Ethereum คืออะไรและทำงานอย่างไร? ควรอ่านก่อนเริ่มลงทุน!

สมชาย หวาง
| 30 min read

Ethereum คือEthereum เปิดตัวในปี 2025 ในฐานะ Blockchain ที่รองรับสัญญาอัจฉริยะตัวแรกของโลก ทุกวันนี้ Ethereum ยังคงเป็นผู้นำในตลาดด้วยสัญญาอัจฉริยะนับหมื่นล้านที่ถูกล็อคไว้เพื่อสร้างผลตอบแทน โทเค็นสำหรับแลกเปลี่ยน และการใช้งานอื่น ๆ มากมาย

ในบทความนี้ เราจะมาหาคำตอบว่า “Ethereum คืออะไร” พร้อมเจาะลึกเหรียญที่ใครหลายคนเรียกว่าเป็น “คอมพิวเตอร์โลก”

ประเด็นที่สำคัญ

  • Ethereum Blockchain ใช้ Ether (ETH) เป็นเหรียญคริปโตของตัวเอง โดยเหรียญอีเธอเรียมจะทำหน้าที่เป็น “เชื้อเพลิง” เพื่อขับเคลื่อน Blockchain โดยใช้ในการทำธุรกรรมและการใช้งานสัญญาอัจฉริยะ
  • สัญญาอัจฉริยะของ Ethereum ทำให้เครือข่ายมีฟังก์ชันการทำงานมากกว่า Ledger แบบกระจายอำนาจทั่วไปบน Blockchain อื่นๆ เช่น Bitcoin
  • จากมูลค่าที่น้อยกว่าหนึ่งดอลลาร์ก่อนเปิดตัว ETH ก็พุ่งขึ้นเป็นเกือบ 4,900 ดอลลาร์เมื่อปี 2021 ทำให้เป็นหนึ่งในการลงทุนในเหรียญคริปโตที่ทำกำไรได้มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาสำหรับนักลงทุนในช่วงแรกๆ
  • แอพแบบกระจายอำนาจ (dApps) บนเครือข่าย Ethereum ที่เน้นการเงินแบบกระจายอำนาจ รวมถึงการปล่อยและกู้สินเชื่อ และกระดานเทรดแบบ Decentralized Exchange ที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนโทเค็นได้

Ethereum คืออะไร?


ลักษณะการทํางานของสกุลเงิน Ethereum คือการทำหน้าที่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลกแบบกระจายอำนาจ ซึ่งทำตามชุดข้อบังคับที่เรียกว่าโปรโตคอล Ethereum (Ethereum อ่านว่า ‘อีเธอเรียม’) โดย Solidity ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมหลักของเครือข่ายจะทำให้สามารถใช้สัญญาอัจฉริยะได้ ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนเครือข่าย

สัญญาแต่ละแบบเหล่านี้จะอยู่บนที่อยู่ของเครือข่าย และทุกคนสามารถโต้ตอบกับสัญญาได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน มีคะแนนเครดิตเท่าไหร่ หรือมีเกณฑ์ใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง สัญญาอัจฉริยะเหล่านี้ทำให้ Ethereum สามารถบริการแอพพลิเคชันได้หลากหลาย ตั้งแต่การเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) ไปจนถึงการซื้อขายสินทรัพย์ในโลก Metaverse ไปจนถึงการโหวตแบบกระจายอำนาจ

เครือข่าย Ethereum ขับเคลื่อนโดยโหนดตรวจสอบมากกว่าหนึ่งล้านโหนดทั่วโลก แต่ละโหนดจะทำงานเพื่ออัพเดต Blockchain และตรวจสอบธุรกรรมภายในเครือข่าย

จำนวนผู้ตรวจสอบ Ethereum ทั้งหมด – ที่มา: Glassnode
จำนวนผู้ตรวจสอบ Ethereum ทั้งหมด – ที่มา: Glassnode

บ่อยครั้งที่คำว่า Ethereum จะใช้ในการพูดถึงเหรียญ Ethereum ของเครือข่าย แม้ว่าคำจำกัดความดังกล่าวจะไม่ถูกต้องนักในทางเทคนิค (Ether (ETH) คือเหรียญคริปโต) แต่ทั้งสองคำนี้สามารถใช้สลับกันได้

ในทางปฏิบัติ ETH เป็นทั้งเชื้อเพลิงสำหรับเครือข่ายและเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อซื้อสินค้าหรือสินทรัพย์อื่นๆ หรือชำระค่าบริการ

ต้นกำเนิดและการพัฒนาของ Ethereum


Ethereum เปิดตัวในปี 2013 โดย Vitalik Buterin โปรแกรมเมอร์และผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสาร Bitcoin ภายในปี 2014 เขาได้เขียน Ethereum Whitepaper ซึ่งเป็นคำอธิบายเชิงลึกเกี่ยวกับเครือข่าย Blockchain ในเชิงทฤษฎี รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทำงาน ใน Whitepaper ที่มีการอ้างถึงบ่อยครั้ง Vitalik ได้อธิบายวัตถุประสงค์ของสกุลเงินดิจิทัล Ethereum ว่าเป็น “สัญญาอัจฉริยะยุคใหม่และแพลตฟอร์มสำหรับแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ” ซึ่งแตกต่างจากเครือข่ายที่วางแผนไว้กับ Bitcoin ซึ่งในตอนนั้น Bitcoin เป็นเพียงเหรียญคริปโตสกุลเดียวในตลาด

Vitalik ประกาศโปรเจกต์ Ethereum Blockchain ใหม่ ในการประชุม North American Bitcoin Conference ในไมอามี เมื่อเดือนมกราคม 2014

ผู้ร่วมก่อตั้งหลายคนทำงานร่วมกันเพื่อทำให้ Ethereum ใช้งานได้จริง รวมถึง Vitalik และ Gavin Wood, Anthony Di Iorio, Joseph Lubinm และ Charles Hoskinson ส่วน Amir Chetrit, Jeffrey Wilcke, และ Mihai Alisie ถือเป็นผู้ร่วมก่อตั้งโปรเจกต์เช่นกัน

Gavin Wood ได้ร่วมก่อตั้ง Polkadot และต่อมา Charles Hoskinson ก็ได้ร่วมก่อตั้ง Cardano ส่วน Joseph Lubin กลายเป็นที่รู้จักในนามผู้ก่อตั้ง ​Consensys ซึ่งเป็นบริษัท Blockchain ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Crypto Wallet ชั้นนำในอุตสาหกรรมอย่าง ​MetaMask

การพัฒนาดำเนินต่อไปในช่วงปี 2014 ในระหว่างนั้นทีมพัฒนาได้สร้าง Frontier ซึ่งต่อมากลายเป็นเวอร์ชันแรกของ Ethereum Blockchain

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2015 เครือข่าย Ethereum ได้เปิดใช้งานจริง โดยเปิดตัว Genesis Block ซึ่งมีธุรกรรมเกือบ 8900 รายการFrontier ให้กรอบการทำงานแก่นักขุด Ethereum เพื่อเริ่มต้นการ Ether และรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ตอนเปิดตัว เครือข่าย Ethereum ได้ใช้ฉันทามติแบบ Proof of Work เหมือนกันกับ Bitcoin

ฉันทามติแบบ Proof of Work กำหนดให้นักขุดต้องลงทุนในทรัพยากร (ไฟฟ้า) เพื่อแก้ปัญหา Nonce ที่ย่อมาจาก Number used once ซึ่งต่อมา Ethereum ก็ได้เปลี่ยนไปใช้ฉันทามติ Proof of Stake ซึ่งเป็นกลไกฉันทามติที่ใช้พลังงานน้อยกว่า Proof of Work ที่เปิดตัวครั้งแรกใน Whitepaper ของ Peercoin เมื่อปี 2012

Ethereum ทำงานอย่างไร: เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนสกุลเงิน


Ethereum ใช้งาน Blockchain เหมือนกันกับ Bitcoin โดยจัดกลุ่มธุรกรรมออกเป็นบล็อกๆ จากนั้นจึงเชื่อมบล็อกเหล่านี้โดยใช้ Cryptographic Hash เพื่อสร้างเชนขึ้นมา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ Ethereum แตกต่างจาก Bitcoin ในฐานะเหรียญคริปโตและ Ledger แบบกระจายอำนาจ ก็คือการที่ Ethereum สามารถรองรับสัญญาอัจฉริยะที่ซับซ้อนได้

สิ่งนี้ทำให้ Ethereum เป็นทั้งสกุลเงิน (Ether) คล้ายกับบิทคอยน์ แต่ก็ยังสามารถใช้เหรียญอีเธอเรียมและสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ ในทางใหม่ๆ ได้อีกด้วย ชื่อเล่นอย่าง “คอมพิวเตอร์โลก” ก็หมายถึงบทบาทของ Ethereum ในฐานะที่เป็นทั้ง Blockchain และแพลตฟอร์มสำหรับใช้งาน

Ethereum ทำงานอย่างไร?

เพื่อทำความเข้าใจวิธีการทำงานของ Ethereum เรามาพิจารณาตัวอย่างกันก่อน เริ่มที่ประเภทของธุรกรรมที่รองรับโดย Blockchain กันเลย

  • การทำธุรกรรมทั่วไป: ETH ส่งโดยตรงจากที่อยู่ Crypto Wallet หนึ่งไปยังอีกที่อยู่หนึ่ง
  • การทำธุรกรรมภายใน: การโอน ETH โดยใช้สัญญาอัจฉริยะเป็นตัวกลาง
  • การโอนโทเค็น: การโอนโทเค็นในกลุ่ม ERC-20 หรือ ERC-721

เราจะใช้ธุรกรรมทั่วไปเป็นตัวอย่าง: นาย A ส่ง ETH ให้นาย B

  1. ธุรกรรมถูกสร้างขึ้นโดยนาย A ตัวอย่างเช่น แจ็คต้องการส่ง 2 ETH ให้ จิล การชำระเงินของแจ็คจะรวมค่าแก๊สที่ต้องจ่ายเป็นเหรียญอีเธอเรียมด้วย
  2. ธุรกรรมถูกแฮช (เข้ารหัสด้วยคริปโต) เพื่อสร้างรหัสธุรกรรมหรือที่เรียกว่า Tx Hash เพื่อให้ธุรกรรมไม่ซ้ำกันและป้องกันการจ่ายเงินซ้ำ แฮชยังรวม Nonce ด้วย (ตัวเลขที่ใช้เพียงครั้งเดียว)
  3. จากนั้นธุรกรรมจะถูกส่งไปยังเครือข่าย Ethereum โดยผู้ตรวจสอบจะเลือกธุรกรรมและรวมไว้ในบล็อกเพื่อตรวจสอบธุรกรรม
  4. ผู้ตรวจสอบย่อยจะตรวจสอบว่าธุรกรรมในบล็อกนั้นถูกต้องหรือไม่ หากผู้ตรวจสอบโหนดเหล่านี้ยอมรับว่าธุรกรรมเป็นไปตามกฎของโปรโตคอล บล็อกและธุรกรรมจะถูกยืนยัน

สุดท้าย ที่อยู่ Crypto Wallet ของแจ็คจะถูกหัก 2 ETH บวกค่าแก๊สที่จ่ายไป ส่วนที่อยู่ Crypto Wallet ของจิลจะได้รับ 2 ETH ธุรกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นทำงานบน Ethereum Virtual Machine (EVM) ซึ่งให้การสนับสนุนสัญญาอัจฉริยะ ในขณะเดียวกันก็แยกผู้ตรวจสอบออกจากโค้ดที่ทำงานภายในสภาพแวดล้อมเสมือนนั่นเอง

บทบาทของ Blockchain ในเครือข่าย Ethereum

Ethereum Blockchain ทำหน้าที่เป็น Ledger ซึ่งหมายถึงบันทึกธุรกรรมและยอดคงเหลือใน Crypto Wallet โดยแต่ละบล็อกจะเป็นตัวเก็บธุรกรรม แต่ละรายการยังมีแฮชของบล็อกก่อนหน้า ที่เชื่อมโยงบล็อกตามลำดับเพื่อสร้างเชนด้วย

เช่น บล็อก # 19085581 มีแฮช 0x507bd932708455f0e82df01550ee7e4a2d88ad11e3cd5d3d13f612625f5d6050 ค่านี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของแฮชของบล็อกถัดไป (19085582) บล็อก # 19085581 ได้กลายเป็นบล็อกหลักสำหรับ 19085582 แล้ว และบล็อกลูกจะได้รับแฮชของตัวเอง ตามที่แสดงด้านล่างEthereumบล็อกทำหน้าที่เป็นตัวเก็บ แต่ยังบันทึกสถานะของ Blockchain เอาไว้ เหมือนการถ่ายภาพได้ทันเวลา เมื่อตรวจสอบแล้ว บล็อกจะถูกเพิ่มเข้าไปในเชน และเชนเวอร์ชันใหม่จะเผยแพร่ไปทั่วเครือข่าย

Ethereum ต่างจาก Bitcoin ซึ่งจำกัดบล็อกตามขนาดข้อมูล แต่จะใช้ขนาดบล็อกเป้าหมายตามค่าแก๊ส (ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม) โดยตัวเครือข่ายตั้งเป้าหมาย 15 ล้านแก๊สต่อบล็อก แต่สามารถขยายบล็อกเป็น 30 ล้านแก๊สได้หากต้องการซึ่งจะพิจารณาจากความแออัดของเครือข่าย

Ethereum Blockchain จะเหมือนกับ Bitcoin ตรงที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง หลังจากธุรกรรมเสร็จสิ้น ธุรกรรมก็จะยังคงอยู่ใน Blockchain ตลอดไป

มาตรการการเข้ารหัสและความปลอดภัย

Ethereum ใช้การแฮชในทุกขั้นตอนของการทำธุรกรรมบน Blockchain โดยแฮชหมายถึงการเข้ารหัสข้อมูลที่เข้ารหัสข้อมูลเป็นค่าเลขฐานสิบหก (ตัวอักษรและตัวเลข) หรือที่เรียกว่า Hex (Hexadecimal)

  • แต่ละธุรกรรมจะถูกแฮช
  • บล็อกถูกแฮช
  • ที่อยู่ Crypto Wallet ถูกแฮช

Ethereum ใช้อัลกอริธึม Keccak-256 ในการคำนวณแฮช ทำให้ได้สายอักขระที่เป็นตัวอักษรและตัวเลขแบบ 256 บิตที่มีความยาว 64 อักขระ อย่างไรก็ตาม โปรโตคอลจะเติม “0x” ไว้ที่จุดเริ่มต้นของค่าแฮชเพื่อแสดงทั้งตัวเลขและตัวอักษร ซึ่งจะทำให้บล็อกแฮชมีความยาวที่ 66 อักขระ

ที่อยู่และคีย์สำหรับ Ethereum Wallet

โปรโตคอลยังใช้การแฮชสำหรับคีย์ส่วนตัวของ Private Wallet และที่อยู่สาธารณะด้วย

ภายใน Genisis Block ที่อยู่ของกระเป๋าเงิน 0x756F45E3FA69347A9A973A725E3C98bC4db0b5a0 ได้รับ 200 ETH ที่อยู่ได้มาจากการแฮช แต่ใช้ขั้นตอนพิเศษเพื่อให้ได้เลขฐานสิบหก 40 อักขระเทียบกับเลขฐานสิบหก 64 อักขระ ซึ่งการเติม 0x นำหน้าจะทำให้จำนวนอักขระกลายเป็น 42

  • คีย์ส่วนตัวแฮช 66 อักขระ รวมถึงเลข 0x นำหน้าด้วย
  • คีย์สาธารณะใช้แฮช 130 อักขระ รวมทั้งเลข 0x นำหน้าด้วย
  • ที่อยู่ Crypto Wallet สาธารณะใช้แฮช 42 อักขระ รวมถึงเลข 0x นำหน้าด้วย

คีย์สาธารณะได้มาจากคีย์ส่วนตัว ส่วนที่อยู่ Crypto Wallet แบบสาธารณะหรือที่เรียกว่าบัญชีของเจ้าของที่อยู่ภายนอกนั้นได้มาจาก 20 ไบต์สุดท้ายของคีย์สาธารณะนั่นเองอัลกอริธึม Keccak-256 ของ Ethereum จะสร้างแฮชเดียวกันสำหรับอินพุตเดียวกันเสมอ อย่างไรก็ตาม การเข้ารหัสถืออีกหนึ่งวิธี และไม่มีวิธีเปิดเผยคีย์ส่วนตัวจากคีย์สาธารณะหรือที่อยู่แต่อย่างใด

Ethereum ใช้คีย์ส่วนตัวเพื่อลงนามในธุรกรรม

ตัวอย่างเช่น หากแจ็คต้องการส่ง 2 ETH ให้จิล แจ็คจะต้องใช้แอพ Wallet เพื่อเริ่มทำธุรกรรม แจ็คจะต้องใส่ที่อยู่สาธารณะของจิล เมื่ออนุมัติธุรกรรม Wallet ของ Jack จะใช้คีย์ส่วนตัวของเขาเพื่ออนุมัติธุรกรรมโดยยังคงซ่อนคีย์เอาไว้

หากแจ็คระมัดระวังในการปกป้องคีย์ส่วนตัวคน ก็จะมีเพียงแจ็คเท่านั้นที่สามารถควบคุมทรัพย์บน Blockchain ของตนได้ อย่างไรก็ตาม ใครก็ตามที่เข้าถึงคีย์ส่วนตัวหรือวลีกู้คืนของ Crypto Wallet ก็จะสามารถควบคุมทรัพย์สินของแจ็คได้เช่นกัน

Ether คืออะไร?


Ether เป็นเชื้อเพลิงสำหรับ Ethereum Blockchain แม้ว่าคำว่า Ethereum มักจะใช้เพื่อเรียกเหรียญคริปโตของเครือข่าย Ethereum ก็ตาม แต่ Ether ก็เป็นสกุลเงินจริงที่ใช้ภายในเครือข่าย

  • Ethereum โดยทั่วไปหมายถึง Blockchain, โปรโตคอล, หรือเครือข่าย
  • Ether คือเหรียญคริปโตที่ใช้ในการทำธุรกรรมและใช้เป็นพลังในการประมวลผลบนเครือข่าย

อย่างไรก็ตาม ยังมีหน่วยอีกสองหน่วยที่เข้ามามีบทบาทเช่นกัน: Gwei และ Wei

  • Gwei: ETH แต่ละเหรียญเท่ากับ 1 พันล้าน Gwei

Gwei ย่อมาจาก Gigawei ซึ่งมักใช้แสดงค่าแก๊ส แม้ว่า Ethereum Wallet มักจะแปลงค่าธรรมเนียมเป็น USD หรือสกุลเงินอื่นๆ เพื่อความสะดวก

  • Wei: Gwei แต่ละเหรียญเท่ากับ 1 พันล้าน Wei

Wei หมายถึงหน่วยที่เล็กที่สุดของ Etherค่าแก๊สบน Ethereum แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแบนด์วิธ ขนาด และความยากในการคำนวณของสัญญาอัจฉริยะ

อุปทาน ETH

ผู้ตรวจสอบบนเครือข่าย Ethereum จะได้รับค่าธรรมเนียมที่ถูกจ่ายเป็น Ether สำหรับการเพิ่มบล็อกที่ถูกต้องให้กับ Blockchain โปรโตคอล Ethereum จะสร้างรางวัลใหม่เหล่านี้ ซึ่งทำให้อุปทานเพิ่มขึ้น

โปรโตคอลยังเผาค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมทิ้งไป ส่งผลให้อุปทานลดลงโดยการส่ง Ether ไปยังที่อยู่ที่ไม่สามารถกู้คืนได้ธุรกรรม Ethereumโดยรวมแล้ว จะส่งผลให้เหรียญไม่เฟ้อจนเกินไป ตั้งแต่ Ethereum Improvement Proposal (EIP) 1559 ได้รับการอนุมัติจากชุมชน ทำให้ทางโปรโตคอลสามารถเผาค่าธรรมเนียมทิ้งได้

Ethereum 2.0 คืออะไร?


Ethereum 2.0 หมายถึงการแปลงของ Ethereum จากฉันทามติ Proof of Work (PoW) ไปเป็นฉันทามติ Proof of Stake (PoS) จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2020 ทาง Ethereum ใช้กลไก PoW เพื่อตรวจสอบธุรกรรม และในช่วงปลายปี 2020 ทาง Ethereum ก็ได้เปิดตัวเครือข่าย PoS ที่เรียกว่า Beacon Chain โดยเครือข่ายทั้งสอง ได้แก่ Beacon และ Mainnet ซึ่งทำงานขนานกันจนถึงวันที่ 15 กันยายน 2022 หลังจากทั้งสองเครือข่ายเข้าร่วมกันเป็น “The Merge”

การเปลี่ยนเป็น Ethereum 2.0 ได้นำระบบ Staking มาใช้ในเครือข่าย เปิดโอกาสให้ผู้ถือ ETH สามารถสนับสนุนความปลอดภัยของเครือข่ายและรับผลตอบแทนจาก Staking ได้ผ่านแพลตฟอร์ม Ethereum Staking

The Merge ยังวางรากฐานสำหรับการแบ่งส่วน ซึ่งเป็นการอัพเกรดตามแผนที่วางไว้ที่จะทำให้เครือข่าย Ethereum สามารถแบ่งสถานะของ Ethereum Blockchain ออกเป็น 64 เครือข่ายขนาดเล็กที่เรียกว่า Shards ซึ่งแต่ละเครือข่ายจะรักษาประวัติการทำธุรกรรมและสถานะ Blockchain ของตัวเองเอาไว้

Shard Chains ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาอีกต่อไป แต่นักพัฒนา Ethereum จะตั้งเป้าไปที่ Danksharding ซึ่งเป็นวิธีการปรับขนาดเพื่อเพิ่มความจุในการทำธุรกรรม ซึ่งอาจสูงถึง 100,000 ธุรกรรมต่อวินาที ปัจจุบันเครือข่าย Ethereum สามารถประมวลผลธุรกรรมได้ 20-30 รายการต่อวินาที

คุณสามารถขุดเหรียญ Ethereum ได้หรือไม่?


การเปลี่ยนไปใช้ Proof of Stake ของ Ethereum หมายถึงการยุติการขุดหา Ethereum อย่างไรก็ตาม Ethereum Classic ยังคงใช้ Proof of Stake และยังสามารถขุดได้อยู่ เชนทั้งสองเกิด Fork ในปี 2016 โดยที่ชุมชนส่วนใหญ่ยังคงใช้งานเชนหลักที่เรารู้จักกันในชื่อ Ethereum 2.0 นั่นเอง

วิธีซื้อ Ethereum


เนื่องจาก Ethereum คือเหรียญคริปโตที่ใหญ่เป็นอันดับสองตามมูลค่าตลาด เหรียญจึงเปิดขายในกระดานแลกเปลี่ยนคริปโตทั่วโลก โดยกระดานแลกเปลี่ยนคริปโต เช่น Coinbase และโบรกเกอร์ เช่น eToro ก็มีวิธีซื้อที่เรียบง่ายที่สุด โดยเปิดโอกาสให้ซื้อ ETH และเหรียญคริปโตอื่นๆ ด้วย USD, GBP, หรือสกุลเงินทั่วไปอื่นๆ

เพื่อเริ่มต้น คุณสามารถทำตามขั้นตอนง่ายๆ เหล่านี้โดยใช้ Coinbase เป็นตัวอย่าง

  1. ลงทะเบียนสร้างบัญชี ไปที่ Coinbase แล้วกดที่ปุ่ม “Sign Up”
  2. ยืนยันตัวตนให้เสร็จสมบูรณ์ Coinbase กำหนดให้ผู้ใช้ยืนยันตัวตนด้วยการอัพโหลดสำเนาพาสปอร์ตหรือบัตรประจำตัวที่ออกโดยรัฐบาล ขั้นตอนนี้คือการปฏิบัติตามข้อบังคับของแพลตฟอร์ม
  3. เชื่อมวิธีการชำระเงิน Coinbase รองรับบัญชีธนาคารและบัตรเดบิตในหลายประเทศ บางประเทศยังรองรับ PayPal เป็นวิธีการชำระเงินด้วยเช่นกัน
  4. เลือกจำนวนเงินลงทุน พิจารณาว่าคุณต้องการลงทุนเท่าไหร่และต้องการลงทุนเป็นประจำหรือไม่ Coinbase รองรับการฝากแบบครั้งเดียวและการซื้อซ้ำโดยใช้วิธีการชำระเงินที่คุณเลือกเอาไว้
  5. ซื้อ ETH เมื่อคุณพร้อมซื้อ คุณสามารถใช้ปุ่ม Buy และ Sell เพื่อทำการซื้อให้เสร็จสิ้นได้ในไม่กี่คลิกเท่านั้น ส่วนอีกทางก็คือ Coinbase จะเสนอการซื้อขายขั้นสูงที่คุณสามารถเทรดด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าได้

เมื่อคุณทำการสั่งซื้อแล้ว คุณอาจต้องการเก็บ ETH ของคุณไว้ใน Custodial Wallet ซึ่งเราจะพูดถึงในส่วนต่อไป

การเลือก Ethereum Wallet


Crypto Wallet ถือคีย์ส่วนตัวที่ควบคุมเหรียญคริปโตของคุณบน Blockchain โดยคุณสามารถเลือกระหว่าง Hot Wallet และ Cold Wallet ได้ — หรือจะใช้ทั้งสองประเภทร่วมกัน เราจะอธิบายเพิ่มเติมในอีกไม่ช้า

Hot Wallet สร้างและจัดเก็บคีย์ส่วนตัวของคุณบนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดย Hot Wallet จะรวมถึง Software Wallet เช่น ส่วนขยายเบราว์เซอร์หรือแอพมือถือ
Cold Wallet สร้างและจัดเก็บคีย์ส่วนตัวของคุณไว้แบบออฟไลน์ โดย Cold Wallet มักจะเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อผ่าน USB หรือใช้รหัส QR เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับแอพพลิเคชันของตัว Wallet

  • Hot Wallet ใช้งานได้ง่ายกว่ามาก คุณสามารถเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจเพื่อใช้เหรียญคริปโตของคุณได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นซอฟต์แวร์ Hot Wallet อาจมีจุดบกพร่องหรือข้อเสียที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการถูกโจมตีได้มากขึ้น
  • Cold Wallet  จะเป็นแบบออฟไลน์และทำงานเหมือนกับระบบยืนยันตัวตนสองชั้น หากต้องการใช้หรือส่ง ETH หรือโทเค็นใดๆ คุณจะต้องกดปุ่มเพื่อยืนยันธุรกรรมบนอุปกรณ์ของคุณเอง

คุณยังสามารถใช้ Wallet ทั้งสองประเภทได้ ตัวอย่างเช่น MetaMask ซึ่งเป็น Crypto Wallet ยอดนิยมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่รองรับ Ledger และ Trezor ซึ่งเป็นสองแบรนด์ Hardware Wallet ชั้นนำ การใช้งานทั้งสองแบบจะทำให้คุณสามารถเชื่อมต่อกับ dApp ได้อย่างง่ายดาย ทั้งยังป้องกันสินทรัพย์ของคุณด้วยคีย์ที่ถูกเก็บไว้แบบออฟไลน์ใน Hardware Wallet ของคุณนั่นเอง

การใช้ Ethereum: ตั้งแต่การชำระเงินไปจนถึงการลงทุน


เรารู้อยู่แล้วว่า Ether ถูกใช้เพื่อชำระค่าธุรกรรมบนเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ETH ก็เป็นสกุลเงินที่มีกรณีการใช้งานมากมายและความนิยมของ Ethereum Blockchain ก็หมายความว่า ETH ยังมีมูลค่าแม้จะนำไปใช้นอกเครือข่ายเช่นกัน

  • ซื้อ NFT Non-fungible Token หรือ NFT แสดงถึงความเป็นเจ้าของ โดยการใช้งานที่พบบ่อยที่สุดคือคอลเล็กชัน NFT ที่พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดี ซึ่งรวมถึงคอลเล็กชัน Bored Apes ด้วย อย่างไรก็ตาม NFT สามารถแสดงถึงความเป็นเจ้าของอะไรก็ได้ และในจุดใดจุดหนึ่ง คุณอาจได้เห็นอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์อื่นๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในรูปแบบ NFT เช่นกัน
  • แลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์อื่น  คุณสามารถแลกเปลี่ยน ETH ของคุณเป็นเหรียญคริปโตสกุลอื่นๆ ได้บน Decentralized Exchange เช่น Uniswap
  • ซื้อสินค้าและบริการในชีวิตจริง เว็บขายของออนไลน์ เช่น Newegg ยอมรับ ETH สำหรับการชำระค่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสินค้าอื่นๆ
  • รับผลตอบแทน โลกแห่ง DeFi นำเสนอวิธีการนับไม่ถ้วนในการสร้างรายได้ด้วย ETH ของคุณ โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือผ่าน Liquid Staking ซึ่งแพลตฟอร์มอย่าง Lido จะเปิดโอกาสคุณฝาก ETH ของคุณลงในสัญญาอัจฉริยะเพื่อรับรางวัลจากการ Staking จากนั้น คุณจะสามารถถือหรือแลกโทเค็นของคุณได้ตามต้องการ หรือแม้แต่ใช้เป็นหลักประกันในแอพปล่อยสินเชื่ออย่าง Aave
  • HODL แน่นอนว่าคุณสามารถถือ ETH ของคุณไว้รอให้ราคาเหรียญขึ้นในอนาคตได้ ชุมชนคริปโตเรียกเทคนิคนี้ว่า HODLing หากคุณ Stake ETH ของคุณบนกระดานการแลกเปลี่ยนเช่น Coinbase หรือผ่านโปรโตคอล Liquid Staking เช่น Lido คุณก็จะได้รับผลตอบแทนที่สูง ซึ่งมักจะประมาณ 3.5% โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม

ความเข้าใจและความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ Ethereum คืออะไร?


ตลาดคริปโตยังคงเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่เต็มไปด้วยความเชื่อ ความติดที่ผิด และความเข้าใจผิดง่ายๆ เรามาตรวจสอบกันสักหน่อย

  • Ethereum และเหรียญคริปโตไม่เปิดเผยตัวตน เหรียญคริปโตคือนามแฝง ซึ่งหมายความว่าที่อยู่ของ Crypto Wallet จะกลายเป็นตัวตนของคุณเพื่อใช้ในการทำธุรกรรม ซึ่งหากตามรอยการทำธุรกรรมได้ถูกต้อง การจับคู่บุคคลกับที่อยู่ Wallet ก็เป็นเรื่องง่าย
  • ETH และเหรียญคริปโตเหมาะสำหรับผู้ที่เข้าใจในเทคโนโลยีเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม เหรียญคริปโตถูกคิดค้นขึ้นเพื่อให้ผู้คนมีอิสระในการทำธุรกรรมมากขึ้น แม้บางอย่างยังคงจำเป็นต้องพัฒนามากขึ้น แต่ Crypto Wallet, กระดานเทรด, และแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจทั้งหมดก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • Ethereum 2.0 จะประมวลผลธุรกรรม 100,000 รายการต่อวินาที ยังไม่สามารถทำได้ แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวอาจจะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมด้วย Danksharding แต่ทีมงาน Ethereum ก็ยังระบุด้วยว่าต้องมีการอัพเกรดอื่นๆ อีกหลายอย่างก่อน จึงจะเป็นไปได้
  • Vitalik เป็นผู้กำหนดทิศทาง Ethereum นี่ไม่เป็นความจริง แม้ว่า Vitalik Buterin (ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้เขียน Ethereum Whitepaper) ยังคงมีบทบาทอยู่ในโปรเจกต์ แต่ Ethereum ก็อยู่ภายใต้การควบคุมของชุมชน ผู้ถือ ETH จะได้โหวต Ethereum Improvement Proposals (EIPs) หากโหวตผ่าน นักพัฒนาจะต้องนำการเปลี่ยนแปลงมาปรับใช้
  • สัญญาอัจฉริยะทั้งหมดมีความปลอดภัย นี่ไม่เป็นความจริง โปรโตคอลบางตัว เช่น Aave และ Uniswap ได้รับการตรวจสอบโดยอิสระหลายสิบครั้ง ในขณะที่บางโปรโตคอลยังคงไม่ได้รับการตรวจสอบแต่อย่างใด มีโปรเจกต์คริปโตจำนวนมากทำให้ซอร์สโค้ดของตนพร้อมใช้งาน ดังนั้นผู้เขียนโค้ดทั่วโลกจึงสามารถประเมินโค้ดได้ อย่างไรก็ตาม จุดบกพร่องยังคงเกิดขึ้นได้อยู่ และโปรเจกต์ขนาดเล็กก็สามารถดำเนินการได้โดยไม่มีใครสังเกต โปรดศึกษาแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจอย่างรอบคอบก่อนที่จะเชื่อมต่อกับ Crypto Wallet ของคุณ

ข้อบังคับและประเด็นทางกฎหมายของ Ethereum คืออะไร?


การซื้อ ขาย และเป็นเจ้าของ ETH นั้นถูกกฎหมายในประเทศส่วนใหญ่ รวมถึงตลาดหลักๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความไม่แน่นอนด้านข้อบังคับในบางประเด็น รวมถึงการ Staking และโดยเฉพาะกับ DeFi

หน่วยงานกำกับดูแลเช่น ก.ล.ต กำลังให้ความสนใจใน Decentralized Exchange เป็นพิเศษ ซึ่งขณะนี้ไม่ได้รับการควบคุม อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของชุมชนเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าเป็นการยากที่ทาง  ก.ล.ต. จะมองว่าควรติดตามใครเป็นพิเศษหรือจะปรับใช้ข้อบังคับอย่างไร

โดยทั่วไป เหรียญคริปโตจะแบ่งออกเป็นสามประเภทที่เกี่ยวข้องกับโอกาสที่จะถูกรัฐบาลแบนหรือข้อบังคับ

  • ปลอดภัยที่สุด: Bitcoin ด้วยการเปิดตัวอย่างยุติธรรมและรูปแบบการกระจายอำนาจ นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่า Bitcoin อยู่ในประเภทที่ปลอดภัยที่สุด ส่วนโปรเจกต์ที่เปิดตัวที่ยุติธรรมอื่นๆ (ไม่มีพรีเซลล์) อาจจัดอยู่ในประเภทนี้เช่นกัน
  • ปลอดภัยยิ่งขึ้น: Ethereum ซึ่งมีพรีเซลล์ อย่างไรก็ตาม ความเห็นจาก ก.ล.ต. แสดงให้เห็นว่าทางหน่วยงานมองว่าโปรเจกต์ดังกล่าวมีการกระจายอำนาจที่เพียงพอแล้ว
  • ไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร: โปรเจกต์ขนาดเล็กอาจเป็นเป้าหมายต่อผู้กำกับดูแลที่มีเงินหนาและเจ้าหน้าที่ทางกฎหมายได้ง่าย รวมถึงโปรเจกต์ LBRY (ซึ่งถูกฟ้องร้องโดย ก.ล.ต. และตอนนี้หมดอายุความแล้ว) หรือ Tornado Cash ซึ่ง US DOJ ฟ้องผู้พัฒนาโปรเจกต์ว่ามีการฟอกเงิน แต่ยังไม่มีการขึ้นชั้นศาล

ในฐานะอุตสาหกรรมใหม่ เหรียญคริปโตยังมีจุดบกพร่องอื่นๆ เพิ่มเข้ามามากขึ้น รวมถึงะประเด็นทางกฎหมายมากมายที่ยังไม่ขึ้นศาล สำหรับนักลงทุน สิ่งนี้นำมาซึ่งความเสี่ยงเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนอาจส่งผลให้เหรียญมีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและมีความชัดเจนมากขึ้นได้เช่นกัน

การประเมิน Ether ในฐานะการลงทุนที่ดี


นักลงทุน ETH ในช่วงแรกๆ ได้รับผลตอบแทนมหาศาล โดย ETH มีราคาเพิ่มขึ้นจากต่ำกว่าหนึ่งดอลลาร์หลังเปิดตัว กลายเป็นเกือบ 5,000 ดอลลาร์เมื่อปี 2021 อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ผลกำไรแบบเดียวกันในอนาคตอาจเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากราคา Ether ก็มีความผันผวนเช่นกัน ในขณะที่เขียนบทความนี้ ETH มีมูลค่าลดลงเกือบ 60% จากระดับ All Time High

มีความเป็นไปได้ว่าโปรเจกต์ Ethereum อยู่ในตำแหน่งที่ดีขึ้นมากในตอนนี้มากกว่าเมื่อทำจุดสูงสุดตลอดกาล ด้วยการผสานรวมอย่างปลอดภัย การปรับปรุงที่เพิ่มขึ้นสามารถช่วยให้โครงการบรรลุศักยภาพสูงสุดและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการปรับขนาดได้

เครือข่ายยังคงทำงานอยู่ และชุมชนก็กำลังเติบโต Total Value Lock (TVL) ซึ่งเป็นการวัดเงินทุนที่ถูกล็อคไว้ในสัญญาอัจฉริยะบนเครือข่าย ยังคงต่ำกว่าระดับปี 2021 ถึง 2022 มาก

ที่มา: defillama.com

อย่างไรก็ตาม TVL ก็เริ่มทรงตัวและเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยมีเหตุผลมากมายที่ ETH จะมีแนวโน้มที่ดีในอนาคต แต่ก็มีเหตุผลอีกหลายข้อที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน

  • ในแง่ดี นักลงทุนรายใหญ่อย่าง BlackRock และ GrayScale ต่างกำลังพยายามนำ Spot ETH ETF ออกสู่ตลาด ในระยะยาว ความต้องการที่เพิ่มขึ้นจะมีปัจจัยที่จะหนุนราคาให้เพิ่มขึ้นเมื่ออุปทานมีจำกัด
  • ในทางกลับกัน ความไม่แน่นอนด้านข้อบังคับอาจทำให้ราคา ETH ต่ำลงได้ นอกจากนี้ เครือข่ายสัญญาอัจฉริยะใหม่ๆ เช่น Tron, Solana, Polygon, Avalanche, และ Sui อาจเข้ามาแทนตลาด Ethereum บางส่วน ซึ่งทำให้ ETH น่าลงทุนน้อยลงนั่นเอง

ข้อดี ข้อเสีย ของ Ethereum ในด้านการลงทุน


มาเจาะลึกข้อดี ข้อเสีย ของ Ethereum ในเดือนมีนาคม 2024 กันบ้าง:

ข้อดี
  • การเติบโตของระบบนิเวศอย่างต่อเนื่องช่วยกระตุ้นให้ ETH เป็นที่ต้องการ
  • ETF อาจทำให้เกิดความชัดเจนด้านข้อบังคับมากขึ้น
  • รางวัล Staking ให้ผลตอบแทนที่พิสูจน์แล้วว่าทำกำไรได้
  • การลงทุนใน ETH จะช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ตได้
ข้อเสีย
  • ความผันผวนอาจทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
  • ค่าธรรมเนียมที่สูงอาจส่งผลต่อการใช้งาน ทำให้เหรียญเป็นที่ต้องการน้อยลง
  • เครือข่ายใหม่อย่าง Solana รองรับธุรกรรมที่รวดเร็วกว่าด้วยราคาที่ถูกกว่า

ความเสี่ยงและความท้าทายของ Ethereum


แม้จะเป็นหนึ่งในเครือข่าย Blockchain ที่ได้รับการยอมรับ แต่เส้นทางในอนาคตของ Ethereum ก็ยังคงไม่แน่นอน ความท้าทายบางข้อของ Ethereum มาจากแรงผลักดันภายนอก เช่น หน่วยงานกำกับดูแล ส่วนความท้าทายอื่นๆ ก็มาจากโครงสร้างของตัวเครือข่ายเอง

  • จำนวนผู้ตรวจสอบของ Ethereum อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพ จำนวนผู้ตรวจสอบบนเครือข่าย Ethereum เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เปลี่ยนไปใช้กลไก Proof of Stake ซึ่งบนเครือข่ายทดสอบ Ethereum ผู้ตรวจสอบที่เยอะเกินไปได้ทำให้ประสิทธิภาพเครือข่ายลดลง
  • ค่าทำธุรกรรมยังคงสูง ต้นทุนการทำธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเครือข่ายแออัดหรือเมื่อราคา ETH พุ่งสูงขึ้น ทำให้ Ethereum ไม่สามารถใช้งานได้สำหรับธุรกรรมขนาดเล็กหลายๆ รายการ ซึ่งในอนาคต โซลูชั่นสำหรับแก้ปัญหาการขยายเครือข่าย เช่น Danksharding และ Rollups จะสามารถช่วยเพิ่มปริมาณงานและลดค่าแก๊สลงได้
  • Ethereum ยังทำงานได้ช้า อย่างเต็มที่ เครือข่าย Ethereum รองรับธุรกรรม 20 ถึง 30 รายการต่อวินาที ซึ่งเทียบไม่ติดกับ Tron (2,000 ธุรกรรม), Avalanche (4,500 ธุรกรรม) และ Solana (สูงถึง 65,000 ธุรกรรม) เครือข่ายแบบ Layer 2 เช่น Arbitrum ทำให้ผู้ใช้ทำธุรกรรมได้เร็วขึ้น แต่อาจไม่มีสภาพคล่องในระดับเดียวกันและมี dApp แบบเดียวกันกับใน Ethereum Mainne
  • ความผันผวนของราคาอาจทำให้นักลงทุนทั่วไปเข้าถึงได้ยาก Ethereum ETF ที่กำลังจะเปิดตัวและการรับรู้ที่เพิ่มขึ้นอาจนำมาซึ่งความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบัน อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของราคาอาจทำให้อุปสงค์ลดลงไป

การใช้ Ether ในการปฏิบัติ


การซื้อขายและการใช้ Ether จะมาพร้อมกับช่วงการเรียนรู้เล็กๆ น้อยๆ แต่กลยุทธ์หลายอย่างในการใช้ ETH อย่างปลอดภัยก็เหมือนกันกับแนวทางการเงินแบบดั้งเดิม

  • ใช้รหัสผ่านที่รัดกุม โดยเฉพาะในกระดานแลกเปลี่ยน โปรดใช้รหัสผ่านที่รัดกุมและไม่ซ้ำกันเพื่อป้องกันการเข้าถึงบัญชีของคุณ นอกจากนี้ โปรดใช้งานระบบยืนยันตัวตนสองชั้นที่ต้องได้รับการอนุมัติจากอุปกรณ์ที่คุณครอบครอง
  • ปกป้องคีย์ส่วนตัวของคุณ คีย์ส่วนตัวของ Crypto Wallet ของคุณครอบครอง ETH และทรัพย์สินอื่นๆ บน Blockchain ห้ามแบ่งปันคีย์ของคุณหรือบันทึกวลีกู้คืนของคุณไว้บนคอมพิวเตอร์ (หรือในบริการคลาวด์) เป็นอันขาด
  • พิจารณาใช้งาน Hardware Wallet Cold Wallet สร้างและจัดเก็บคีย์ส่วนตัวของคุณไว้แบบออฟไลน์ พร้อมให้การปกป้องสูงสุด
  • หลีกเลี่ยงลิงก์ที่น่าสงสัย มีเว็บปลอม ไซต์แอบอ้าง และแอพหลอกมากมายในตลาด โปรดใช้ความระมัดระวังและไปที่เว็บไซต์โดยตรงโดยพิมพ์ที่อยู่ที่ถูกต้อง แทนที่จะเชื่อถือลิงก์ที่คุณพบบนกระดานสนทนา โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรืออีเมล
  • ศึกษาโปรโตคอลก่อนเชื่อมต่อกับ Crypto Wallet หากคุณกำลังพิจารณาใช้แอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ โปรดศึกษารายงานการตรวจสอบและการแฮ็กร่วมด้วย
    โปรดหาความรู้ในด้านวิธีการทำงานของโปรโตคอล DeFi นำความเป็นอิสระมาสู่ผู้ใช้มากขึ้น แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงเช่นกัน แอพปล่อยสินเชื่อและกระดานแลกเปลี่ยนแบบถาวรอาจนำเหรียญที่คุณถือไปชำระบัญชีในบางกรณี Decentralized Exchange ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนได้ง่าย แต่เมื่อปริมาณการซื้อขายของคุณเพิ่มขึ้นในการเทรดใดๆ ราคาของเหรียญในกระดานเทรดอาจแพงขึ้น

อนาคตของ​ Ethereum


ในฐานะเครือข่ายสัญญาอัจฉริยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก อนาคตของ Ethereum ก็ดูว่าจะมีแนวโน้มที่ดี​โดย Ethereum 2.0 ได้วางรากฐานสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในอนาคต รวมถึงกลยุทธ์ Sharding และการสนับสนุนที่ดีขึ้นสำหรับกลไก Rollups ซึ่งเป็นวิธีการประมวลผลธุรกรรมบน EVM ที่แยกจากกัน จากนั้นจึงส่งธุรกรรมที่ถูกสรุปไปยัง Ethereum Mainnet

การยอมรับยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของ ETH ในอนาคต เครือข่ายใหม่ๆ สามารถทำธุรกรรมได้เร็วและถูกกว่า แต่ก็อาจมีความน่าเชื่อถือที่น้อยลง ในขณะที่การพัฒนา Ethereum ยังคงดำเนินต่อไป ความท้าทายด้านค่าธรรมเนียมและความเร็วในการทำธุรกรรมของ Blockchain มากมายก็อาจได้รับการแก้ไขในอนาคต

ราคาของ Ether สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์เมื่อเทียบกับอุปทานในปัจจุบัน แต่ยังแสดงให้เห็นถึงอนาคตของเหรียญด้วยเช่นกัน ในช่วงที่ตลาดยังเป็นขาลง หลายคนคาดการณ์ว่าราคาของ ETH จะต่ำกว่า 500 ดอลลาร์ แต่ตลาดก็ดีดตัวก่อนที่ราคาเหรียญจะตกลงถึงระดับดังกล่าว

ปัจจุบัน ETH ซื้อขายต่ำกว่าระดับ All Time High เกือบ 60% แต่บางคนคาดการณ์ว่าราคาจะสูงขึ้นอีกมากในปีต่อๆ ไป โดยบางส่วนประมาณว่า ETH จะมีราคาเกือบ 30,000 ดอลลาร์ก่อนปี 2030

บทสรุปส่งท้าย: Ethereum คือเหรียญที่เหมาะกับคุณหรือไม่?


Ethereum ยังคงเป็นหนึ่งในเหรียญคริปโตที่มีศักยภาพมากที่สุดสำหรับนักลงทุน อย่างไรก็ตาม การลงทุนในเหรียญคริปโตก็นำมาซึ่งความเสี่ยงที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุนแบบดั้งเดิม

การเปลี่ยนเป็น Ethereum 2.0 จะช่วยลดสินทรัพย์ที่ครั้งหนึ่งเคยเงินเฟ้อเกินไป โดยสร้างสมดุลให้กับ Ether ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นรางวัล Staking พร้อมกลยุทธ์การเผาค่าธรรมเนียมทิ้งไป ความต้องการของเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอุปทานที่จะลดลงเล็กน้อยเมื่อเวลาผ่านไป ETH น่าสนใจยิ่งมากขึ้นทั้งในด้านการลงทุนและการเป็นตัวเก็บมูลค่า

อัตราผลตอบแทนจากการ Staking ที่ยั่งยืนทำให้ Ethereum มีความโดดเด่นเมื่อเทียบกับการลงทุนในเหรียญคริปโตสกุลอื่นที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนมาตั้งแต่แรก สำหรับนักลงทุนบางคน อัตราผลตอบแทนจากการ Staking คือการได้รับผลตอบแทนจากการรอคอย ซึ่งคล้ายกับหุ้นปันผล

อย่างไรก็ตาม Ethereum ก็ไม่ได้เหมาะสำหรับนักลงทุนทุกคน ความผันผวนของราคาและแม้แต่ความเสี่ยงท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านข้อบังคับอาจทำให้ Ethereum และเหรียญคริปโตอื่นๆ มีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนแบบดั้งเดิม โปรดพิจารณาความเสี่ยงควบคู่ไปกับผลตอบแทนเสมอ และอย่าลงทุนเกินกว่าที่ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

อ้างอิง