Bitcoin คืออะไร? ทุกสิ่งที่คุณควรรู้ในปี 2024

ภาคภูมิ เกิดปราบ
| 36 min read

Bitcoin คืออะไร

เครือข่ายบิทคอยน์ (Bitcoin network) เปิดตัวในปี 2009 มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์แบบเพียร์ทูเพียร์ (peer-to-peer) แม้ในตอนนั้นจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่บิทคอยน์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีที่เรามองเงินตราไปอย่างสิ้นเชิง โดยนำเสนอทางเลือกแบบกระจายอำนาจ (decentralized) ที่แตกต่างจากสินทรัพย์แบบดั้งเดิม

ในบทความนี้ เราจะตอบคำถาม “บิทคอยน์ คืออะไร?” รวมถึงอธิบายกลไกการทำงานของบิทคอยน์ และวิธีการซื้อขายใช้งาน BTC ในเดือนเมษายน 2024

ประเด็นสำคัญ


อุปทานของบิทคอยน์ (Bitcoin’s supply) จำกัดอยู่ที่ 21 ล้านบิทคอยน์ ต่างจากเงินเฟียต (fiat currencies) อย่างเช่นดอลลาร์สหรัฐ (USD) ที่อุปทานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มูลค่าลดลง

บล็อกเชนของบิทคอยน์ (Bitcoin blockchain) ทำหน้าที่เป็นตัวบันทึกธุรกรรม (record of transactions) ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต่างจากระบบการเงินแบบเดิมที่ต้องพึ่งพาธนาคารและสถาบันการเงินในการติดตามธุรกรรมอย่างแม่นยำ

มูลค่าของบิทคอยน์มาจากความปลอดภัยของระบบ (security) ส่วนหนึ่ง โดยเครือข่ายบิทคอยน์ใช้ระบบพรูฟออฟเวิร์ก (proof of work) เป็นทั้งแรงจูงใจให้เครือข่ายบล็อกเชนดำเนินต่อไป และป้องกันการโจมตีเนื่องจากต้นทุนที่สูงของ proof of work

เข้าใจพื้นฐานของบิทคอยน์


คริปโทเคอร์เรนซีอย่างบิทคอยน์มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1980 และ 1990 รวมถึงความพยายามในยุคแรกๆ เช่น eCash และ BitGold บิทคอยน์ได้นำแนวคิดเดิมมาปรับปรุงให้ดีขึ้น และเพิ่มนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าไป จนกลายเป็นสกุลเงินดิจิทัลรุ่นบุกเบิกที่ประสบความสำเร็จ

เงินคริปโท (cryptocurrency) คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาลหรือสถาบันการเงิน แม้ว่าบางเหรียญอย่าง Ripple จะมีบริษัทเป็นผู้ดูแล

ต่างจากทองคำหรือเงินที่มีประวัติการใช้เป็นเงินตรามายาวนาน บิทคอยน์เป็นสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ล้วนๆ ถูกสร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์ คุณสมบัตินี้ช่วยให้ผู้สร้างที่ไม่เปิดเผยตัวตนสามารถออกแบบฟีเจอร์ให้คล้ายทองคำ นั่นคือ มีจำนวนจำกัดและแบ่งย่อยได้ แต่ต่างจากทองคำตรงที่บิทคอยน์สามารถแบ่งย่อยได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อุปทานของบิทคอยน์มีเพดานสูงสุดอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ โดยหน่วยที่เล็กที่สุดเรียกว่าซาโตชิ (satoshi) มีค่าเท่ากับ 1 ใน 100 ล้านของบิทคอยน์ 1 เหรียญ

เหรียญบิทคอยน์ (Bitcoin) คืออะไร?

เหรียญบิทคอยน์คือ 1 ใน 21 ล้านเหรียญของอุปทานบิทคอยน์ที่มีอยู่จำกัด ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลของเครือข่ายบิทคอยน์ คำว่า “Bitcoin” (ขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่) มักใช้อ้างถึงเครือข่าย ในขณะที่ “bitcoin” (ตัวเล็ก) ใช้เมื่อพูดถึงเหรียญสกุลเงิน หรือชื่อย่อว่าเหรียญ BTC

สกุลเงินดิจิทัล Bitcoin เป็นสกุลเงินแบบกระจายศูนย์ (decentralized cryptocurrency) หมายความว่า การติดตามยอดคงเหลือและธุรกรรมต่างๆ เกิดขึ้นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์กระจายอยู่ทั่วโลก รหัสโปรแกรมของบิทคอยน์เองก็กระจายศูนย์เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องได้รับการอนุมัติจากเครือข่ายทั่วโลก

ในระบบการเงินแบบดั้งเดิม เราต้องไว้วางใจธนาคารในการตรวจสอบยอดและป้องกันไม่ให้มีการใช้จ่ายซ้ำซ้อน หากคุณจ่ายเงินเกินกว่ายอดคงเหลือ ผลที่ตามมามักจะเป็นการยกเลิกธุรกรรมหรือการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมโดยธนาคารเป็นผู้ตัดสิน ในทางตรงข้าม เครือข่ายบิทคอยน์ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้จ่ายซ้ำซ้อนตั้งแต่แรก

ในฐานะเครือข่ายชำระเงินแบบเพียร์ทูเพียร์ บิทคอยน์ยังมีคุณสมบัติต้านการเซ็นเซอร์ (censorship resistance) หมายถึงคุณสามารถใช้จ่ายบิทคอยน์ได้อย่างอิสระ ไม่มีใครสามารถปิดกั้นที่อยู่บิทคอยน์ของคุณเพราะความเชื่อทางการเมือง เทียบกับกรณีที่ธนาคารหรือผู้ให้บริการชำระเงินปฏิเสธธุรกรรมหรือปิดบัญชีได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า

กล่าวโดยสรุป บิทคอยน์มุ่งมอบอำนาจอธิปไตยทางการเงิน (financial sovereignty) แต่มันเริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นผู้สร้าง และทำไม?

กำเนิดและพัฒนาการของบิทคอยน์


ในเดือนตุลาคม 2008 บุคคลหรือกลุ่มคนที่ใช้นามแฝง Satoshi Nakamoto ได้เผยแพร่ Bitcoin whitepaper ซึ่งเป็นเอกสารที่อธิบายจุดประสงค์และกลไกการทำงานของโครงการ กระทั่งถึงเดือนมกราคม 2009 Satoshi ก็ขุดบล็อกบิทคอยน์บล็อกแรก ที่เรียกว่า Genesis Blockกำเนิดและพัฒนาการของบิทคอยน์

บล็อกเชนของบิทคอยน์ (Bitcoin blockchain) ทำหน้าที่เป็นบัญชีแยกประเภท (ledger) บันทึกธุรกรรมและยอดคงเหลือ

บนบล็อกเชนของบิทคอยน์ ธุรกรรมต่างๆ จะถูกจัดกลุ่มเป็นบล็อก เพื่อรอการตรวจสอบความถูกต้อง คิดภาพง่ายๆ ว่าบล็อกคือกล่องใส่รายละเอียดของผู้ส่งและผู้รับ บล็อกเหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างเป็นลำดับ โดยใช้ค่าแฮช (cryptographic hash) แบบง่ายๆ ก็คือค่าแฮช (เลขฐานสิบหกยาวๆ) จากบล็อกก่อนหน้า จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลในบล็อกถัดไป เกิดเป็นห่วงโซ่ (chain) ขึ้นมา ซึ่งจะอธิบายให้ละเอียดขึ้นในภายหลัง

บล็อกมีแค่ข้อมูล รวมถึงธุรกรรมต่างๆ Genesis Block มีทั้งธุรกรรมและข้อความ Satoshi ส่งบิทคอยน์ 50 เหรียญไปยังที่อยู่ที่ไม่สามารถเรียกคืนได้

นอกจากนี้ บล็อกแรกยังมีข้อความด้วยว่า:

:“The Times 03/Jan/2009 Chancellor on brink of second bailout for banks”

ข้อความนี้มาจากพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีผู้อ่านมากในอังกฤษ ข้อความนี้ถือเป็นการประทับเวลา (timestamp) ให้กับ Genesis Block แต่อาจจะสื่อนัยด้วยว่าทำไม Satoshi ถึงสร้างบิทคอยน์ขึ้นมา วิกฤตการเงินโลก (Global Financial Crisis) ในขณะนั้นทำให้ระบบการเงินเกือบล่มสลาย ผู้คนต่างหวาดกลัว และหลายคนโกรธแค้นที่การกระทำของรัฐบาลและธนาคารเกือบจะทำลายชีวิตแบบยุคใหม่

หลายคนเชื่อว่าบิทคอยน์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกไม่ใช่แค่ต่อสถาบันการเงิน อย่างที่ whitepaper กล่าวไว้ แต่ยังเป็นทางเลือกต่อสกุลเงินแบบดั้งเดิมด้วย

Genesis Block คือจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง โดยแต่ละบล็อกต่อๆ มาจะเชื่อมโยงกับมัน เป็นห่วงโซ่แน่นหนา ณ วันนี้ มีบล็อกบิทคอยน์ถูกขุดขึ้นมากว่า 820,000 บล็อกแล้ว

ผู้สร้างผู้ลึกลับ – Satoshi Nakamoto คือใคร?

เนิ่นนานหลังจากการสร้างบิทคอยน์และ Genesis Block เราก็ยังไม่รู้ว่าตัวตนที่แท้จริงของ Satoshi Nakamoto คือใคร Satoshi อาจจะเป็นคนเดียวหรือกลุ่มคนก็ได้

Satoshi เอ่ยถึง Bitcoin whitepaper ครั้งแรกในกลุ่มอีเมลเกี่ยวกับวิทยาการเข้ารหัสลับ (metzdowd.com) โดยเผยแพร่ไฟล์ PDF บน Bitcoin.org ที่ URL เดิมจนถึงทุกวันนี้ จึงมีการคาดเดาว่า Satoshi น่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเข้ารหัสลับหรือการเขียนโปรแกรม

โปรไฟล์ผู้ใช้งานเก่าแก่ในเว็บบอร์ดแบบเพียร์ทูเพียร์แห่งหนึ่งระบุว่า Satoshi เป็นชายอายุ 37 ปี อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ที่อยู่อีเมลที่ Satoshi ใช้ ([email protected]) บ่งชี้ IP address ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจาก GMX ใช้โดเมนท้ายอีเมลต่างกันตามแต่ละประเทศ

ความสับสนยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อ Satoshi บางครั้งใช้ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ (British English) แต่บางครั้งก็สลับไปใช้แบบอเมริกัน หลายคนที่ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวตนของ Satoshi มองว่าความไม่สอดคล้องนี้ชี้ไปที่กลุ่มคนมากกว่าจะเป็นปัจเจกบุคคล บางคนเสนอว่าการใช้ภาษาผสมอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความปลอดภัยเชิงปฏิบัติการ (operational security) สำหรับโครงการนี้

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มี “Satoshi” หลายคนถูกเสนอชื่อในการถกเถียงเชิงสันนิษฐาน เช่น

  • Hal Finney
  • Nick Szabo
  • Dorian Nakamoto
  • Craig Wright
  • Adam Back
  • Elon Musk
  • Yonatan Sompolinsky

จนถึงวันนี้ คำถามนี้ก็ยังไม่ได้รับคำตอบในความคิดของหลายๆ คนในชุมชนบิทคอยน์ โดยเฉพาะ Craig Wright ที่อ้างตัวเป็น Satoshi และบอกว่าเหรียญคู่แข่งที่ชื่อ Bitcoin Satoshi Vision (BSV) ต่างหากที่เป็นบล็อกเชนบิทคอยน์ดั้งเดิม

ที่อยู่กระเป๋าบิทคอยน์ต่างๆ ที่เชื่อว่าเป็นของ Satoshi ขณะนี้มีเหรียญรวมกันราว 1.1 ล้านบิทคอยน์ หรือเกือบ 50,000 ล้านดอลลาร์ (หากคำนวณด้วยราคาบิทคอยน์ปัจจุบันที่ 44,000 ดอลลาร์)

กลไกการทำงานของบิทคอยน์: เทคโนโลยีเบื้องหลังสกุลเงิน


เราได้พูดคร่าวๆ ถึงบล็อกเชนของบิทคอยน์ไปแล้ว เพื่อให้เข้าใจว่าบิทคอยน์ทำงานอย่างไร เราลองมาย้อนรอยดูธุรกรรมหนึ่งรายการและวิธีการบันทึกธุรกรรมกัน

สมมติว่าคุณอยากส่งบิทคอยน์ 0.2 เหรียญ (มูลค่าราว 9,000 ดอลลาร์ ณ ราคาบิทคอยน์ปัจจุบัน) ให้ใครสักคนเพื่อซื้อรถมือสอง กระบวนการทำธุรกรรมบนเครือข่ายบิทคอยน์จะเป็นอย่างไร มาดูกัน

  • เริ่มต้นทำธุรกรรม คุณเปิดกระเป๋าบิทคอยน์ (wallet app) ขึ้นมาแล้วเลือกที่อยู่ปลายทางของผู้ขาย
  • ประกาศธุรกรรม กระเป๋าของคุณสื่อสารกับเครือข่าย ประกาศธุรกรรมใหม่ให้โหนด (node) ทั้งหมดทราบ จากนั้นโหนดจะตรวจสอบบัญชีแยกประเภทเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีบิทคอยน์พอสำหรับธุรกรรมนี้รวมถึงค่าธรรมเนียม (fee)
  • นักขุดค้นพบบล็อก นักขุดกำลังทำงานเพื่อค้นหาบล็อกใหม่อยู่เสมอ เพื่อบรรจุธุรกรรมลงไป ในช่วงเวลานี้ ธุรกรรมจะถูกเก็บไว้ในพื้นที่รอที่เรียกว่า mempool ซึ่งเป็นที่พักชั่วคราวของธุรกรรมที่รอให้บล็อกมาเก็บ เดี๋ยวจะอธิบายกระบวนการขุดให้ฟังอีกที
  • นักขุดที่ชนะใส่ธุรกรรมลงในบล็อก เมื่อขุดพบบล็อกใหม่แล้ว ธุรกรรมก็จะถูกนำไปใส่ในบล็อก และบล็อกถัดๆ ไปจะกลายเป็น “confirmations” โดยทั่วไปสำหรับธุรกรรมมูลค่าสูง จะถือว่าไม่สามารถกลับรายการได้เมื่อมี confirmations 6 บล็อกขึ้นไป ที่อยู่กระเป๋าของคุณจะถูกหักบิทคอยน์ 0.2 เหรียญ (บวกค่าธรรมเนียม) ส่วนกระเป๋าผู้ขายจะได้รับบิทคอยน์ 0.2 เหรียญ

ตอนจบธุรกรรม ผู้ขายได้รับบิทคอยน์ 0.2 ในรูปแบบ unspent transaction output (UTXO)

ส่วนนักขุดได้รับรางวัลบล็อก (block reward) ซึ่งประกอบด้วยบิทคอยน์จำนวนคงที่ บวกกับค่าธรรมเนียมของธุรกรรมทั้งหมดในบล็อกนั้น

การขุดบิทคอยน์ต้องใช้ต้นทุนสูง จึงไม่คุ้มค่าที่จะพยายามย้อนกลับธุรกรรม เนื่องจากบล็อกต่างๆ เชื่อมโยงกัน และมีบล็อกใหม่เพิ่มเข้ามาทุกๆ 10 นาทีโดยเฉลี่ย นักขุดนอกคอกที่คิดจะแก้ไขธุรกรรมจะต้องขุดบล็อกทุกบล็อกหลังจากธุรกรรมนั้นใหม่ และต้องทำได้เร็วกว่าที่เครือข่ายจะขุดบล็อกใหม่ด้วย

บทบาทของบล็อกเชนในบิทคอยน์

ในส่วนก่อนหน้า เราได้ดูธุรกรรมพื้นฐานบนเครือข่ายบิทคอยน์กันไป ธุรกรรมทั้งหมดเก็บอยู่ในบล็อก และบล็อกเหล่านี้ก็ถูกเชื่อมต่อกันเป็นลำดับ กลายเป็นโซ่ (chain) ขึ้นมา

ยกเว้น Genesis Block แต่ละบล็อกในบล็อกเชนของบิทคอยน์มีบล็อกแม่ (parent block) บิทคอยน์ใช้การเข้ารหัสแบบ SHA-256 เพื่อเชื่อมบล็อกเข้าด้วยกัน SHA-256 จะแปลงข้อมูลเป็นค่าแฮช

ตัวอย่าง

Input Output Hash
To be, or not to be, that is the question. d899dd565cdb385855a5099025cdc90b7eee44fa504d0c1d17ce781c49529a9a

แต่ถ้า Input เปลี่ยนแปลงไปแม้เพียงนิดเดียว ค่าแฮชก็จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

Input Output Hash
To be, or not to be, that is the question. 89415f39f627327c5a21e5da0e73ae1f6b1813f1993986622595401c38ec8430

แต่ละบล็อกใหม่มีค่าแฮชของบล็อกแม่อยู่ด้วย ถ้าธุรกรรมในบล็อกที่ 80,000 ถูกเปลี่ยนแปลง มันจะเปลี่ยนค่าแฮชของบล็อกที่ 80,000 และค่าแฮชของบล็อกหลังจากนั้นทุกบล็อก เครือข่ายจะปฏิเสธเวอร์ชันห่วงโซ่ที่ถูกแก้ไขนี้ในฐานะไม่ถูกต้องเพราะบล็อกหลังจากนั้นไม่ได้เชื่อมต่อกัน

ค่าแฮชทำให้ห่วงโซ่ยังเชื่อมต่อกันอยู่ และเครือข่ายบิทคอยน์จะเลือกห่วงโซ่ที่ยาวที่สุดเสมอ

เทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้มีบัญชีแยกประเภทคงที่โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลที่สามที่ไว้ใจได้ ในระบบการเงินแบบเดิม ธนาคารเป็นผู้ตัดสินใจว่าคุณมีเงินพอทำธุรกรรมหรือไม่ หรือแม้แต่ให้คุณทำธุรกรรมได้หรือไม่ก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว บล็อกเชนบิทคอยน์เป็นแบบไร้การอนุญาต (permissionless) มันติดตามยอดเงินในกระเป๋าและบันทึกธุรกรรมที่สำเร็จลงในบล็อกเชนอย่างถาวร

แม้ว่านักขุดอาจเลือกไม่ใส่ธุรกรรมลงในบล็อก อย่างที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้กับที่อยู่บิทคอยน์ที่ถูกคว่ำบาตรโดยสหรัฐฯ แต่ธุรกรรมเหล่านี้จะถูกนักขุดคนอื่นเก็บไปใส่ในบล็อกต่อๆ ไป

บล็อกเชนบิทคอยน์ที่แทบเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ ประกอบกับความหายากของบิทคอยน์และความเชื่อที่ว่าผู้คนจะยอมรับบิทคอยน์เป็นการชำระเงิน คือสิ่งที่ทำให้บิทคอยน์มีมูลค่า

การเข้ารหัสและมาตรการรักษาความปลอดภัย

บิทคอยน์ใช้การเข้ารหัสลับในหลายวิธี เราได้พูดถึงวิธีที่แฮชเข้ารหัสเชื่อมโยงบล็อกหนึ่งเข้ากับบล็อกถัดไป การแฮชเป็นการเข้ารหัสทางเดียว (one-way encryption) หมายความว่าข้อมูลต้นฉบับสำหรับการแฮชไม่สามารถสืบย้อนกลับจากค่าแฮชได้

การเข้ารหัสและการแฮชถูกใช้ในกระเป๋าบิทคอยน์ด้วย อันดับแรก เรามาดูกันว่ากระเป๋าบิทคอยน์ทำงานอย่างไร

กระเป๋าบิทคอยน์สร้างและเก็บกุญแจ (key) สองแบบ

ประเภทของกุญแจกระเป๋า

  • กุญแจส่วนตัว (private keys) ควบคุมสินทรัพย์ที่อยู่บิทคอยน์บนบล็อคเชน ผู้ใดก็ตามที่มีกุญแจส่วนตัวจะสามารถควบคุมสินทรัพย์ได้ ไม่ว่าจะใช้จ่ายบิทคอยน์หรือส่งไปยังกระเป๋าอื่น กุญแจส่วนตัวจะถูกเข้ารหัสไว้ ตัวอย่างเช่น กระเป๋า Bitcoin Core ใช้การเข้ารหัสมาตรฐานขั้นสูง (AES-256-CBC) เพื่อปกป้องกุญแจส่วนตัว กระเป๋าส่วนใหญ่จะสร้างกุญแจส่วนตัวด้วย Seed phrase ซึ่งประกอบด้วยคำ 12 ถึง 24 คำ
  • กุญแจสาธารณะ (public keys) ถูกสร้างจากกุญแจส่วนตัวด้วยการเข้ารหัสทางเดียว กุญแจสาธารณะจะสร้างที่อยู่กระเป๋าบิทคอยน์ขึ้นมา นี่คือที่อยู่ที่ปรากฏในธุรกรรมเมื่อใช้บล็อกเอ็กซ์พลอเรอร์ (block explorer) อย่างเช่น blockchain.com กุญแจสาธารณะยังใช้สำหรับลายเซ็นดิจิทัล (digital signature) ซึ่งเป็นวิธีที่แสดงว่าคุณมีกุญแจส่วนตัวสำหรับที่อยู่นั้น

แม้ว่ากุญแจสาธารณะจะมาจากกุญแจส่วนตัว แต่กุญแจส่วนตัวไม่สามารถสืบย้อนมาจากกุญแจสาธารณะหรือที่อยู่บิทคอยน์ได้

ด้านล่างคือตัวอย่างของที่อยู่บิทคอยน์แรกสุด ซึ่งเป็นของ Satoshi ที่อยู่กระเป๋านี้มีธุรกรรมบิทคอยน์ครั้งแรก (50 บิทคอยน์) รวมถึงธุรกรรมอื่นๆ หลายรายการตามมาแต่กุญแจส่วนตัวของที่อยู่นี้เป็นที่ทราบกันแค่ Satoshi เท่านั้น

ดังที่เห็น ธุรกรรมบิทคอยน์ไม่ได้ถูกเข้ารหัสแต่อย่างใด แต่เทคโนโลยีที่ใช้ในการทำธุรกรรมให้สำเร็จต้องอาศัยการเข้ารหัส ใครก็ตามสามารถดูธุรกรรมบิทคอยน์ได้บน block explorer แต่สิ่งที่มักไม่รู้กันคือตัวตนเจ้าของที่อยู่บิทคอยน์ในแต่ละที่

นามแฝง VS ไร้ตัวตน

คนมักมองว่าคริปโทนั้นไร้ตัวตน (anonymous) หมายถึงไม่มีใครสามารถระบุตัวตนคุณได้ ซึ่งไม่ถูกต้องทีเดียว บล็อคเชนคริปโทใช้ที่อยู่ต่างๆ มาแทนตัวตนของคุณในการทำธุรกรรม ทำให้คริปโทเป็นแบบนามแฝง (pseudonymous) มากกว่าจะไร้ตัวตน เจ้าของที่อยู่คริปโทที่แท้จริงมักถูกเปิดเผยจากธุรกรรมของพวกเขาเอง

การเข้ารหัสปรากฏอีกครั้งในการขุดบิทคอยน์ อธิบายอย่างง่ายๆ คือ การขุดบิทคอยน์เป็นกระบวนการเดาค่าแฮชที่ถูกต้อง (ค่าเลขฐานสิบหกที่ถูกเข้ารหัสด้วย SHA-256) ของส่วนหัวบล็อก (block header) ให้ได้ก่อนนักขุดคนอื่น นักขุดคนแรกที่เดาค่าแฮชพร้อมกับตัวเลขที่สุ่มขึ้นมาที่เรียกว่า nonce (number only used once) ได้ มีสิทธิ์เพิ่มบล็อกถัดไปพร้อมรับรางวัล

อธิบายการขุดบิทคอยน์


เครือข่ายบิทคอยน์มีแรงจูงใจทางการเงินให้ตรวจสอบธุรกรรม ซึ่งเรียกว่ารางวัลการขุด (mining rewards) แต่กระบวนการขุดเพื่อรางวัลที่จ่ายเป็นบิทคอยน์นี้เองก็เป็นสิ่งที่ทำให้เครือข่ายปลอดภัย

เราได้พูดถึงโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายไปบ้างแล้ว

ใครบางคนเริ่มธุรกรรมบิทคอยน์ กระเป๋าประกาศธุรกรรมไปยังเครือข่ายบิทคอยน์

ในขณะที่ผู้คนทั่วโลกกำลังทำธุรกรรม นักขุดบิทคอยน์กำลังมองหาบล็อกเพื่อเก็บธุรกรรมเหล่านั้น พวกเขากำลังพยายามค้นหาบล็อกใหม่ การขุดบิทคอยน์ต้องใช้พลังการประมวลผล โดยทั่วไปแล้ว มันเป็นกระบวนการเดาและเดาเป็นจำนวนมาก เครือข่ายบิทคอยน์พยายามเดาค่าแฮชและ nonce ที่ถูกต้องเพื่อค้นหาบล็อกถัดไป

ตามรูปด้านล่าง อัตราแฮช (จำนวนการเดา) ปัจจุบันอยู่ที่มากกว่า 542 ล้านล้านแฮชต่อวินาที

การขุดบิทคอยน์

เมื่ออัตราแฮชเพิ่มขึ้นจากกำลังประมวลผลที่มากขึ้น ความยากของการแก้ปัญหาค้นหา nonce ก็เพิ่มขึ้นด้วย เครือข่ายบิทคอยน์จะปรับความยากโดยอัตโนมัติทุกๆ 2,016 บล็อก (ประมาณสองสัปดาห์) โดยมีเป้าหมายที่จะให้ขุดพบ 1 บล็อกในทุกๆ 10 นาทีโดยเฉลี่ย ตามอัตราแฮช

เมื่อนักขุดค้นพบบล็อก นักขุดคนนั้นจะได้รับรางวัลบล็อกซึ่งประกอบด้วยบิทคอยน์ที่สร้างใหม่และค่าธรรมเนียมของธุรกรรมในบล็อก

กระบวนการขุดบิทคอยน์

การขุดบิทคอยน์คือกระบวนการค้นหาบล็อกใหม่เพื่อเก็บธุรกรรม กระบวนการนี้เรียกว่าพรูฟออฟเวิร์ก (proof of work หรือ PoW)

ในการขุดแบบฉันทามติด้วยพรูฟออฟเวิร์ก นักขุดต้องแสดงว่าพวกเขาได้ทำงาน โดยการใช้พลังงาน (และเงิน) เพื่อค้นหาบล็อก แนวคิดนี้มาจาก Hashcash ซึ่งเป็นแนวคิดการป้องกันสแปมที่ริเริ่มโดย Adam Back ในปี 1997 ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่บางคนเชื่อว่าอาจเป็น Satoshi

กระบวนการ PoW ทำให้การขุดบล็อกใหม่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งเป็นการทำให้การเปลี่ยนแปลงธุรกรรมในบล็อกที่ขุดไปแล้วเป็นเรื่องยากอย่างมาก เมื่อมีการเพิ่มบล็อกเข้าไปในบล็อกเชนมากขึ้น โอกาสที่จะทำได้ก็เข้าใกล้ศูนย์ แม้แต่กลุ่มนักขุดที่ควบคุมอัตราแฮชของเครือข่ายจำนวนมากก็ตาม

เราได้กล่าวถึงกระบวนการพื้นฐานไปแล้วก่อนหน้านี้

  • นักขุดทำงานเพื่อแก้ปัญหาหา nonce
  • nonce เป็นตัวเลขสุ่มที่ใช้ครั้งเดียว ซึ่งถูกเพิ่มเข้าไปในค่าแฮชของส่วนหัวบล็อก

โปรโตคอลบิทคอยน์สร้างค่าแฮชของส่วนหัวบล็อก ซึ่งประกอบด้วย

  • หมายเลขเวอร์ชันของบิทคอยน์
  • ค่าแฮชของบล็อกก่อนหน้า
  • รากแฮชเมอร์เคิล (Merkle root) ซึ่งเป็นการแฮชรวมของแฮชทุกธุรกรรมในบล็อก
  • nonce

ตัวแปรเพียงตัวเดียวที่นักขุดสามารถเปลี่ยนได้ตอนแฮช (เดา) คือ nonce จากนั้นนักขุดจะสร้างแฮชของส่วนหัวบล็อกรวมกับ nonce

บล็อกล่าสุด (ความสูงบล็อก 822,140) มี nonce เป็น 3,175,838,978 นักขุดที่ชนะ (ViaBTC) ได้รับรางวัล 7.98439474 BTC รวมถึงบิทคอยน์ 6.25 เหรียญที่เพิ่งผลิตใหม่

BTC คืออะไร?

สัญลักษณ์การซื้อขาย BTC หมายถึงบิทคอยน์

เมื่อนักขุดค้นพบบล็อก มันจะประกาศ nonce ซึ่งโหนดอื่นๆ สามารถตรวจสอบได้ด้วยการแฮชเพียงครั้งเดียว จากนั้นบล็อกจะถูกเพิ่มเข้าไปในห่วงโซ่ และกระบวนการก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง นี่คือฉันทามติด้วย proof of work (การตกลงร่วมกันระหว่างโหนด)

การขุดเดี่ยวและการขุดแบบกลุ่ม

ในยุคแรกเริ่มของการขุดบิทคอยน์ นักขุดเดี่ยวใช้ซีพียูเพื่อผลิตแฮชและเดา nonce เมื่อเครือข่ายเติบโตขึ้น พลังประมวลผลที่ต้องการในการแข่งขันก็เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันนักขุดบิทคอยน์ใช้วงจรรวมเฉพาะกิจ (ASICs) ที่ออกแบบมาเพื่อแฮชด้วยอัตราที่สูงกว่ามาก

การขุดเดี่ยวไม่น่าจะได้รับรางวัลในโลกการขุดที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน ดังนั้นกลุ่มการขุด (mining pools) จึงได้รับความนิยมมากขึ้น ตามชื่อ นักขุดหลายรายนำพลังแฮชของตนมารวมเป็นกลุ่ม ซึ่งโดยรวมแล้วกลุ่มจะมีโอกาสได้รับรางวัลมากกว่า เมื่อได้รับรางวัล รางวัลจากการขุดจะถูกแบ่งตามสัดส่วนของพลังแฮชที่แต่ละคนมีส่วนร่วม

การได้มาซึ่งบิทคอยน์: ซื้อและเทรด


เนื่องจากการขุดมีการแข่งขันสูง วิธีที่ง่ายที่สุดในการได้มาซึ่งบิทคอยน์คือซื้อผ่านแพลตฟอร์มเทรดอย่าง Coinbase หรือ MEXC ทั้งสองแพลตฟอร์มเปิดให้นักลงทุนใหม่เข้าร่วมได้ง่าย และยังมีวิธีย้ายบิทคอยน์ของคุณออกจากแพลตฟอร์มไปยังกระเป๋าที่คุณดูแลเองตัวอย่างเช่น หากต้องการเริ่มต้นใช้งาน MEXC เพียงทำตามขั้นตอนง่ายๆ เหล่านี้MEXC

  1. ไปที่ MEXC เพื่อเปิดบัญชีใหม่ เพียงคลิกปุ่ม “Sign Up” บนเว็บไซต์หลัก
  2. ลงทะเบียนบัญชีของคุณ ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรืออีเมล
  3. ฝากเงินเข้าบัญชี MEXC การฝากเงินเข้าบัญชีทำได้ง่าย ผู้ใช้สามารถซื้อ BTC ผ่านบัตรธนาคาร การเทรดแบบ P2P/OTC หรือผ่านการโอนบล็อกเชน
  4. ซื้อบิทคอยน์ กดปุ่ม “Buy Crypto” เพื่อดูวิธีการซื้อที่มีในประเทศของคุณ สำหรับนักเทรดมืออาชีพ บางคนจะซื้อเหรียญ stablecoin อย่างเช่น Tether ก่อน แล้วค่อยใช้มันซื้อ BTC ผ่านตลาดสปอต เพื่อให้ทำได้ง่ายและไหลลื่นยิ่งขึ้น

เลือกกระเป๋าบิทคอยน์


หลังจากซื้อบิทคอยน์แล้ว คุณอาจต้องการย้ายเหรียญบิทคอยน์ออกจากแพลตฟอร์มเทรดไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย

ก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงบทบาทของกระเป๋าคริปโทในการปกป้องบิทคอยน์ของคุณแล้ว กระเป๋าจะเก็บกุญแจส่วนตัวที่ควบคุมบิทคอยน์บนเครือข่าย

คุณสามารถเลือกได้ระหว่าง Hot wallet หรือ Cold wallet

  • Hot wallet สร้างและเก็บกุญแจส่วนตัวไว้บนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต Hot wallet เป็นแอปที่ทำงานบนโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ของคุณ ตัวอย่างเช่น Electrum เป็นกระเป๋าที่ใช้กับบิทคอยน์เท่านั้นที่ได้รับความนิยม หรือคุณอาจเลือกกระเป๋าแบบ multi-chain ที่รองรับบิทคอยน์ด้วย เช่น Coinbase Wallet โดย Hot walletส่วนใหญ่ใช้ฟรี
  • Cold wallet สร้างและเก็บกุญแจส่วนตัวไว้ออฟไลน์ Cold wallet มักเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่สื่อสารกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์มือถือของคุณได้ แต่จะไม่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต Trezor เป็นตัวเลือกยอดนิยมเพราะทั้งเฟิร์มแวร์ของอุปกรณ์และชุดซอฟต์แวร์ล้วนเป็นโอเพนซอร์ส นักเขียนโปรแกรมจากทั่วโลกได้ตรวจสอบโค้ดเพื่อยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นภายใน

Hot wallet ให้ความสะดวกมากกว่า เพราะคุณสามารถส่งบิทคอยน์ได้ในไม่กี่คลิก อย่างไรก็ตาม Hardware wallets ให้ความปลอดภัยมากกว่า เพราะไม่มีอะไรออกจากกระเป๋าของคุณจนกว่าคุณจะยืนยันธุรกรรมบนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์

พิจารณาความเสี่ยงของคุณเทียบกับค่าใช้จ่าย Hardware wallets ต้องลงทุน Hardware wallets บิทคอยน์ยอดนิยมหลายรุ่นมีราคาตั้งแต่ 55 ถึง 200 ดอลลาร์ หรือมากกว่านั้น ตัวเลือกชั้นนำอย่าง Trezor สามารถจับคู่กับ Hot wallet อย่าง Electrum ได้ สิ่งนี้ช่วยให้คุณเก็บจำนวนเงินเล็กๆ ไว้ใน Hot wallet เพื่อความสะดวก ในขณะที่ปกป้องยอดคงเหลือจำนวนมากไว้

ใช้งานบิทคอยน์: ตั้งแต่การชำระเงินไปจนถึงการลงทุน


whitepaper ของบิทคอยน์อธิบายบิทคอยน์ว่าเป็นระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์แบบเพียร์ทูเพียร์ แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา บิทคอยน์ได้กลายเป็นมากกว่าแค่ระบบการชำระเงิน มันกลายเป็นเครื่องมือป้องกันเงินเฟ้อ เป็นที่เก็บมูลค่า และเป็นการลงทุนสำหรับหลายๆ คน

  • บิทคอยน์สำหรับการซื้อ: ผู้ค้ารายใหญ่อย่าง Newegg, Overstock และแม้แต่ Microsoft ต่างยอมรับบิทคอยน์สำหรับการซื้อบางอย่างแล้ว
  • บิทคอยน์สำหรับการชำระเงิน: แอปชำระเงินอย่าง Cash App และ Strike ทำให้การส่งและรับการชำระเงินด้วยบิทคอยน์เป็นเรื่องง่าย แอปทรัพยากรบุคคลและฟรีแลนซ์บางตัวเช่น Deel ก็มีตัวเลือกการจ่ายค่าจ้างด้วยบิทคอยน์เช่นกัน
  • บิทคอยน์ในฐานะการลงทุน: คุณสามารถซื้อบิทคอยน์ผ่านการแลกเปลี่ยนได้ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ แต่กองทุน Bitcoin spot ETF กำลังจะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา และเกิดขึ้นแล้วในยุโรปและแคนาดา

บิทคอยน์ในธุรกรรมประจำวัน

แม้จะมีร้านค้ายอมรับบิทคอยน์เป็นวิธีการชำระเงินมากขึ้น แต่เรายังไปไม่ถึงจุดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเงินตราแบบเดิมยังคงครองตลาดอยู่

ส่วนหนึ่งของความท้าทายคือความผันผวน ดอลลาร์หนึ่งเหรียญก็ยังเป็นหนึ่งดอลลาร์เสมอ แต่มูลค่าของบิทคอยน์เทียบเป็นดอลลาร์นั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หากการใช้บิทคอยน์เติบโตขึ้น เราคาดหวังได้ว่าจะมีผู้ค้าปลีกเต็มใจยอมรับบิทคอยน์มากขึ้น ในสถานการณ์นี้ มูลค่าของบิทคอยน์ควรจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุปทานที่จำกัด ทำให้ผู้ค้ายิ่งยินดีที่จะรับมันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายบิทคอยน์ของคุณมาพร้อมกับข้อพิจารณาบางประการ เนื่องจากบิทคอยน์ไม่ใช่สกุลเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก การใช้จ่ายบิทคอยน์ของคุณอาจกลายเป็นเหตุการณ์ที่ต้องเสียภาษี โดยเนื้อแท้แล้ว คุณต้องคิดคำนวณมูลค่าของบิทคอยน์ในสกุลเงินท้องถิ่นของคุณ ณ เวลาที่ทำธุรกรรม หากมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับต้นทุนของคุณ คุณอาจต้องจ่ายภาษี

แอปซอฟต์แวร์ภาษีคริปโทสามารถช่วยให้การบัญชีง่ายขึ้น แต่ควรพิจารณาผลกระทบด้านภาษีก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการด้วยบิทคอยน์หรือคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ

คุณยังควรพิจารณาค่าธรรมเนียมการขุด ก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงวิธีที่นักขุดได้รับค่าธรรมเนียมธุรกรรมจากบล็อกที่พวกเขาขุดไปแล้ว ค่าธรรมเนียมเหล่านั้นอาจแพงได้ในบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเครือข่ายมีธุรกรรมจำนวนมาก ค่าธรรมเนียมการขุดคิดตามขนาดธุรกรรมเป็นไบต์มากกว่าจะคิดตามจำนวนเงิน ทำให้บิทคอยน์เหมาะกับการทำธุรกรรมขนาดใหญ่มากกว่า เพราะค่าธรรมเนียมจะคิดเป็นสัดส่วนเล็กลงเมื่อเทียบกับมูลค่าของธุรกรรม

นวัตกรรมอย่าง Lightning Network สัญญาว่าจะทำให้การทำธุรกรรมเร็วขึ้นและลดค่าธรรมเนียมลงมากโดยการรวมธุรกรรมเข้าด้วยกัน

การลงทุนและเก็งกำไรด้วยบิทคอยน์

ในปี 2011 บิทคอยน์และดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่าเท่ากัน ตั้งแต่นั้นมา ดอลลาร์หนึ่งเหรียญก็ยังคงเป็นหนึ่งดอลลาร์ (ไม่นับเงินเฟ้อ) แต่หนึ่งบิทคอยน์มีมูลค่าประมาณ 44,000 ดอลลาร์

เมื่อเทียบกับการลงทุนอื่นๆ บิทคอยน์ให้ผลตอบแทนที่น่าตะลึงแก่นักลงทุนยุคแรกๆ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2013 ถึงพฤศจิกายน 2023 บิทคอยน์ให้ผลตอบแทน 3,249.016% ในขณะที่ดัชนี S&P ให้ผลตอบแทน 153.09% อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจำนวนมากคิดว่าเรายังอยู่ในช่วงแรกๆ เท่านั้น

บิทคอยน์สามารถเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุนที่กระจายความเสี่ยงได้ หรือใช้เพื่อการเทรดก็ได้

  • พอร์ตการลงทุน: คุณสามารถลงทุนในบิทคอยน์ผ่านแพลตฟอร์มซื้อขายอย่าง MEXC หรือ Coinbase เนื่องจากราคาของบิทคอยน์ผันผวนได้มาก จึงควรปรับการลงทุนให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ การลงทุนอาจขึ้นๆ ลงๆ ได้มาก
  • การเทรดเก็งกำไร: ความผันผวนของบิทคอยน์ทำให้มันน่าสนใจสำหรับนักเทรด การเปลี่ยนแปลงด้านราคาเปิดโอกาสให้เทรดกับความผันผวนของตลาด แทนที่จะซื้อแล้วถือยาว เว็บแลกเปลี่ยนอย่าง Kraken, MEXC และ OKX มีตลาดฟิวเจอร์สแบบ perpetual ให้ซื้อขายได้ในบางประเทศ ซึ่งเปิดทางให้เทรดด้วยเลเวอเรจและทำการซื้อขายแบบไม่ต้องรับมอบบิทคอยน์จริง

ความเสี่ยงและความท้าทายของบิทคอยน์


นักลงทุนบิทคอยน์ที่ซื้อไว้ในระดับสูงสุดที่เกือบ 69,000 ดอลลาร์ ยังคงขาดทุนอยู่มากหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ความผันผวนของบิทคอยน์นำมาซึ่งความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ นอกจากนี้ การประเมินมูลค่าบิทคอยน์เมื่อเทียบกับหุ้นหรือการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถวัดกำไรหรือกระแสเงินสดได้นั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนด้านราคา

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดที่นักลงทุนบิทคอยน์อาจเผชิญอยู่คือเรื่องกฎระเบียบ

ในปี 1933 ประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt ห้ามการถือครองทองคำแท่งโดยเอกชนในสหรัฐอเมริกาด้วยการลงนามเพียงครั้งเดียว ไม่ยากนักที่จะจินตนาการถึงสิ่งที่คล้ายกันนี้เกิดขึ้นกับเงินคริปโทที่แข่งขันกับสกุลเงินหลักทั่วโลก

แม้ว่าการห้ามจะยังเป็นไปได้ แต่กฎระเบียบหรือกฎหมายที่จำกัดน่าจะเป็นไปได้มากกว่าและอาจส่งผลต่อมูลค่าของบิทคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ

ตัวอย่างเช่น ร่างกฎหมายที่นำเสนอล่าสุดในสหรัฐฯ ที่มีชื่อว่า “Digital Asset Anti-Money Laundering Act” จะคุกคามความสามารถในการทำธุรกรรมด้วยคริปโทเคอร์เรนซี ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหลายราย หากกฎหมายที่คล้ายกันนี้ผ่านในตลาดหลักอื่น ๆ มูลค่าของบิทคอยน์และสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ จะลดลงฮวบฮาบ

โชคดีที่ร่างกฎหมายดังกล่าวถือว่ามีโอกาสผ่านน้อยมาก

ความเข้าใจผิดและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบิทคอยน์ที่พบบ่อย


ในฐานะเทคโนโลยีใหม่ คริปโทเคอร์เรนซียังไม่เป็นที่เข้าใจดีสำหรับสาธารณชน (หรือแม้แต่ผู้ออกกฎหมาย)ต่อไปนี้คือความเข้าใจผิดและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบิทคอยน์ที่พบบ่อย

  • บิทคอยน์เป็นฟองสบู่ แม้ว่าบิทคอยน์จะมีมูลค่าเติบโตอย่างมาก แต่เมื่อเทียบกับประชากรโลกแล้ว มูลค่าของบิทคอยน์น่าจะยังต่ำอยู่ ตามการประมาณการบางแหล่ง ประชากรโลกน้อยกว่า 3% ที่ใช้บิทคอยน์
  • ไม่มีการใช้งานบิทคอยน์ในโลกจริง แม้ว่าบิทคอยน์จะเป็นการลงทุนหรือเป็นการเก็บมูลค่าได้ แต่ก็มีหลายวิธีที่จะใช้บิทคอยน์เป็นวิธีชำระเงินสำหรับธุรกรรมในชีวิตประจำวัน และเนื่องจากบิทคอยน์เป็นสินทรัพย์ คุณยังสามารถกู้ยืมโดยใช้บิทคอยน์เป็นหลักประกันเพื่อซื้อสินค้าและบริการในโลกจริง หรือลงทุนในสินทรัพย์โลกจริงแบบดั้งเดิมก็ได้
  • บิทคอยน์ถูกพิมพ์ออกมาจากอากาศ การขุดบิทคอยน์ใช้วิธี proof of work เพื่อผลิตบิทคอยน์ใหม่และตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมบิทคอยน์ กระบวนการนี้ต้องใช้พลังงานมากและต้องลงทุนทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญ
  • เงินคริปโทอื่นจะมาแทนที่บิทคอยน์ แม้ว่าเงินคริปโทรุ่นใหม่จะมีข้อได้เปรียบบางประการเหนือบิทคอยน์ เช่น เวลาธุรกรรมที่เร็วกว่าหรือค่าธรรมเนียมเครือข่ายที่ต่ำกว่า แต่บิทคอยน์เป็นรายแรกและยังคงเป็นเงินคริปโทชั้นนำ ยิ่งมีคนใช้และลงทุนในบิทคอยน์มากเท่าไร ก็ยิ่งช่วยให้บิทคอยน์รักษาตำแหน่งผู้นำได้มากเท่านั้น
  • บิทคอยน์ใช้พลังงานมากเกินไป การขุดบิทคอยน์ใช้พลังงานมากกว่าบางประเทศเสียอีก จากการประมาณการ อย่างไรก็ตาม นักขุดรายใหญ่ได้ย้ายไปอยู่ในพื้นที่ที่พวกเขาเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนได้ หรือพื้นที่ที่มีพลังงานเหลือและไม่สามารถส่งต่อไปที่อื่นได้

กฎระเบียบเกี่ยวกับบิทคอยน์และประเด็นทางกฎหมาย


อีกความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบิทคอยน์คือมันเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่มีการกำกับดูแลและจะถูกแบนโดยหน่วยงานกำกับดูแลอย่างเช่น SEC แม้ว่าเงินคริปโทบางส่วนอาจเข้ากับคำนิยามนั้น แต่ลักษณะการกระจายอำนาจของบิทคอยน์ทำให้มันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) คล้ายทองคำหรือเงิน มากกว่าจะเป็นหลักทรัพย์

ปัจจุบัน การซื้อขายบิทคอยน์ยังคงถูกกฎหมายในตลาดหลักๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร รัฐบาลหลายแห่งปฏิบัติต่อบิทคอยน์ในฐานะทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์ทางภาษี อย่างไรก็ตาม เส้นทางข้างหน้ายังคงเต็มไปด้วยอันตราย สกุลเงินที่เป็นคู่แข่งทำให้เห็นถึงมูลค่าที่ลดลงของสกุลเงินแบบเดิม

ร่างกฎหมายที่เสนอ เช่น Digital Asset Anti-Money Laundering Act ของวุฒิสมาชิก Elizabeth Warren อาจเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของคริปโทในอนาคต แล้วในตอนนี้ เว็บแลกเปลี่ยนและกลุ่มขุดบิทคอยน์หลายแห่งทั่วโลกก็กำหนดให้ต้องยืนยันตัวตนแบบ KYC ก่อนจะทำธุรกรรมได้

กฎระเบียบและกฎหมายในอนาคตอาจทำให้การซื้อขายบิทคอยน์หรือคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ ยากขึ้น หรือแม้แต่เป็นไปไม่ได้เลย หากย้อนกลับไปดูแนวคิดเบื้องหลังบิทคอยน์ นั่นคือความสามารถในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ก็ไม่ยากที่จะจินตนาการว่ารัฐบาลอาจพยายามปิดกั้นความสามารถนั้นอย่างไร

การประเมินบิทคอยน์ในฐานะการลงทุน


การลงทุนในบิทคอยน์หรือคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ อาจมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนที่ได้อาจสูงกว่ามากเช่นกันการลงทุนในบิทคอยน์เหมาะสำหรับ

  • คนที่ยอมรับความผันผวนของราคาได้ การขึ้นๆ ลงๆ ของตลาดคริปโทนั้นรุนแรงยิ่งกว่าหุ้นเพนนีสต็อกเสียอีก
  • นักลงทุนที่มีพอร์ตการลงทุนที่กระจายความเสี่ยงแล้ว บิทคอยน์ช่วยเพิ่มการลงทุนในภาคส่วนบล็อกเชนที่กำลังเติบโต
  • คนที่ชื่นชอบหลักการของบิทคอยน์ในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง ผู้ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวและการต่อต้านการเซ็นเซอร์อาจรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับโลกคริปโทมากกว่า
  • นักลงทุนที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อหรือค่าเงินตกต่ำ อุปทานของสกุลเงินธรรมดาเช่น ดอลลาร์สหรัฐ (USD) และปอนด์ (GBP) ถูกควบคุมโดยรัฐบาลและธนาคารกลาง ในทางตรงกันข้าม บิทคอยน์มีอุปทานคงที่ที่ 21 ล้านบิทคอยน์ ซึ่งอาจหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาเมื่อเทียบกับสกุลเงินธรรมดา

ข้อดีและข้อเสียของการลงทุนในบิทคอยน์


การลงทุนในบิทคอยน์มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องชั่งน้ำหนัก

ข้อดี

  • อุปทานจำกัดของบิทคอยน์อาจนำมาซึ่งการเพิ่มขึ้นของราคาอย่างมากหากความต้องการยังคงเติบโต
  • ด้วยโหนดกระจายอยู่ทั่วโลก บิทคอยน์มีลักษณะกระจายอำนาจและต้านทานต่อการถูกเซ็นเซอร์
  • กระเป๋าบิทคอยน์ช่วยให้คุณเดินทางไปทั่วโลกพร้อมกับพกพาเงินออมติดตัวไปด้วย

ข้อด้อย

  • การยอมรับที่จำกัดในฐานะวิธีการชำระเงินอาจส่งผลต่อมูลค่าในอนาคตของบิทคอยน์
  • ความผันผวนของตลาดอาจนำไปสู่การขาดทุนบนกระดาษอย่างรวดเร็ว
  • การเก็บรักษาอย่างปลอดภัยต้องอาศัยผู้ใช้ศึกษาเรื่องกระเป๋าบิทคอยน์และมาตรการความปลอดภัย

ประเด็นทางปฏิบัติในการใช้บิทคอยน์


ในแง่ของวิธีการชำระเงิน บิทคอยน์มีหลายวิธีที่จะใช้ในชีวิตประจำวัน

  • การซื้อของออนไลน์
  • การซื้อบัตรของขวัญ
  • ธุรกรรมระหว่างบุคคล

อย่างไรก็ตาม บิทคอยน์ไม่มีการคุ้มครองผู้บริโภคเหมือนที่คุณจะพบในบริการทางการเงินแบบเดิม คุณไม่สามารถยกเลิกธุรกรรมย้อนหลังได้ และถ้าคุณส่งบิทคอยน์ไปผิดที่อยู่ มันก็น่าจะหายไปตลอดกาลนอกจากนี้ ให้พิจารณาเคล็ดลับต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ทำธุรกรรมได้อย่างปลอดภัย

  • ใช้รหัส QR เพื่อความแม่นยำในการส่งบิทคอยน์ ให้สแกนรหัส QR สำหรับที่อยู่ปลายทาง เพื่อหลีกเลี่ยงการพิมพ์ผิดหรือมีตัวอักษรเกิน
  • แบ่งเงินของคุณระหว่างกระเป๋าต่างๆ ใช้กระเป๋า “เงินใช้จ่าย” สำหรับธุรกรรมประจำวัน วิธีนี้จะแยกยอดเงินที่ใหญ่กว่าไว้ต่างหาก ซ่อนจากการสอดรู้ของบล็อกเชนที่สามารถเห็นยอดคงเหลือในกระเป๋าบิทคอยน์ได้
  • ใช้ Hardware Wallet สำหรับยอดเงินที่มากกว่า เพื่อปกป้องยอดเงินจำนวนมาก ให้พิจารณาซื้อ Hardware Wallet ที่เก็บกุญแจส่วนตัวไว้ออฟไลน์
  • เก็บ Seed ของคุณไว้อย่างปลอดภัย หากคุณทำกระเป๋าหายหรือ Hardware Wallet เสียหาย คุณจะสามารถกู้คืนการเข้าถึงบิทคอยน์ของคุณได้โดยใช้ Seed phrase  ที่สำรองไว้
  • ระวังการหลอกลวง ฟิชชิ่ง และเว็บไซต์ปลอม เนื่องจากเงินคริปโทโอนได้ง่าย ผู้ถือคริปโทจึงมักตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมถึงความพยายามฟิชชิ่งเพื่อให้ได้ Seed phrase หรือเว็บไซต์ปลอมที่ดูเหมือนกับเว็บไซต์ที่รู้จักกันดี

อนาคตของบิทคอยน์


การทำนายราคาบิทคอยน์นั้นสนุก แม้จะเป็นการเก็งกำไรเสมอก็ตาม อนาคตของบิทคอยน์ขึ้นอยู่กับการนำมันไปใช้

ร้านค้าปลีกจะเริ่มยอมรับบิทคอยน์มากขึ้นไหม? บิทคอยน์จะกลายเป็นสกุลเงินสำรองของโลก แทนที่ดอลลาร์หรือไม่? กรณีแรกเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับบิทคอยน์ ในขณะที่กรณีที่สองอาจส่งราคาขึ้นไปถึงดวงจันทร์และไกลกว่านั้น

ยังมีความเป็นไปได้ที่ราคาจะตกลงด้วย

การคาดการณ์ราคาบิทคอยน์โดยอ้างอิงตลาดของเราเองวางเป้าหมายราคาในอนาคตไว้สูงถึง 150,000 ดอลลาร์ภายในปี 2030 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับราคาในปัจจุบัน คนอื่นในอุตสาหกรรม รวมถึง Jurrien Timmer จาก Fidelity Investments คาดการณ์เป้าหมายสูงถึง 1 ล้านถึง 10 ล้านดอลลาร์ต่อบิทคอยน์

จุดแข็งหลักของบิทคอยน์คือความสามารถในการเป็นที่เก็บมูลค่า วันนี้ การทำธุรกรรมในชีวิตประจำวันบนเครือข่ายบิทคอยน์ยังคงมีราคาแพง ทำให้เหมาะสำหรับธุรกรรมขนาดใหญ่มากกว่า อย่างไรก็ตาม Lightning Network หรือโซลูชันการขยายขนาดที่คล้ายกันอาจทำให้บิทคอยน์ใช้งานได้ง่ายขึ้นสำหรับธุรกรรมประจำวัน โดยลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมจากหลายดอลลาร์เหลือเศษเพนนีและกำจัดการรอคอยอันยาวนานระหว่างบล็อก

สรุป: บิทคอยน์เหมาะกับคุณหรือไม่?


บิทคอยน์เริ่มต้นการปฏิวัติคริปโทในปี 2009 แต่เทคโนโลยีใหม่นี้ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นอยู่ดี หลายคนเชื่อว่าวันที่ดีที่สุดของบิทคอยน์ยังอยู่ข้างหน้า และยังมีโอกาสมหาศาลรออยู่

การเดินทางข้างหน้ามาพร้อมกับความเสี่ยงแต่ไม่มีการรับประกัน เหมือนกับการลงทุนทุกประเภท อย่างไรก็ตาม บิทคอยน์มีผลการดำเนินงานดีกว่าสินทรัพย์ทุกประเภทนับตั้งแต่เปิดตัว บ่งชี้ว่ามันไม่เหมือนกับการลงทุนอื่นๆ

พิจารณาความเสี่ยงของคุณอย่างรอบคอบก่อนลงทุน และอย่าลงทุนมากกว่าที่คุณสามารถสูญเสียได้ แต่หากคุณตัดสินใจที่จะลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล บิทคอยน์เป็นก้าวแรกที่สมเหตุสมผล ความปลอดภัยของบิทคอยน์ซึ่งเสริมด้วยระบบพรูฟออฟเวิร์กและเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในฐานะสกุลเงินดิจิทัลชั้นนำ น่าจะทำให้บิทคอยน์มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งอีกหลายปี

ข้อมูลอ้างอิง