับดอลลาร์สหรัฐ Circle ผู้อยู่เบื้องหลัง USDC ค้ำประกัน stablecoin ด้วยเงินสำรอง 1:1 ในรูป USD หรือเทียบเท่าเงินสด เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและข้อตกลงซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐข้ามคืน Circle มุ่งเน้นเรื่องความโปร่งใส โดยใช้กองทุนที่บริหารโดย BlackRock เป็นเงินสำรอง

Chainlink (LINK)

เมื่อ Smart Contract บนบล็อกเชนต้องการข้อมูลจากโลกภายนอก โดยจะใช้ oracle ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ Chainlink เป็นผู้นำอย่างชัดเจนในสาขานี้ โดยใช้เครือข่ายโหนดแบบกระจายศูนย์เพื่อนำข้อมูลโลกแห่งความเป็นจริงมาใช้ใน Smart Contract ตัวอย่างเช่น Aave ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมแบบกระจายศูนย์ชั้นนำ ต้องพึ่งพา oracle เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง ในตัวอย่างนี้ Aave จะนำเข้าข้อมูลราคาโลกแห่งความเป็นจริงเพื่อกำหนดอัตราส่วนเงินกู้ต่อมูลค่า

DAI (DAI)

เหมือนกับ USDC และ USDT stablecoin DAI ยึดตามมูลค่าของ USD อย่างไรก็ตาม โปรโตคอลใช้กลยุทธ์ที่แตกต่าง แทนที่จะใช้หน่วยงานรวมศูนย์เพื่อถือและบริหารเงินสำรอง โปรโตคอล Maker จะออก DAI ให้แก่ผู้กู้ที่ฝาก ETH, wBTC, USDC และคริปโตเคอเรนซีอื่นๆที่รองรับ

กระบวนการของ Maker นั้นกระจายอำนาจอย่างสมบูรณ์ และกำกับดูแลโดยชุมชนผู้ถือโทเค็น MKR ผ่าน MakerDAO ซึ่งเป็นองค์กรแบบกระจายศูนย์ (DAO)

Uniswap (UNI)

กระดานเทรดคริปโตแบบดั้งเดิมทำหน้าที่เป็นทางเข้าและออกของเงินเฟียต ช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อหรือขายคริปโตด้วย USD หรือสกุลเงินแบบดั้งเดิมอื่นๆ Uniswap คือกระดานเทรดแบบกระจายศูนย์ชั้นนำ (DEX) ที่มอบวิธีการ “สวอป” คริปโตเคอเรนซีโดยไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่างกระดานเทรด

Uniswap DEX ใช้โทเค็น UNI เป็นโทเค็นกำกับดูแล ซึ่งอนุญาตให้ผู้ถือโหวตในการเปลี่ยนแปลงที่เสนอให้กับแพลตฟอร์ม นับตั้งแต่เปิดตัวที่ $0.4699 มูลค่าของโทเค็น UNI ก็พุ่งทะยานขึ้นไปถึง $6.03

บทสรุป


อุตสาหกรรมคริปโตยังคงพัฒนาต่อเนื่อง และในขณะที่หลายโครงการล้มเหลว อนาคตก็ยังคงมีแนวโน้มที่ดีสำหรับเทคโนโลยีเกิดใหม่นี้ อย่างที่เราเห็นกันมาแล้ว บล็อกเชนที่มีอยู่เป็นเหมือนตัวอย่างสำหรับบล็อกเชนรุ่นใหม่ ๆ โดยที่แต่ละโครงการยืมไอเดียและวิธีการที่ผ่านการทดสอบแล้วจากกันและกัน

โครงการยุคแรก ๆ อย่าง Bitcoin และ Ethereum ได้ประโยชน์จากเครือข่ายของฐานผู้ใช้จำนวนมากและการเป็นที่รู้จัก โครงการเหล่านี้จะนำพาเราไปสู่อนาคตหรือไม่? เป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้ โครงการใหม่ ๆ อาจมีข้อได้เปรียบบางอย่าง และโครงการที่มีอยู่อาจนำเอาการปรับปรุงที่พัฒนาโดยผู้อื่นมาใช้ แม้จะมีความแตกแยกเป็นครั้งคราว แต่ชุมชนคริปโตเคอเรนซีสร้างพลังเสริมแรงซึ่งกันและกัน ซึ่งหาได้ยากในอุตสาหกรรมอื่น ๆ

ความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการลงทุนคริปโตเคอเรนซี ควรศึกษาค้นคว้าโครงการที่คุณกำลังพิจารณาอย่างละเอียด และสร้างฐานความรู้ที่แข็งแกร่งก่อนลงทุน ราคาคริปโตมีความผันผวนสูง และมากกว่าครึ่งหนึ่งของโครงการทั้งหมดได้ตายจากหรือหายไป อย่าลงทุนด้วยเงินที่คุณรับความเสี่ยงที่จะสูญเสียไปไม่ได้

เอกสารอ้างอิง