KYC คืออะไรและสำคัญอย่างไรในตลาดคริปโต?

สมชาย หวาง
| 19 min read

KYC ในคริปโต

KYC ในวงการคริปโตมีความหมายและการใช้งานคล้ายกับกระบวนการ KYC ของการเงินแบบดั้งเดิม โดยเป็นคำที่ย่อมาจาก Know Your Customer พร้อมครอบคลุมวิธีการมากมายในการยืนยันตัวตน นอกเหนือจากการตรวจสอบโดยทั่วไป

หากคุณเคยเปิดบัญชีธนาคาร คุณน่าจะยืนยัน KYC สำเร็จเมื่อคุณแสดงใบขับขี่หรือบัตรประจำตัวประชาชน นายหน้าค้าหุ้นแบบดั้งเดิมมีข้อกำหนดในการตรวจสอบตัวตนที่คล้ายกันเช่นกัน และตอนนี้ถึงคราวที่ตลาดคริปโตจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด KYC ที่ถูกใช้ทั่วโลก

KYC คืออะไร?


ความหมายของ KYC ในบริบทของตลาดคริปโตหมายถึงการตรวจสอบตัวตน การติดตาม และการรายงานสัญญาผูกมัดสำหรับผู้ให้บริการทางการเงิน รวมถึงกระดานแลกเปลี่ยนคริปโต แต่จริงๆ แล้ว KYC ในแวดวงคริปโตคืออะไรกันแน่? KYC ย่อมาจาก Know Your Customer โดยมีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านการฟอกเงิน (AML) กระบวนการนี้มีทั้งการยืนยันตัวตนและการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ให้บริการทางการเงินต้องรับผิดชอบภายใต้กระบวนการยืนยัน KYC นั่นเอง

ด้วยการตรวจสอบยืนยันตัวตนและการรายงาน KYC จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจจับกิจกรรมการฉ้อโกงหรือธุรกรรมที่ผิดกฎหมายและระบุผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนด KYC ยังทำหน้าที่ในการยับยั้งและป้องกันการฉ้อโกงหรือกิจกรรมที่ผิดกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น

หากเจาะลึกลงไปอีก KYC ยังกลายเป็นเครื่องมือสำหรับรัฐบาลในการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (CFT) ในอเมริกา เช่น FinCEN ที่มุ่งเน้นไปที่นโยบาย AML/CFT เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับข้อกำหนด KYC

แนวทางมากมายสำหรับการนำ KYC ไปใช้ทั่วโลกต่างใช้งานข้อกำหนดที่ออกโดย Financial Action Task Force (FATF) ซึ่งเป็นองค์กรข้ามชาติที่ก่อตั้งในปี 1989 โดยกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศซึ่งต้องการต่อต้านการฟอกเงินและสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

Centralized Exchange ส่วนใหญ่ตอนนี้ต้องการให้ผู้ใช้ยืนยันตัวตนก่อนที่จะสามารถทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มได้ กระดานเทรดอื่นอาจต้องการยืนยัน KYC ในการทำธุรกรรมที่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ส่วน Centralized Exchange อีกจำนวนหนึ่งมักจะดำเนินการภายใต้เขตอำนาจศาลที่มีข้อบังคับที่เข้มงวด และไม่จำเป็นต้องยืนยัน KYC

อธิบายกระบวนการ KYC บนกระดานเทรดคริปโต


เหรียญคริปโตนั้นถูกออกแบบในระบบนิเวศแบบกระจายอำนาจ และจากมุมมองของผู้ใช้ กระบวนการ KYC โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ จากนั้นจึงจัดเตรียมหลักฐานแสดงตัวตน โดยคุณอาจต้องระบุหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเทศที่คุณอยู่ ตัวอย่างเช่น กระดานเทรดที่ต้องการยืน KYC สำหรับผู้อยู่อาศัยในอเมริกา โดยทั่วไปจะต้องใช้หมายเลขประกันสังคม และระบบหลังบ้านของกระดานเทรดนั้นๆ จะตรวจสอบข้อมูลที่คุณให้มา โดยบางครั้งจะใช้บริการตรวจสอบจากหน่วยงานอื่นเพื่อใช้อ้างอิงข้อมูลด้วยเช่นกัน

โดยทั่วไป กระบวนการยืนยัน KYC ให้เสร็จสมบูรณ์จะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 10 นาที อย่างไรก็ตาม ก็อาจใช้เวลานานกว่านั้นได้ โดยคุณอาจสามารถใช้งานได้ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง หรืออาจต้องรอหนึ่งหรือสองวันจึงจะสามารถทำธุรกรรมได้ ตัวอย่างเช่น Coinbase ที่แนะนำลูกค้าใหม่ว่ากระบวนการยืนยัน KYC อาจใช้เวลาประมาณ 10 นาทีถึง 48 ชั่วโมงจึงจะเสร็จสมบูรณ์ –

1) การรวบรวมรายละเอียดส่วนบุคคล

ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับกระบวนการ KYC มักจะรวมถึงชื่อและที่อยู่และวันเกิดของคุณ บางแพลตฟอร์มยังจำเป็นต้องใช้ที่อยู่อีเมลและหมายเลขโทรศัพท์ด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นวิธีรักษาความปลอดภัยให้กับบัญชีของคุณได้เช่นกัน

KYC

2) การยืนยันตัวตน

การยืนยันตัวตนมักจะต้องใช้ภาพใบขับขี่ บัตรประจำตัวประชาชนที่ออกโดยรัฐบาล หรือพาสปอร์ต คุณอาจต้องจัดเตรียมใบเรียกเก็บเงินค่าสาธารณูปโภคหรือหลักฐานแสดงที่อยู่อื่นๆ ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มและรูปแบบบัตรประจำตัวที่คุณให้ไว้ ตัวอย่างเช่น ใบขับขี่ระบุที่อยู่เอาไว้ แต่การระบุตัวตนในรูปแบบอื่นๆ เช่น พาสปอร์ตอาจไม่ระบุที่อยู่เอาไว้

KYC

บางแพลตฟอร์มคริปโตที่ต้องการยืนยัน KYC ยังใช้การตรวจสอบ “ภาพปัจจุบัน” ซึ่งเป็นวิธีเปรียบเทียบภาพจริงของคุณกับบัตรประจำตัวประชาชนที่คุณให้ไว้ หากจำเป็นต้องทำขั้นตอนนี้ คุณจะใช้กล้องโทรศัพท์หรือเว็บแคม และขยับศีรษะให้อยู่ภายในบริเวณที่ทำเครื่องหมายไว้โดยแอพยืนยันตัวตน

3) การติดตามผลระหว่างการดำเนินงาน

สถาบันการเงินจะมีชุดความเสี่ยงตามข้อมูลที่รวบรวมไว้ แหล่งที่มาของเงินอาจมีบทบาทในการกำหนดชุดความเสี่ยงด้วยเช่นกัน

หลังจากที่คุณยืนยันตัวตนเสร็จสิ้นแล้ว กระดานแลกเปลี่ยนคริปโตจะตรวจสอบบัญชีตามข้อกำหนด พร้อมอัพเดตชุดความเสี่ยง และดำเนินการเพิ่มเติมตามข้อมูลที่ให้ไว้ ที่จริงแล้วกระบวน KYC ในตลาดคริปโตนั้นไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ตัวตนของคุณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรู้จักลูกค้าในด้านการเงินด้วยเช่นกัน

การติดตามผลระหว่างการดำเนินงานจะรวมถึง:

  • การระบุธุรกรรมที่น่าสงสัย
  • รายงานกิจกรรมที่น่าสงสัย
  • การอัพเดตข้อมูลลูกค้า

ข้อดีของการปฏิบัติตามกระบวนการ KYC ในตลาดคริปโต

แม้ว่าบางคอมมิวนิตี้คริปโตจะต้องการเทรดโดยไม่ต้องยืนยันตัวตนมากกว่า แต่การปฏิบัติตาม KYC สามารถช่วยทำให้ตลาดคริปโตปลอดภัยยิ่งขึ้นอย่างมาก การยืนยันตัวตนและการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ KYC จะช่วยลดการฉ้อโกงและกิจกรรมที่น่าสงสัย แต่ยังทำให้ตลาดมั่นคงขึ้นได้อีกด้วย

การปฏิบัติตามกฎหมาย

ข้อกำหนดต่างๆ อาจทำให้กิจกรรมบนกระดานแลกเปลี่ยนหยุดชะงักทางอ้อม (หรือโดยตรง) หากทางกระดานไม่ทำตามข้อกำหนดและอยู่ภายในเขตอำนาจศาลของหน่วยงานรัฐ สำหรับผู้ใช้ สิ่งนี้อาจหมายถึงการระงับการฝากเงินและอาจย้ายเงินทุนไปเมื่อเทรดเดอร์ออกจากกระดานแลกเปลี่ยน

ตัวอย่างเช่น Binance.US ที่ระงับการฝากเงินด้วยสกุลดอลลาร์ ซึ่งต่อมาถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ฟ้องร้อง เป็นผลให้กระดานเทรด Binance อเมริกามีความลึกของตลาดลดลง 80% กล่าวโดยสรุป คือปริมาณการสั่งซื้อของกระดานเทรดนั้นลดลงไปมาก ซึ่งอาจส่งผลให้เทรดเดอร์ต้องการซื้อหรือขายเหรียญได้น้อยลงไป แม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เชื่อมโยงโดยตรงกับข้อกำหนด KYC แต่ก็ตอกย้ำให้เห็นว่าสถาบันทางการเงินสามารถทำอะไรได้บ้างภายในเขตอำนาจศาลที่ดำเนินการอยู่

ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น

KYC ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้อีกด้วย โดยจะช่วยเพิ่มความไว้วางใจเมื่อกระดานเทรดดำเนินการภายใต้ข้อกำหนด KYC ซึ่งถือเป็นประโยชน์ในการดึงดูดผู้ใช้ใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการเทรดบนแพลตฟอร์มได้นั่นเอง

เพิ่มความเสถียรของตลาด

การปั่นตลาดอาจเป็นปัญหาในการเทรดเหรียญคริปโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระดานแลกเปลี่ยนที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักซึ่งไม่ได้ทำงานภายใต้ข้อกำหนด KYC/AML เพื่อทำให้กิจกรรมบนแพลตฟอร์มเป็นไปอย่างถูกต้อง การซื้อขายโดยไม่ระบุตัวตนสามารถทำให้เกิดการปั่นตลาดที่ทำให้นักเทรดที่ซื่อสัตย์สูญเสียเงินไปได้

  • การปั่นตลาดแบบ Spoofing: หมายถึงการสร้างอุปสงค์ปลอมโดยการวางคำสั่งซื้อปลอมเอาไว้ในรายการคำสั่งซื้อขาย และอีกด้านหนึ่ง Spoofing ยังสามารถใช้เพื่อสร้างแรงกดดันในการขายปลอมเพื่อกดราคาของเหรียญคริปโตในกระดานแลกเปลี่ยนได้อีกด้วย
  • การปั่นตลาดแบบ Wash Trading: คำว่า Wash Trading หมายถึงการขายเหรียญให้ตนเองหรือการซื้อขายกันเองภายในกลุ่ม เป็นการสร้างกิจกรรมการซื้อขายปลอมเพื่อควบคุมราคาของเหรียญคริปโต

ประเภทของกิจกรรมการซื้อขายเหล่านี้สามารถระบุได้ง่ายกว่าในกระดานแลกเปลี่ยนที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนด KYC ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการปั่นตลาดได้นั่นเอง

ความท้าทายและข้อเสียของกระบวนการ KYC ในตลาดคริปโต


ใช่ว่าทุกคนจะชื่นชอบการยืนยัน KYC ในโลกคริปโต ส่วนหนึ่งของเสน่ห์ของเหรียญคริปโตในช่วงแรกก็คืออิสรภาพในการทำธุรกรรม ซึ่งนักวิจารณ์หลายคนยังชี้ให้เห็นถึงข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว แต่กระบวน KYC ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมทั้งในด้านเวลาและเงิน

ข้อกังวลด้านความเป็นส่วนตัว

KYC ในตลาดคริปโตต้องมีการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล แต่ใครบ้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้? และสิ่งที่อาจเกิดขึ้นหากข้อมูลดังกล่าวตกไปอยู่ในมือของผู้ที่อาจกระทำผิดทางอาญา ซึ่งขัดแย้งกับแนวทางที่ต้องการปกป้องสังคมของ KYC 

การละเมิดข้อมูลกลายเป็นเรื่องธรรมดามากจนเราแทบจะไม่ตื่นตกใจเมื่อถูกพาดหัวข่าว การละเมิดอีเมลเป็นอีกเรื่องที่ควรพูดถึง เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ Robinhood กว่าเจ็ดล้านคน

แต่ข้อมูล KYC ที่รวบรวมไว้อาจเพียงพอที่จะขโมยข้อมูลตัวตนได้ และก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแต่อย่างใด ในเดือนมกราคม 2024 กระดานแลกเปลี่ยนของอิหร่านมีรายงานว่าเอกสาร KYC ถูกละเมิด ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้ 230,000 รายตกอยู่ในความเสี่ยง ทางกระดานแลกเปลี่ยนออกมาปฏิเสธเรื่องการละเมิดเอกสาร แต่จะจริงหรือไม่ ตัวรายงานก็ได้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นภายใต้กระบวนการ KYC นั่นเอง

ข้อกังวลด้านความเป็นส่วนตัวของ KYC อาจส่งผลกระทบต่อหน่วยงานอื่นด้วยเช่นกัน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2023 ทาง Financial Conduct Authority (FCA) อังกฤษออก “กฎหมายป้องกันการฟอกเงินสำหรับคริปโต” ซึ่งจำเป็นต้องมีการรายงานเกี่ยวกับการโอนสินทรัพย์คริปโต

เป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน

กระบวนการ KYC ใช้เวลานานมากกว่าที่คิด ในสถานการณ์ที่ดีที่สุด กระดานเทรดคริปโตอาจให้คุณใช้งานได้ภายในหนึ่งชั่วโมง แต่กลับต้องเวลามหาศาลเพื่อรายงานและการติดตามข้อกำหนดภายใต้กระบวนการ “Know Your Customer” และ “การต่อต้านการฟอกเงิน”

มีราคาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

การทำให้ส่วนของกระบวนการ KYC ในตลาดคริปโตเป็นไปแบบอัตโนมัตินั้นไม่ได้ประสบความสำเร็จเสมอไปในด้านกระบวนการเริ่มต้นใช้งาน ความล่าช้านี้อาจนำไปสู่การสูญเสียลูกค้าเนื่องจากเทรดเดอร์อาจไม่พอใจและเลือกใช้แพลตฟอร์มอื่น ทั้งยังเป็นการทำให้ลูกค้าใหม่เข้าถึงได้ยากอีกด้วย นอกจากนี้ ข้อกำหนดในการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องของ KYC ยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน

ใครเป็นคนจ่าย? คำตอบก็คือลูกค้านั่นเอง กระดานเทรดคริปโตอยู่รอดได้ด้วยค่าธรรมเนียมและค่าสเปรด โดยค่าสเปรดถือเป็นการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมบนอินเทอร์เฟซการซื้อขายที่เรียบง่าย ค่าธรรมเนียมและค่าสเปรดที่สูงขึ้นนั้นแสดงให้เห็นว่า KYC อาจเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้กับกระดานเทรดนั่นเอง

ทางเลือกสำหรับกระดานเทรดคริปโตภายใต้ KYC


KYC มีอยู่สำหรับอนาคตของตลาด แต่ยังมีอีกสองสามวิธีในการเทรดเหรียญคริปโตโดยไม่ต้องยืนยันตัวตนและไม่ต้องกังวลถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นของกระบวนการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ตัวเลือกบางส่วนเหล่านี้มีก็มีข้อพึงระวังและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเช่นกัน

Decentralized Exchange (DEX)

Decentralized Exchange อำนวยความสะดวกในการเทรดโดยใช้กลุ่มสภาพคล่องที่ขับเคลื่อนโดยสัญญาอัจฉริยะ ผู้ถือเหรียญคริปโตจะสามารถฝากเหรียญลงในกองสินทรัพย์ดิจิทัล โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการจัดสรรแบบจับคู่กับเหรียญคริปโตสกุลอื่น และนักเทรดจะได้เข้าถึงกองสินทรัพย์ดังกล่าวเพื่อเทรด Decentralized Exchange ส่วนใหญ่ เช่น Uniswap หรือ Curve Finance ไม่จำเป็นต้องยืนยัน KYC หรือถามชื่อของคุณแต่อย่างใด

โปรดทราบว่าคุณต้องมีเหรียญคริปโตที่เข้ากันได้กับ DEX โดยตัว DEX จะทำการสลับเหรียญคริปโต A เป็น B โดยตรงผ่าน Crypto Wallet ของคุณ

กระดานเทรดที่ไม่ต้องยืนยัน KYC

กระดานแลกเปลี่ยนคริปโตจำนวนมากยังไม่จำเป็นต้องยืนยันตัวตน KYC ในบางกรณี คุณอาจต้องเจอกับข้อจำกัดของบัญชี เช่น ขีดจำกัดการถอนรายวัน กระดานแลกเปลี่ยนที่ไม่ต้องยืนยัน KYC ยังนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

  • ความพร้อมใช้งานแตกต่างกันไปตามสถานที่ โดยที่อยู่ IP จากบางประเทศถูกบล็อกจากกระดานแลกเปลี่ยน
  • กระดานเทรดที่ไม่ต้องยืนยัน KYC อาจไม่มีการร่วมมือกับธนาคาร ทำให้การฝากเงินเข้าบัญชีซื้อขายของคุณยากขึ้นหรือมีค่าใช้เพิ่มจ่ายมากขึ้น
  • กระดานเทรดที่ไม่ต้องยืนยัน KYC อาจมีกิจกรรมการซื้อขายน้อยลง เช่นเดียวกับสภาพคล่อง  ซึ่งอาจนำไปสู่ค่าสเปรดที่กว้างขึ้น หรือแม้แต่ความคลาดเคลื่อนของราคาเมื่อเทียบกับตลาดในวงกว้าง

อย่างไรก็ตาม สำหรับเทรดเดอร์จำนวนมาก สิ่งที่กระดานแลกเปลี่ยนให้นั้นอาจนับว่าคุ้มค่า โดยกระดานเทรดที่ไม่ต้องยืนยัน KYC บางแพลตฟอร์ม ได้แก่:

  • MEXC
  • BingX
  • Changelly
  • Switchere

ตู้ ATM คริปโต

ตู้ ATM คริปโตไม่ต้องการการยืนยันตัวตน KYC สำหรับธุรกรรมส่วนใหญ่ แต่เครื่องตู้ ATM คริปโตส่วนใหญ่จะต้องการเพียงหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่รองรับ SMS เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธุรกรรมขนาดใหญ่อาจต้องมีการระบุตัวตนอยู่

อย่างไรก็ตามความเป็นส่วนตัวก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ค่าธรรมเนียมและค่าสเปรดสำหรับตู้ ATM คริปโตอาจสูงถึง 25% ทำให้เป็นตัวเลือกที่มีราคาแพงกว่านั่นเอง

กระดานเทรดแบบเพียร์ทูเพียร์

แพลตฟอร์มเช่น Bisq เสนอตลาดแบบเพียร์ทูเพียร์เพื่อแลกเปลี่ยนเงินสกุลดอลลาร์หรือสกุลเงินอื่นๆ เป็นบิทคอยน์และเหรียญคริปโตสกุลอื่น ๆ ที่รองรับ Centralized Exchange จำนวนมากยังมีแพลตฟอร์มแบบเพียร์ทูเพียร์ รวมถึง MEXC และ Binance อย่างไรก็ตาม Binance ต้องการยืนยัน KYC เพื่อใช้งานแพลตฟอร์มการซื้อขายแบบเพียร์ทูเพียร์

อนาคตของกระบวนการ KYC ในตลาดคริปโต

เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงโลกของเหรียญคริปโตที่กระบวนการ KYC ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรมของเชน เช่น ระบบ Fiat On-Ramp และ Off-Ramp อย่างไรก็ตาม นักพัฒนาก็กำลังมองหาวิธีใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้กระบวนการราบรื่น ลดต้นทุนในการปฏิบัติตามข้อกำหนด และเวลาที่ต้องใช้ในการยืนยัน KYC

AI สามารถช่วยตรวจสอบและค้นหารูปแบบเพื่อทำเครื่องหมายสำหรับตรวจสอบได้ ตัวอย่างเช่น C3 AI ที่ใช้เทคโนโลยี Machine Learning เพื่อตรวจจับกิจกรรมที่น่าสงสัย โดยข้อมูลของบริษัทแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ปลอมจากการแจ้งเตือนการฟอกเงิน AML ลดลงไป 85% ในขณะที่มีการตรวจจับกิจกรรมการฟอกเงินเพิ่มขึ้นสามเท่า

การยืนยันตัวตนโดยใช้ Blockchain ก็อาจเกิดขึ้นในอนาคตของเราเช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ KYC-Chain ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ KYC ในฮ่องกง โดยทางบริษัทใช้แหล่งข้อมูลกว่า 10,000 แห่งเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้รายใหม่ แต่สิ่งที่อยู่ในแผนการพัฒนานั้นอาจน่าสนใจกว่า

แผนในอนาคตสำหรับ KYC-Chain จะรวมถึงข้อมูลประจำตัวบน Blockchain ซึ่งอาจช่วยให้การตรวจสอบเร็วขึ้นมาก เครื่องมือยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (eKYC) เช่น การรับรองความถูกต้องทางชีวภาพและการรวบรวมข้อมูลการรู้จำอักขระด้วยแสง (OCR) จากเอกสาร ล้วนสามารถเสริมข้อมูลประจำตัวบน Blockchain และเพิ่มประสิทธิภาพได้

Blockchain และ AI เป็นสองเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มที่จะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายของกระบวนการ KYC ได้มากที่สุด เทคโนโลยีที่ยังคงพัฒนาอยู่เหล่านี้สามารถลดต้นทุนของกระบวนการ KYC ได้อย่างมาก และยังช่วยดึงดูดผู้ใช้ใหม่ได้เร็วยิ่งขึ้น โซลูชันที่ใช้ประโยชน์จาก Blockchain ซึ่งอาจรวมถึงกลุ่มเครือข่ายสำหรับผู้ให้บริการทางการเงิน ยังสามารถเป็นวิธีการใหม่ๆ ในการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ได้อีกด้วย

บทสรุป


บทบาทของ KYC ในตลาดคริปโตนั้นเป็นมากกว่าการยืนยันตัวตน ซึ่งเป็นวิธีที่พบบ่อยที่สุดในตอนที่กระบวนการ KYC เริ่มใช้งานครั้งแรก โดยระบบหลังบ้าน KYC ถือเป็นกระบวนการที่ต้องมีการตรวจสอบและการรายงานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ากระบวนการดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและดูเหมือนว่าจะขัดแย้งกับหลักการของเหรียญคริปโตเพื่อให้ช่วยรักษาอธิปไตยทางการเงิน

แต่เป้าหมายของกระบวนการ KYC ก็มุ่งเน้นไปที่การป้องกันตลาดคริปโตเพื่อไม่ให้เป็นสถานที่สำหรับกิจกรรมที่ผิดกฎหมายหรือการให้ทุนสนับสนุนของผู้ก่อการร้ายกระบวนการดังกล่าวยังคงมีค่าใช้จ่ายและใช้เวลานาน แต่เทคโนโลยีในปัจจุบันอาจเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาได้ กระบวนการ KYC บน Blockchain รวมเข้ากับ AI จะสามารถทำให้การยืนยันเร็วขึ้นและมีราคาถูกลง ในขณะเดียวกันก็ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

คำถามที่พบบ่อย

KYC ในตลาดคริปโตคืออะไร?

KYC ในตลาดคริปโตคือกระบวนการที่รวมถึงการตรวจสอบตัวตน การประเมินความเสี่ยง และการติดตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่มาจากมาตรการป้องกันการฟอกเงิน (AML) นอกเหนือจากมาตรการที่ออกแบบมาปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการ

กระดานเทรดคริปโตทั้งหมดต้องยืนยัน KYC หรือไม่?

ไม่ แม้ว่ากระดานแลกเปลี่ยนคริปโตส่วนใหญ่ต้องยืนยัน KYC เพื่อทำตามข้อกำหนดในพื้นที่ แต่กระดานแลกเปลี่ยนหลายแห่งรวมถึง MEXC ไม่ต้องการการยืนยันตัวตน KYC ในการทำธุรกรรม อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการอื่นๆ สำหรับแพลตฟอร์มเหล่านี้อาจมีการกำหนดใช้ KYC ในการซื้อเหรียญคริปโตที่ถูกฝากเข้าบัญชีของคุณ

คุณต้องยืนยัน KYC เพื่อซื้อเหรียญคริปโตหรือไม่?

แพลตฟอร์มเทรดคริปโตส่วนใหญ่ต้องยืนยัน KYC ในการซื้อขาย และมีตัวเลือกน้อยมากที่จะสามารถซื้อเหรียญคริปโตด้วยสกุลเงินทั่วไป เช่น USD หรือ GBP แพลตฟอร์มแบบเพียร์ทูเพียร์ เช่น Bisq และตู้ ATM คริปโตเป็นอีกวิธีในการซื้อเหรียญคริปโตโดยไม่ต้องยืนยัน KYC

เหตุผลที่ทำให้ KYC สำคัญสำหรับกระดานแลกเปลี่ยนคริปโตคืออะไร?

กระบวน KYC จะรวมถึงการตรวจสอบตัวตนและการประเมินความเสี่ยง ตลอดจนการติดตามและการรายงานอย่างต่อเนื่อง ทุกอย่างนี้ทำงานร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยงของกิจกรรมที่น่าสงสัยในกระดานแลกเปลี่ยนคริปโต และจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่สามารถซื้อขายได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งจะดึงดูดกิจกรรมการซื้อขายได้มากขึ้น พร้อมด้วยสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นและมีค่าสเปรดที่ลดลง

คุณสามารถหลีกเลี่ยงกระบวนการ KYC ในตลาดคริปโตได้อย่างไร?

คุณสามารถหลีกเลี่ยงกระบวนการ KYC ในตลาดคริปโตได้โดยทำธุรกรรมแบบเพียร์ทูเพียร์ (P2P) ซึ่งร่วมถึงการชำระด้วยเหรียญคริปโตหรือซื้อเหรียญคริปโตผ่านกระดานเทรดแบบเพียร์ทูเพียร์ อีกหนึ่งตัวเลือกคือการซื้อเหรียญคริปโตผ่านตู้ ATM ซึ่งโดยทั่วไปจะอนุญาตให้ซื้อได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยใช้เพียงหมายเลขโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

อ้างอิง