. 1 min read

คู่มือเทรดด้วยรูปแบบกราฟต่างๆ แบบเข้าใจง่าย ปี 2024

การเทรดด้วยรูปแบบกราฟ
ที่มา DALL·E 3

หากคุณอยากให้พอร์ตการลงทุนของคุณเติบโต การทราบพื้นฐานรูปแบบกราฟเพื่อนำไปใช้เทรดอย่างมีข้อมูล จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จกับสิ่งที่มุ่งหวังได้ เพราะการอ่านกราฟจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้คุณสามารถวิเคราะห์ราคา และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำนายการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตจากข้อมูลที่มีในอดีต และนำไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อทำให้การลงทุนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้

คู่มือนี้จึงจัดทำเพื่อช่วยให้ทุกท่านเข้าใจรูปแบบกราฟคริปโต และแปลความหมายของการเคลื่อนไหวราคาได้ดีที่สุด และการทราบลักษณะกราฟจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการวิเคราะห์เชิงเทคนิค ที่สร้างกำไรในการเทรดให้มากขึ้นกว่าที่เคย

ประเภทของกราฟ


กราฟจะแสดงการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งสามารถแสดงออกมาได้หลายประเภท แต่ประเภทที่นิยมใช้กันมากที่สุด มีดังต่อไปนี้

รูปแบบกราฟต่างๆ
ที่มา OctaFX

1. กราฟเส้น (Line Chart)

กราฟเส้นจะแสดงข้อมูลโดยเชื่อมจุดข้อมูลแต่ละจุดให้ต่อกันเป็นเส้น โดยสดงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลา ทำให้สามารถเห็นแนวโน้มของราคาในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างชัดเจน

กราฟเส้นเหมาะสำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มราคาในระยะยาว เนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นถึงทิศทางของราคาได้อย่างแม่นยำมากกว่ารูปแบบกราฟอื่น ๆ

2. กราฟแท่ง (Bar Chart)

กราฟแท่งจะแสดงข้อมูลราคาสูงสุดและราคาต่ำสุด โดยแต่ละแท่งจะเป็นตัวแทนของช่วงราคาในแต่ละวัน กราฟแท่งเหมาะสำหรับการวิเคราะห์ราคาหุ้นในระยะสั้น เนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาได้อย่างละเอียด และเหมาะกับการทำเดย์เทรด

3. กราฟแท่งเทียน (Candlestick Chart)

แพทเทิร์นกราฟแท่งเทียนเป็นกราฟที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยเหตุผลที่เรียกว่าแท่งเทียนก็เพราะมีลักษณะที่คล้ายกับแท่งของเทียน ซึ่งจะแสดงราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงสุด หรือราคาต่ำสุด ในแต่ละช่วงระยะเวลา

แพทเทิร์นกราฟแท่งเทียนสามารถใช้วิเคราะห์ราคาได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาได้อย่างละเอียด แสดงความผันผวน และมีการกำหนดด้วยสีเขียว (ราคาเพิ่ม) และสีแดง (ราคาลง) เพื่อช่วยวิเคราะห์รูปแบบกราฟได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

รูปแบบกราฟแบ่งออกได้กี่ประเภท


หลังจากที่ทราบประเภทของกราฟไปแล้ว ในส่วนต่อมาจะต้องสามารถแปลความหมายรูปแบบกราฟต่างๆ ที่แตกต่างกันได้

การสังเกตแพทเทิร์นกราฟคริปโต เป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญมากสำหรับนักลงทุน เพราะสามารถใช้ข้อมูลในอดีตคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต เพื่อประมาณการณ์การขึ้นลงของราคาได้ และเป็นส่วนสำคัญของการวิเคราะห์เชิงเทคนิค

รูปแบบกราฟที่เจอบ่อย
ที่มา: TrendSpider

ที่หากนักลงทุนได้เรียนรู้และทำความเข้าใจ จะช่วยให้สามารถสร้างความได้เปรียบ เพราะสามารถคาดการณ์แนวโน้มของราคาในอนาคตได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

การมองกราฟให้ออกจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการวางกลยุทธ์การเทรด เนื่องจากการทราบ pattern กราฟ จะทำให้เรารู้จังหวะเข้าซื้อหรือจังหวะขายได้ดี และประสบความสำเร็จในการเทรดได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวรูปแบบกราฟสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. รูปแบบเทรน 

แพทเทิร์นกราฟคริปโตรูปแบบเทรนบ่งบอกว่าแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคายังคงเป็นไปในทิศทางเดิม โดยอาจเป็นแนวโน้มขาขึ้น ขาลง หรือคงตัวก็ได้ ดังนั้น รูปแบบเทรนจึงมีการปรับตัวและสร้างฐานแนวรับหรือแนวต้านที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ โดยหากเป็นเทรนขาลง แนวรับและแนวต้านจะต่ำลงเรื่อย ๆ ส่วนเทรนขาขึ้น แนวรับและแนวต้านจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ

2. รูปแบบกลับตัว

รูปแบบกราฟแบบราคากลับตัว เป็นลักษณะกราฟที่เกิดขึ้นเมื่อราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวโน้มเดิม แบ่งเป็น

  • จุดกลับตัวขาขึ้น (Bullish Reversal) คือ จุดที่ราคาหุ้นเปลี่ยนจากแนวโน้มขาลงเป็นแนวโน้มขาขึ้น
จุดกลับตัวขาขึ้น (Bullish Reversal)
ที่มา: BDO
  • จุดกลับตัวขาลง (Bearish Reversal) คือ จุดที่ราคาหุ้นเปลี่ยนจากแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวโน้มขาลง
จุดกลับตัวขาลง (Bearish Reversal)
ที่มา: BDO

การสังเกต pattern กราฟ ในจุดกลับตัวจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับนักลงทุน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อหรือขายได้อย่างเหมาะสม

3. รูปแบบ Sideway

รูปแบบกราฟ Sideway
ที่มา: Investopedia

รูปแบบ Sideway เป็นรูปแบบกราฟที่ยังไม่เลือกทิศทาง หรือเป็นไปได้ทั้งสองทิศทาง และเป็นช่วงเวลาที่นักลงทุนต้องระวังความผันผวน และตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนโดยรอบคอบ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หากเจอแพทเทิร์นกราฟคริปโตแบบ Sideway ถือเป็นช่วงที่ควรหลีกเลี่ยงการเข้าเทรดจนกว่าจะเห็นแนวโน้มที่ชัดเจนมากขึ้น

วิเคราะห์รูปแบบกราฟเพื่อเป้าหมายการเทรดด้วย Fibonacci


เมื่อเราสามารถแบ่งกลุ่มประเภทของรูปแบบกราฟพื้นฐานได้แล้ว ลองมาทราบข้อมูลเชิงลึกในเรื่องของการหาเป้าหมายด้วยการใช้ Fibonacci หรือการใช้เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ทิศทางของกราฟราคา ว่ามีรูปแบบกราฟอะไรบ้างที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ และเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรที่จะเรียนรู้เอาไว้เพื่อใช้มองภาพของการเปลี่ยนแปลงของราคาให้ออก

รูปแบบเทรน (Continuous)

รูปแบบเทรนที่เกิดขึ้นบ่อยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ

1. รูปแบบ Cup and Handle

รูปแบบถ้วยและหูจับเป็นกราฟราคาที่ปรับฐานลงและขึ้นในรูปแบบคล้ายถ้วย เริ่มจากการที่ราคาตกลงมาที่แนวรับบริเวณก้นแก้ว แล้วราคาค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามส่วนโค้งไปยังปากแก้วอีกครั้ง

รูปแบบกราฟ pattern Cup and Handle
ที่มา: Investopedia

โดยปกติแล้วรูปแบบกราฟนี้จะฟอร์มตัวโดยใช้เวลาค่อนข้างนาน และ อาจกำหนดเป้าหมายของรูปแบบนี้จากการวัดระยะจุดต่ำสุดของถ้วยไปจนถึงขอบปากถ้วย

2. รูปแบบ Flag (ธง)

รูปแบบธงเป็นรูปแบบราคาที่อยู่ในช่วงปรับฐานระยะสั้นของเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้น โดยเป็นช่วงการพักราคาซึ่งเคลื่อนที่ในกรอบแคบ ๆ ระหว่างแนวรับและแนวต้านที่ขนานกันไป

รูปแบบกราฟ Flag pattern
ที่มา: Strike.money

ก่อนที่ราคาจะปรับตัวขึ้นต่อไปอีก แต่เมื่อราคาทะลุแนวต้านของรูปแบบกราฟนี้เมื่อไหร่ ราคาก็จะพุ่งขึ้น และเป็นช่วงทำกำไรที่นักลงทุนต้องทราบ

3. รูปแบบ Pennant  (ธงสามเหลี่ยม)

รูปแบบ Pennant  (ธงสามเหลี่ยม)
ที่มา: Corporate Finance Institute

รูปแบบธงสามเหลี่ยมคล้ายกับรูปแบบธง แต่ต่างกันที่แนวรับและแนวต้านที่จะบีบเข้าหากันเป็นสามเหลี่ยม ซึ่งมีความผันผวนของราคาต่ำกว่า และหลังจากนั้นราคาก็จะพุ่งขึ้นทะลุกรอบออกมา

รูปแบบกลับตัว (Reversal) 

รูปแบบกลับตัวที่เกิดขึ้นบ่อยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

1. รูปแบบ Head and Shoulders

รูปแบบนี้เป็นรูปแบบกราฟที่เกิดขึ้นก่อนที่เทรนด์จะกลับตัว และถูกพูดถึงบ่อยที่สุด เพราะมักถูกใช้ในการเข้าเทรดในสภาวะขาลงหลังจากเทรนด์ขาขึ้น

รูปแบบ Head and Shoulders
ที่มา: Investopedia

ราคาจะแกว่งตัวขึ้นและลง ประกอบไปด้วย 3 ยอด โดยที่ตรงกลางจะมีราคาสูงที่สูงกว่าข้างๆ มองคล้าย ๆ กับไหล่ซ้าย, หัว และไหล่ขวา

ดังนั้น รูปแบบ Head and Shoulders จึงหมายถึงการที่ราคาพยายามจะทำราคาสูงให้สูงขึ้นแต่ไม่สำเร็จนั่นเอง หากราคาทะลุเส้น Neck line ลงมา ให้คาดการณ์ว่ากำลังจะมีเกิดรูปแบบกลับตัวจากแนวโน้มขาขึ้นเป็นขาลง

2. รูปแบบ Double Top/Bottom

การเคลื่อนไหวของรูปแบบกราฟจะคล้ายกับตัว M สำหรับขาขึ้น หรือ ตัว W สำหรับขาลง และเป็นรูปแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยในโลกของการเทรด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอในช่วงปลายของเทรนด์ ทำให้ไม่สามารถทำราคาสู่จุดสูงสุดใหม่ได้ และเข้าสู่การกลับตัวของราคา

รูปแบบกราฟ Double Top/Bottom pattern
ที่มา FXOpen UK

ทั้งนี้ หากราคาดันทะลุแนวรับลงมาก่อนราคาจะทดสอบแนวต้านครั้งที่ 2 เราจะถือว่ารูปแบบนี้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์

3. รูปแบบ Triple Top/Bottom

รูปแบบนี้จะมีลักษณะคล้ายกับ Double Top/Bottom แต่ราคาจะมีการทดสอบถึง 3 ครั้งก่อนกลับตัว

รูปแบบกราฟ Triple Top/Bottom pattern
ที่มา FXOpen UK

รูปแบบกราฟแบบ Triple Top/Bottom แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ราคาไม่สามารถไปต่อในทิศทางเดิมได้ แม้จะพยายามถึง 3 ครั้งแล้วก็ตาม ดังนั้น รูปแบบดังกล่าวจึงมีความรุนแรงของการกลับตัวมากกว่ารูปแบบ Double Top/Bottom

รูปแบบ Sideway

รูปแบบ Sideway ที่เกิดขึ้นบ่อยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1. รูปแบบ Wedge

รูปแบบ Wedge หรือลิ่ม สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงที่มีความลังเล ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาในกรอบ Trend Line สองเส้นที่ลู่เข้าหากัน เป็นรูปแบบกราฟรูปสามเหลี่ยมที่มีลักษณะคล้ายลิ่มและเมื่อราคาทะลุออกนอกกรอบก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรุนแรง

รูปแบบกราฟ sideway แบบ Wedge
ที่มา: ByBit Learn

อย่างไรก็ตาม ราคามีโอกาสที่จะกลับตัวหรือไปต่อในทางเดิมได้ ดังนั้น จึงถือเป็นรูปแบบการเทรดที่ต้องใช้ความชำนาญในการสังเกต และนักลงทุนควรรอให้เห็นสัญญาณที่ชัดเจนก่อนที่จะเปิดสถานะเพื่อทำกำไร

2. รูปแบบ Channel

รูปแบบ Channel เป็นอีกหนึ่งในรูปแบบกราฟแบบ sideway ที่มีโอกาสที่ราคาสามารถจะขึ้นลงได้ ถือเป็นรูปแบบการเทรดที่ พื้นฐานที่ช่วยให้เราตัดสินใจในการเทรดได้ง่าย ซึ่งหากมองภาพออกจะช่วยให้คุณเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยส่วนใหญ่ราคาจะมีความผันผวนต่ำ และมีปริมาณการเทรดต่ำ เคลื่อนไหวอยู่ระหว่างแนวรับและแนวต้านในแนวเส้นขนาน

รูปแบบกราฟ Channel sideway pattern
ที่มา BabyPips

pattern กราฟ นี้สามารถวัดเป้าหมายของราคาได้ตามขนาดของช่อง บางครั้งนักเทรดหลายคนอาจใช้รูปแบบ Channel เพื่อทำกำไรแบบง่าย ๆ โดยการซื้อเมื่อราคาลงมาแตะที่เส้นแนวรับ และขายตอนที่ราคาหุ้นขึ้นไปแตะที่เส้นแนวต้านนั่นเอง

รูปแบบกราฟ vs อินดิเคเตอร์อื่นๆ


การเทรดคริปโตเคอเรนซี่มีเครื่องมือมากมายให้นักลงทุนใช้ประโยชน์ ซึ่งรูปแบบกราฟเป็นหนึ่งในเครื่องมือเหล่านั้น ที่ช่วยให้เราเข้าใจแนวโน้มของตลาดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับอินดิเคเตอร์เทคนิคอื่นๆ มีความแตกต่างหลักๆ ดังนี้:

  • รูปแบบกราฟ ให้ภาพรวมของแนวโน้มราคาและสามารถช่วยพยากรณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้จากข้อมูลในอดีต
  • อินดิเคเตอร์เทคนิค เช่น RSI, MACD, และ Bollinger Bands ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของแนวโน้ม, การเปลี่ยนแปลงของโมเมนตัม, และความผันผวนของราคา

การใช้รูปแบบกราฟร่วมกับอินดิเคเตอร์เหล่านี้ช่วยให้นักลงทุนได้:

  • มุมมองที่หลากหลายของตลาด
  • ยืนยันสัญญาณที่ได้จากรูปแบบกราฟ
  • เพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจเทรด

ความท้าทายและข้อจำกัดของการใช้รูปแบบกราฟ


การใช้รูปแบบกราฟในการเทรดคริปโตมาพร้อมกับความท้าทายและข้อจำกัดที่สำคัญ ได้แก่:

  • การตีความที่อาจผิดพลาด: ความเข้าใจและประสบการณ์ของนักเทรดมีบทบาทสำคัญในการตีความรูปแบบกราฟ ซึ่งอาจนำไปสู่การตีความที่ผิดพลาดได้
  • ความผันผวนของตลาดคริปโต: ตลาดคริปโตที่มีความผันผวนสูงอาจทำให้รูปแบบกราฟที่ดูเหมือนชัดเจนไม่เกิดขึ้นตามที่คาดหวัง

เพื่อลดความเสี่ยงจากความท้าทายเหล่านี้ นักลงทุนควร:

  • ใช้การจัดการความเสี่ยงอย่างเข้มงวด เช่น การตั้งค่า stop-loss
  • ใช้รูปแบบกราฟร่วมกับอินดิเคเตอร์เทคนิคอื่นๆ เพื่อยืนยันสัญญาณ

การใช้รูปแบบกราฟในการเทรดคริปโตเป็นเครื่องมือที่มีค่า แต่ต้องใช้ร่วมกับเครื่องมือและการวิเคราะห์อื่นๆ เพื่อการตัดสินใจเทรดที่ดีที่สุดและการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

บทสรุปเกี่ยวกับรูปแบบกราฟ


แม้ว่าจะไม่มีรูปแบบกราฟใดที่สามารถจะพยากรณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้ 100% แต่การเก็บข้อมูลในเชิงสถิติที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ก็ช่วยให้เราสามารถคาดการณ์โอกาสความน่าจะเป็นได้แม่นยำมากขึ้น

การตีความลักษณะกราฟตามที่กล่าวถึงในคู่มือนี้ น่าจะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของราคาทั้งขาขึ้น, ขาลง และ Sideway  ได้ดีมากขึ้น โดยต้องพิจารณาจากรูปแบบ รูปร่าง และโครงสร้างของกราฟ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกฝน รวมถึงมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ข่าวสารบ้านเมือง หรือปัจจัยพื้นฐานของบริษัท เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์มีความแม่นยำมากขึ้น

โปรดทราบว่า นักลงทุนมืออาชีพโดยส่วนใหญ่มักจะเลือกเทรดในช่วงที่ตลาดมีรูปแบบกราฟ crypto ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง และจะยิ่งเสี่ยงมากขึ้นหากคุณขาดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการลงทุน ดังนั้น การพยายามศึกษาข้อมูลและประเมินความเสี่ยงก่อนเริ่มลงทุน จึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะช่วยทำให้สามารถประสบความสำเร็จในการลงทุนได้ ไม่ว่าคุณจะเริ่มต้นลงทุนในสินทรัพย์ใด ๆ ก็ตาม

อ้างอิง