รวมศัพท์คริปโตใช้บ่อย สำหรับนักลงทุนมือใหม่!    

ภาคภูมิ เกิดปราบ
| 27 min read

ศัพท์คริปโต

โลกคริปโตนั้นมีภาษาเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นคลังคำศัพท์เกี่ยวกับคริปโต ศัพท์แสง คำสแลง และคำย่อที่อาจทำให้หัวข้อเกี่ยวกับคริปโตเข้าใจได้ยากขึ้น หากคุณยังเป็นมือใหม่ในวงการคริปโต คำศัพท์เกี่ยวกับเหรียญคริปโต เช่น HODL และ FUD ก็อาจจะทำให้ยิ่งสับสนอย่างเห็นได้ชัด

เราได้รวบรวมคำศัพท์เพื่ออธิบายศัพท์คริปโตที่ต้องรู้ โดยจะอธิบายคำจำกัดความของศัพท์เหล่านี้ในภาษาไทยที่เข้าใจได้ไม่ยาก

ศัพท์คริปโต


เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มเจาะลึกศัพท์คริปโตที่ต้องรู้และถูกใช้โดยเทรดเดอร์มากประสบการณ์และมือใหม่ในปี 2024 กันเลย:

All Time High / All Time Low

All Time High หมายถึงราคาสูงสุดที่เหรียญคริปโตเคยแตะ ส่วน All Time Low หมายถึงราคาต่ำสุด ทั้งสองคำยังมีให้เห็นในตลาดการลงทุนอื่นๆ เช่น หุ้น ดัชนี และสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยเช่นกัน

Altcoin

คำว่า Altcoin หมายถึงเหรียญคริปโตที่ไม่ใช่ Bitcoin โดยเหรียญเหล่านี้จะรวมถึงเหรียญที่เป็นที่รู้จัก เช่น Ethereum และเหรียญที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักนับพันสกุล

Atomic Swap

Atomic Swap ที่บางครั้งก็เรียกว่า Cross-Chain Atomic Swap ซึ่งเป็นธุรกรรมที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนโทเค็นจากคนละ Blockchain ในธุรกรรมเดียวและไม่ต้องใช้ตัวกลาง โดยคำว่า Atomic หมายถึงการทำงานทั้งหมดหรือไม่ทำเลย หรือธุรกรรมเสร็จจะเสร็จสมบูรณ์ – หรือมีผลกลับกัน กระบวนการนี้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ “Vault” ของสัญญาอัจฉริยะที่ทำงานบนเครือข่าย Blockchain เพื่อคุ้มครองการทำธุรกรรม

Bear Market

Bear Market หรือตลาดหมี ตลาดขาลงเกิดขึ้นเมื่อสินทรัพย์หรือกลุ่มสินทรัพย์มีมูลค่าลดลง 20% หรือมากกว่าและยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่คำว่า Bear Market ก็ถูกใช้บ่อยมากขึ้นเมื่อความเชื่อมั่นในตลาดลดลง และชุมชนนักลงทุนมองว่าจะถดถอยลงอีกในอนาคต แนวโน้มขาลลงยังเป็นตัวอย่างในการอธิบายถึงทัศนคติในแง่ลบของนักลงทุนอีกด้วย

Block

Block คือกล่องบัญชีสำหรับธุรกรรมหรือพูดง่ายๆ ก็คือกลุ่มของธุรกรรม ตัวอย่างเช่น Bitcoin Block 825,353 มีธุรกรรม 3,329 รายการ และบล็อคก่อนหน้ามีธุรกรรม 2,021 รายการ บล็อกเหล่านี้ รวมถึงก่อนหน้านี้ทั้งหมด เชื่อมต่อกันเพื่อสร้างเป็น Bitcoin Blockchain

Blockchain

Blockchain คือบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นวิธีการติดตามยอดคงเหลือและธุรกรรมบนเครือข่ายคริปโตโดยการเชื่อมโยง “บล็อก” ของธุรกรรมเข้าด้วยกัน เครือข่ายคริปโตใช้อัลกอริธึมการเข้ารหัสเพื่อสร้างค่า “แฮช” ซึ่งเป็นเลขฐานสิบหก (ตัวอักษรและตัวเลข) สำหรับแต่ละบล็อก แฮชดังกล่าวจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของบล็อกถัดไป ซึ่งเชื่อมต่อบล็อกต่างๆ เพื่อสร้าง (Block)chain

Block Reward

Block Reward คือเหรียญคริปโตที่ให้เป็นรางวัลแก่นักขุดหรือผู้ตรวจสอบที่เพิ่มบล็อกลงใน Blockchain ได้สำเร็จ รางวัลเหล่านี้อาจรวมถึงเหรียญคริปโตที่เพิ่งสร้างใหม่หรือค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ผู้ใช้เครือข่ายเป็นคนจ่าย ขึ้นอยู่กับโปรโตคอลของแต่ละ Blockchain

Bull Market

Bull อ่านว่าบูล แต่เมื่อพูดถึง Bull Market หรือตลาดกระทิงจะเป็นสถานการณ์ที่สินทรัพย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% และยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป เรียกว่า Bull Market หรือตลาดขาขึ้น คำนี้ยังสามารถใช้กับสินทรัพย์แต่ละรายการ แต่มักใช้ในบริบทของประเภทสินทรัพย์หรือส่วนในตลาดมากกว่า แนวโน้มขาขึ้นยังหมายถึงเมื่อนักลงทุนมองว่าราคาในอนาคตจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย

Cold Storage

Cold Storage เป็นศัพท์คริปโตที่หมายถึงวิธีการสร้างและจัดเก็บรหัสส่วนตัวไว้ใน Crypto Wallet โดยที่รหัสจะไม่ถูกเปิดเผยต่ออินเทอร์เน็ต อีกหนึ่งทางเลือกคือ Hot Wallet ซึ่งรหัสส่วนตัวจะถูกจัดเก็บไว้ในอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้

Consensus

ในบริบทของวงการคริปโต Consensus หรือฉันทามติหมายถึงข้อตกลงระหว่างโหนดเครือข่าย (คอมพิวเตอร์เฉพาะด้าน) เกี่ยวกับสถานะของ Blockchain และความถูกต้องของธุรกรรม เครือข่ายคริปโตใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้ทำตามฉันทามติ ตัวอย่างเช่น Bitcoin ใช้กลไกฉันทามติ Proof of Work (PoW) ส่วนเครือข่าย Ethereum ใช้ Proof of Stake (PoS) นั่นเอง

Cross-Chain

แต่ละ Blockchain คือบันทึกธุรกรรมบนเครือข่ายนั้นๆ โดย Cross-Chain หมายถึงธุรกรรมหรือการโต้ตอบระหว่าง Blockchain แต่ละเครือข่าย ตัวอย่างเช่น เครือข่าย Cosmos ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเปิดใช้งานการทำธุรกรรม Cross-Chain กับ Blockchain ที่เข้ากันได้

Cryptography

คริปโตได้ชื่อมาจากการเข้ารหัส ซึ่งเป็นวิธีการเข้ารหัสด้วยการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือ “เข้ารหัสเพื่อปกป้องข้อมูล” เพื่อให้ไม่สามารถถอดรหัสได้ง่ายๆ ตัวอย่างเช่น Bitcoin ใช้การเข้ารหัสประเภทหนึ่งที่เรียกว่า SHA-256 ซึ่งรับบล็อกหรือข้อมูลและแปลงเป็นค่า 256 บิต ซึ่งจะแสดงเป็นสายอักขระที่เป็นตัวอักษรยาว 64 ตัวที่เรียกว่าแฮช

Cryptocurrency Exchange

Cryptocurrency Exchange หรือกระดานเทรดคริปโตคือตลาดที่นักเทรดสามารถแลกเงินเฟียตเป็นเหรียญคริปโต หรือแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโตไปเป็นเหรียญสกุลอื่นก็ได้ กระดานแลกเปลี่ยนที่ดำเนินการโดยบริษัท เช่น Coinbase หรือ Binance เรียกว่า Centralized Exchange ซึ่งบางครั้งเรียกย่อๆ ว่า CEX

dApp

แอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจหรือ dApp หมายถึงแอพที่มักจะมีสัญญาอัจฉริยะหลายสัญญาที่ทำงานบนเครือข่าย Blockchain เนื่องจากไม่มีเจ้าของ ทีมผู้บริหาร หรือบอร์ดบริหาร dApp จึงถือเป็นการกระจายอำนาจ ตัวอย่างเช่น แอพกู้ยืมเหรียญอย่าง Aave ยอดนิยมที่ใช้การกำกับดูแลแบบกระจายอำนาจเพื่อให้ผู้ถือโทเค็น AAVE สามารถโหวตการเปลี่ยนแปลงของโปรโตคอลได้

Decentralized

สำหรับศัพท์คริปโต Decentralized หรือกระจายอำนาจหมายถึงแอพหรือเครือข่าย Blockchain ที่คอมมิวนิตี้ทำการตัดสินใจ และการตรวจสอบธุรกรรมไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มหรือบุคคลใดๆ การกระจายอำนาจอาจมีความหมายแตกต่างกันไปในตลาดคริปโต เพราะเป็นการประเมินถึงระดับมากกว่าคำตอบที่ถูกที่สุด ตัวอย่างเช่น มีผู้ขุดบิทคอยน์ประมาณหนึ่งล้านคนทั่วโลก แต่ BNB Chain ที่จะพึ่งผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุมัติ 21 รายแทน

Decentralized Autonomous Organization (DAO)

องค์กรอิสระแบบกระจายอำนาจ ซึ่งมักเรียกว่า DAO คือหน่วยงานที่ลงคะแนนเสียงซึ่งควบคุมโปรโตคอล ตัวอย่างเช่น เครือข่าย Arbitrum อยู่ภายใต้การควบคุมของ Arbitrum DAO โดยบุคคลหรือองค์กรที่ถือโทเค็นที่ใช้เพื่อกำกับดูแลอย่าง ARB จะสามารถเสนอการเปลี่ยนแปลงและโหวตข้อเสนอได้

Decentralized Exchange (DEX)

DEX หรือ Decentralized Exchange เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโตโดยไม่ต้องมีตัวกลาง DEX ส่วนใหญ่ใช้ระบบดูแลสภาพคล่อง (AMM) ซึ่งจะปรับราคาของโทเค็นใน Swap Pool ตามอุปทานและจำนวนเงินที่ถูกลบออกจากพูลโดยอัตโนมัติ ส่งผลให้ราคาเหรียญสูงกว่าราคาก่อนหน้า หากราคาใน Swap Pool แตกต่างกับตลาดนอกอย่างมีนัยสำคัญ ระบบจะเข้าควบคุมอีกด้านของการเทรด โดยใช้การเก็งกำไรเพื่อปรับราคา

DeFi

DeFi ย่อมาจาก Decentralized Finance ซึ่งหมายถึงแอพพลิเคชันที่ทำงานบนเครือข่าย Blockchain ที่สามารถจำลองฟังก์ชันการทำงานส่วนใหญ่ในการเงินแบบดั้งเดิม รวมถึงการกู้และการยืม เนื่องจากแอพเหล่านี้ทำงานบน Blockchain และไม่ต้องใช้ตัวกลาง จึงเรียกว่าการกระจายอำนาจ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแอพพลิเคชัน DeFi เป็นที่รู้จักจำนวนมากจะมีการกระจายอำนาจและมีคอมมิวนิตี้ขับเคลื่อน แต่บางแอพอาจยังคงถูกควบคุมโดยบุคคลหรือกลุ่มคนอยู่

Distributed Ledger Technology (DLT)

Distributed Ledger Technology หรือเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์คือถึงกลไกที่เป็นหัวใจของ Blockchain โดยจำลองบันทึกธุรกรรมบนคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สิบ ร้อย ถึงหลายพันเครื่องทั่วโลก เทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทคือบันทึกธุรกรรม โดยเครือข่าย Blockchain จะจำลองบัญชีแยกประเภทดังกล่าวบนคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องบนเครือข่ายที่เรียกว่าโหนด พร้อมกระจายบันทึกธุรกรรมแทนที่จะจัดเก็บบัญชีเอาไว้บนเซิร์ฟเวอร์กลาง

DYOR

DYOR ย่อมาจาก Do Your Own Research ซึ่งหมายถึงการศึกษาหาข้อมูลการลงทุนด้วยตัวเองโดยไม่ยึดถือคำพูดของใคร แต่ให้ศึกษาเหรียญคริปโตหรือโปรโตคอลเองและตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง

ERC-20

Ethereum Request for Comment 20 (ERC-20) หมายถึงมาตรฐานโทเค็นที่ได้รับอนุมัติให้เป็นโทเค็น Ethereum โทเค็นเหล่านี้สามารถทดแทนกันได้ ซึ่งหมายความว่าโทเค็นในกลุ่มเดียวกันสามารถใช้แทนกันได้กับโทเค็นอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้ ตัวอย่างเช่น โทเค็น Chainlink (LINK) แต่ละโทเค็นจะทำงานแบบเดียวกับอีกโทเค็นหนึ่ง คล้ายกับวิธีที่เงินดอลลาร์สามารถใช้แทนกันได้

ERC-721

Ethereum Request for Comment 721 (ERC-721) หมายถึงมาตรฐานโทเค็น Ethereum สำหรับ Non-Fungible Token (NFT) ซึ่งต่างจากโทเค็น ERC-20 ตรงที่โทเค็นเหล่านี้จะไม่สามารถใช้แทนกันได้และไม่สามารถแบ่งได้ NFT เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในด้านรูปภาพ เช่น คอลเล็กชัน Bored Apes NFT แต่ยังสามารถใช้แสดงความเป็นเจ้าของเหมือนกับเกือบทุกสินทรัพย์ได้อีกด้วย

EVM

EVM ย่อมาจาก Ethereum Virtual Machine ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมรันไทม์บนเครือข่าย Ethereum ที่ใช้ในการเขียนสัญญาอัจฉริยะ — เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนด้วยภาษา Solidity ที่ทำให้ Ethereum มีความสามารถในระดับสูง

Fiat

คำว่า Fiat หรือเฟียตแปลว่า “โดยกฎเกณฑ์” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน ซึ่งแปลว่า “ปล่อยให้เป็นไปเช่นนั้น” ในบริบทของศัพท์คริปโต เฟียตหมายถึงสกุลเงินที่ออกโดยรัฐบาล เช่น ดอลลาร์สหรัฐหรือปอนด์อังกฤษ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นเงินเนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศให้เป็นสกุลเงินที่เป็นทางการ

Fork

Fork เป็นคำศัพท์ในวงการ Blockchain ที่มักหมายถึงการคัดลอกโค้ดที่มีอยู่แล้วเพื่อสร้างเครือข่ายหรือโปรโตคอลคริปโตใหม่ ตัวอย่างเช่น Litecoin เป็น Fork ของ Bitcoin โดยมีการปรับเปลี่ยนบางอย่าง และ Seamless Protocol ก็เป็น Fork แอพกู้ยืมแบบกระจายอำนาจยอดนิยมของ Aave V3 คำนี้ยังสามารถใช้ในการแยกบน Blockchain เพื่อปรับเปลี่ยนหรือเนื่องจากความขัดแย้งภายในคอมมิวนิตี้ (หรือการโหวต)

ตัวอย่างเช่น Ethereum Blockchain ในปัจจุบันมาจาก Hard Fork ซึ่งเกิดจากการถกเถียงภายในคอมมิวนิตี้ หลังเกิดการแฮ็กองค์กร DAO ในปี 2016 คอมมิวนิตี้ส่วนใหญ่โหวตให้ Fork เชนที่ถูกแฮ็กเพื่อย้อนกลับไปก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ทำให้ยังมี Chain ดั้งเดิมในชื่อ Ethereum Classic นั่นเอง

FOMO

Fear of Missing Out (FOMO) หรือกลัวพลาดหมายถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นว่าคุณอาจพลาดโอกาสลงทุน ในบริบทของศัพท์คริปโต เป็นเรื่องปกติที่จะมีการซื้อเพิ่มขึ้นมาเพื่อตอบสนองเมื่อตลาดเป็นขาขึ้น เนื่องจากนักลงทุนกลัวที่จะพลาดการเคลื่อนไหวของราคาครั้งใหญ่ครั้งต่อไป

FUD

Fear, Uncertainty, and Doubt (FUD) หรือความหวาดกลัว ความไม่แน่นอน ความสงสัยอาจทำให้ข้อกังวลในเหรียญคริปโต องค์กร หรือโปรโตคอลได้ คำนี้มักถูกใช้โดยเจตนา และยังพบได้ในบริบทอื่น เช่นการบิดเบือนความคิดเห็นที่อาจสร้างความได้เปรียบให้กับคนกลุ่มหนึ่ง FUD สามารถใช้เป็นเครื่องมือบิดเบือนหรือเป็นวิธีการตั้งข้อสงสัยในตัวเลือกอื่นๆ เพื่อทำให้เหรียญที่ตนซื้อดูดีกว่า

Fundamental Analysis

Fundamental Analysis หรือการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานเป็นวิธีการวัดมูลค่าของเหรียญคริปโต แต่การวิเคราะห์พื้นฐานในเหรียญเหล่านี้ก็มีข้อแตกต่างจากสินทรัพย์แบบดั้งเดิม เช่น หุ้นและกระแสเงินซึ่งหนี้ผลกำไรมีบทบาทสำคัญ ตัวชี้วัดที่พิจารณาโดยทั่วไป ได้แก่ อัตราการยอมรับ รายได้ อุปสงค์และอุปทาน อัตราผลตอบแทนปัจจุบัน และวิธีเปรียบเทียบสินทรัพย์กับโปรเจกต์ที่เหมือนกัน

Gas

คำว่า Gas หรือค่าแก๊สก็คือ “เชื้อเพลิง” ที่ใช้เป็นพลังคำนวณในการเขียนสัญญาอัจฉริยะหรือการโอนบน Ethereum อย่างไรก็ตาม คำนี้ยังถูกใช้กับ Blockchain อื่นเช่น Cosmos Hub ซึ่งบนเครือข่าย Ethereum จะต้องจ่ายค่าแก๊สด้วย Ether (ETH)

Gwei

Gwei ย่อมาจาก Giga Wei ซึ่งเป็นหน่วยเงินของ Ether บนเครือข่าย Ethereum หนึ่ง Gwei เท่ากับหนึ่งในพันล้านของหนึ่ง ETH ส่วน Wei เป็นหน่วยเงินที่เล็กที่สุดของ ETH โดยจะมีหนึ่งพันล้าน Wei ในหนึ่ง Gwei หลายๆ Crypto Wallet และโปรโตคอลยอดนิยมจะแสดงค่าแก๊สเป็น Gwei เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเครือข่ายกำลังยุ่งอยู่หรือไม่ ค่าแก๊สจะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ใช้แข่งขันกันเพื่อแย่งชิงพลังในการประมวลผลมากขึ้น ซึ่งมักจะส่งผลให้ต้องรอจนกว่าค่าแก๊สจะลดลง

Halving

โดยทั่วไปแล้ว Halving หมายถึงวัฏจักรสี่ปีของ Bitcoin ซึ่งอุปทานของบิทคอยน์ที่เพิ่งสร้างใหม่จะลดลงครึ่งหนึ่ง และจะยังคงลดอุปทานใหม่ลงครึ่งหนึ่งหลังจากทุกๆ 210,000 บล็อก จนถึงปี 2140 ซึ่งโปรโตคอลจะไม่สร้างเหรียญใหม่อีกต่อไป เหรียญคริปโตอื่นๆ ยังใช้วัฏจักร Bitcoin Halving รวมถึง Litecoin ส่วน Dogecoin ตอนแรกก็มีกำหนด Halving  เช่นกัน แม้ว่าภายหลังจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้มีอุปทานไม่จำกัดก็ตาม

Hash Rate

Hash Rate หมายถึงแรงขุดของเครือข่ายคริปโต อธิบายง่ายๆ ก็คือจำนวน “การเดา” ต่อวินาที อย่างไรก็ตาม แต่ละโหนดขุดก็มีแรงขุดเช่นกัน โปรโตคอล Proof of Work เช่น Bitcoin, Monero และ Kaspa เพิ่มบล็อกใหม่ผ่านการขุดเหรียญ ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างแฮชที่เข้ารหัสจนกว่านักขุดจะพบแฮชที่ถูกต้องเพื่อสะท้อนถึงส่วนหัวบล็อกและ Nonce ส่วนท้าย (หมายเลขที่ใช้เพียงหนึ่งครั้ง)

HODL

ในตอนแรกมาจากการสะกดคำว่า “Hold” ผิดโดยเจตนาซึ่งต่อมาก็ได้รับความนิยมในโซเชียล คำดังกล่าวถูกใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นเป็น “Hold On to Dear Life” ซึ่งมักใช้ในหมู่ผู้ถือ Bitcoin และเหรียญคริปโต หมายความว่าเหรียญจะมีมูลค่ามากขึ้นในอนาคต และไม่ควรขายในตอนนี้ ไม่ว่าราคาจะเคลื่อนไหวอย่างไร

ICO (Initial Coin Offering)

Initial Coin Offering (ICO) คือการระดมทุนเหรียญคริปโตหรือโทเค็นครั้งแรกสำหรับโปรเจกต์ที่เปิดตัว โดยแตกต่างจาก IPO ที่แม้จะมีชื่อคล้ายกัน ซึ่งเป็นการขายหุ้นสาธารณะครั้งแรกและสามารถเทรดได้ทันที แต่การระดมทุน ICO จะเกิดขึ้นก่อนที่เหรียญหรือโทเค็นจะเข้ากระดานแลกเปลี่ยน

KYC

KYC ย่อมาจาก Know Your Customer หรือ Know Your Client ซึ่งหมายถึงข้อบังคับที่กำหนดให้สถาบันการเงินต้องยืนยันตัวตนของลูกค้า ข้อกำหนด KYC และการป้องกันการฟอกเงิน (AML) กำหนดให้แพลตฟอร์มทางการเงินแบบรวมศูนย์อำนาจต้องเก็บบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่าย เช่น ใบขับขี่หรือหนังสือเดินทาง รวมถึงชื่อ หลักฐานแสดงที่อยู่ และหมายเลขประกันสังคม

Layer 2 Solution

เครือข่าย Layer 2 (L2) เช่น Arbitrum หรือ Base ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ หรือเพิ่มฟังก์ชันการทำงานให้กับเครือข่าย Layer 1 โดย Ethereum เป็นตัวอย่างของเครือข่าย Layer 1 หรือบางครั้งเรียกว่า Base Layer ส่วนเครือข่าย Layer 2 จะให้ผู้ใช้ทำธุรกรรมได้ โดยส่วนใหญ่จะเก็บค่าธรรมเนียมถูกและเร็วกว่า จากนั้นจึงส่งธุรกรรมกลับไปยัง Base Layer เพื่อความปลอดภัยในภายหลัง โดยมีคอนเซ็ปต์คล้ายกับการใช้ทางด่วนที่จะมาประจบกับถนนสายหลัก

Ledger

Ledger หรือบัญชีแยกประเภทคือบันทึกธุรกรรม เช่นเดียวกับใบแจ้งยอดจากธนาคาร เครือข่ายคริปโตจะใช้เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ซึ่งหมายความว่าข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หลายเครื่องและบันทึกธุรกรรมในทุกบัญชี วิธีนี้ช่วยป้องกันการใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน เนื่องจากบัญชีแยกประเภทจะถูกอัพเดตด้วยธุรกรรมใหม่

Liquidity

Liquidity หรือสภาพคล่องหมายถึงความสามารถในการทำธุรกรรมได้อย่างง่ายดาย ในบริบทของศัพท์คริปโต สภาพคล่องมักหมายถึงอุปทานหรือคำสั่งซื้อ ตัวอย่างเช่น คำสั่งจำกัดราคาคงที่ในกระดานเทรดคริปโตจะให้สภาพคล่องเพราะเปิดให้ซื้อขายซึ่งคนอื่นจะสามารถซื้อหรือขายได้ ใน Decentralized Exchange ผู้ใช้จะต้องเพิ่มโทเค็นลง “Liquidity Pool” เพื่อแลกเปลี่ยนเหรียญกับผู้ใช้รายอื่น

Limit Order

Limit Order หรือคำสั่งจำกัดคือคำสั่งเทรดที่มีราคาคงที่ซึ่งใช้ในกระดานแลกเปลี่ยน โดยเรียกอีกอย่างว่า Market Order เนื่องจากทำให้มีสภาพคล่องสำหรับเทรดเดอร์รายอื่น

Margin Trade

Margin Trade หรือมาร์จิ้นเทรดใช้ยอดคงเหลือที่มีอยู่เป็นหลักประกันในการยืมและทำการซื้อขายที่ใหญ่ขึ้น แม้ว่าจะเป็นเทคนิคที่ช่วยเพิ่มผลกำไรได้ เมื่อเลเวอเรจเพิ่มขึ้น โอกาสสูญเสียเงินลงทุนก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน หากทิศทางของตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับการเทรดของคุณ

Market Cap

ย่อมาจากมูลค่าตามราคาตลาด หมายถึงมูลค่ารวมของอุปทานหมุนเวียนของเหรียญหรือโทเค็นของโปรเจกต์นั้นๆ ตัวอย่างเช่น มูลค่าตลาดของบิทคอยน์ที่ 835 พันล้านดอลลาร์อ้างอิงมาจากอุปทานหมุนเวียนประมาณ 19.6 ล้านเหรียญ

Market Order

หรือที่รู้จักในชื่อ Taker Order เพราะจะเป็นการดึงสภาพคล่องออกจากกระดานแลกเปลี่ยน คำสั่งซื้อในตลาดจะใช้จำนวนเงินที่ใช้เทรดแทนการเทรดด้วยราคาคงที่ ซึ่งเป็นการซื้อหรือขายตาม (ราคาคงที่) คำสั่งจำกัดในรายการซื้อขาย

Mining

Mining หรือการขุดเหรียญหมายถึงกระบวนการสร้างบล็อกใหม่และตรวจสอบธุรกรรมในโปรโตคอลฉันทามติ Proof of Work ตัวอย่างเช่น ในการขุด Bitcoin คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะด้านพิเศษจะใช้พลังการคำนวณเพื่อคำนวณค่าแฮช ซึ่งเป็นค่าที่ถูกเข้ารหัส เมื่อนักขุดเจอแฮชที่ถูกต้อง ก็จะจะสามารถสร้างบล็อกถัดไปของธุรกรรมและรับรางวัลการขุดเป็นบิทคอยน์ได้

Mining Pool

Mining Pool หรือพูลการขุดจะใช้พลังการขุดของนักขุดเพื่อเพิ่มโอกาสในการรับรางวัล เมื่อมีการขุดเหรียญมากขึ้น โอกาสในการค้นหาบล็อกถัดไปก็จะลดน้อยลงเมื่อขุดเหรียญด้วยตนเอง โดย Mining Pool จะรวบรวมพลังการประมวลผล จากนั้นแจกจ่ายรางวัลการขุดตามพลังการขุดที่นักขุดแต่ละคนมีส่วนร่วม

Multisig (Multisignature)

Multisig หมายถึงธุรกรรมที่ต้องใช้ลายเซ็น Crypto Wallet สองตัวขึ้นไปจากที่อยู่ที่แตกต่างกัน โดย Multisignature Wallet จะเป็นที่นิยมมากที่สุด ซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดได้ว่า Wallet ใดที่สามารถอนุมัติธุรกรรมได้ พร้อมกับจำนวนลายเซ็นที่ต้องการ แม้ว่าจะยุ่งยากกว่า แต่ Wallet แบบนี้ก็ให้ความปลอดภัยมากกว่าและสามารถแบ่งการใช้ Wallet ได้อย่างปลอดภัย

NFT

NFT ย่อมาจาก Non-Fungible Token โดย Fungibility มีความหมายว่าสิ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ ตัวอย่างเช่น หนึ่งดอลลาร์จะเท่ากับอีกหนึ่งดอลลาร์ ทำให้ดอลลาร์สามารถทดแทนได้ Non-Fungible Token จะแตกต่างและไม่สามารถแบ่งได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ NFT จะมีลักษณะเหมือนและมีมูลค่าใกล้กัน ตัวอย่างเช่น ซีรีส์ NFT ซึ่ง NFT แต่ละรายการจะต่างกันตรงหมายเลขซีรีส์ ซึ่งอาจมีมูลค่าตลาดใกล้เคียงกัน

โดยทั่วไปแล้ว NFT จะมาในแบบรูปภาพ เช่น คอลเล็กชัน Pudgy Penguins NFT แต่ยังสามารถเป็นกลุ่มสินทรัพย์อื่นได้ รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลภายในเกมด้วย โดยโปรโตคอล DeFi จำนวนมาก เช่น Uniswap และ Aerodrome ใช้ NFT เพื่อแสดงให้เห็นว่าสถานะถูกซื้อไปมากเพียงใดบนโปรโตคอล

Network Fee

มักเรียกว่าค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมให้เสร็จสิ้นหรือใช้การทรัพยากรคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายคริปโต ตัวอย่างเช่น ในธุรกรรม Bitcoin ผู้ใช้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเครือข่าย (บางครั้งเรียกว่าค่าขุดสำหรับเครือข่าย Proo of Work) เพื่อส่ง Bitcoin จากที่อยู่ Wallet ไปอีกที่อยู่หนึ่ง บน Ethereum และบางเครือข่ายที่คล้ายกันสามารถเรียกว่าค่าแก๊สได้

Node

หากคุณสามารถวาดภาพเครือข่ายที่ใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันเป็นสายๆ แต่ละจุดบนเครือข่ายก็คือ Node หรือโหนดซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ ในบริบทของศัพท์คริปโต โหนดคือคอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกให้กับฉันทามติ บางโหนดมีสำเนา Blockchain ที่สมบูรณ์ และบางโหนดก็มีบัญชีแยกประเภทที่บันทึกข้อมูลไม่สำคัญ โดยเก็บเฉพาะธุรกรรมล่าสุดเท่านั้น

Nonce

Nonce ย่อมาจาก “หมายเลขที่ใช้เพียงครั้งเดียว” เป็นหัวใจสำคัญของ Blockchain ที่ใช้ฉันทามติ Proof of Work เช่น บิทคอยน์ โดย Nonce ถูกสร้างขึ้นแบบสุ่มและกลายเป็นส่วนหนึ่งของบล็อกแฮช (ค่าที่ถูกเข้ารหัส) นักขุดเหรียญจะต้องคาดเดาค่าแฮชของบล็อก ซึ่งรวมถึง Nonce ที่เป็นตัวแปรด้วย เมื่อขุดเหรียญสำเร็จและเครือข่ายเห็นด้วย นักขุดก็จะได้เพิ่มบล็อกหรือธุรกรรมถัดไปลงใน Blockchain

On-Chain Governance

On-chain Governance หรือการกำกับดูแลแบบ On-chain หมายถึงระบบการโหวตบน Blockchain แบบกระจายอำนาจเพื่อจัดการกับเชนหรือเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละ Blockchain เช่น Ethereum ที่ใช้ Ethereum Improvement Proposals (EIPs) ซึ่งผู้ถือ ETH สามารถเสนอและโหวตการเปลี่ยนแปลงภายในเครือข่ายได้ อย่างไรก็ตาม Bitcoin จะใช้ Bitcoin Improvement Proposals (BIPs) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ Bitcoin Core ที่แต่ละโหนดสามารถเลือกเปลี่ยนแปลงได้โดยการอัพเดตเวอร์ชัน Bitcoin Core ให้เป็นเวอร์ชันที่รองรับการเปลี่ยนแปลง

Oracles

Oracles คือศัพท์คริปโตที่หมายถึงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้จากภายนอก Blockchain ถูกจำกัดอยู่เพียงข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งก็คือธุรกรรมโดยทั่วไป เมื่อธุรกรรมต้องการข้อมูลจากแหล่งอื่น Oracle จะให้ข้อมูลเพื่อให้ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ตามข้อมูลนั้นๆ

Paper Wallet

Paper Wallet นั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป นี่คือ Crypto Wallet ที่วลีกู้คืนจะถูกจัดเก็บแบบออฟไลน์บนกระดาษ อย่างไรก็ตาม เครื่องมือหลายอย่างที่ใช้ในการสร้าง Paper Wallet จะต้องใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้ Cold Wallet (ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต) ถูกเปลี่ยนเป็น Hot Wallet (เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต)

Peer to Peer (P2P)

Peer to Peer หมายถึงธุรกรรมคริปโตที่เกิดขึ้นโดยไม่มีตัวกลาง เช่น กระดานแลกเปลี่ยน แพลตฟอร์มอย่าง Bisq นำเสนอวิธีในการซื้อบิทคอยน์ด้วยเหรียญหลักหรือเหรียญที่รองรับ เช่น ETH, LTC หรือ XMR ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก

Private Key

Crypto Walelt ใช้ Private Key หรือรหัสส่วนตัวและรหัสสาธารณะ ซึ่งรหัสแรกจะควบคุมทรัพย์สินที่เก็บไว้ในที่อยู่ Blockchain และอีกหนึ่งรหัสจะได้มาจากวลีกู้คืน ซึ่งเป็นชุดคำ (ปกติคือ 12 หรือ 24 ตำ) หมายความว่ารหัสส่วนตัว (และวลีการกู้คืน) ควรถูกเก็บเป็นความลับเอาไว้เสมอ เนื่องจากตัวรหัสจะอนุญาตให้ใครก็ตามส่งหรือใช้เหรียญคริปโตที่ได้

Proof of Stake

Proof of Stake (PoS) เป็นกลไกฉันทามติที่ใช้ในการตรวจสอบธุรกรรมบนเครือข่าย Blockchain ซึ่งบนเครือข่ายนี้ Node Operator และผู้ใช้จะต้องฝากเหรียญคริปโตไว้เป็นหลักประกันเพื่อป้องกันการทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยผู้ตรวจสอบแต่ละโหนด เมื่อผู้ตรวจสอบสร้างบล็อกใหม่ก็จะได้รับรางวัลบล็อก ในหลายๆ เครือข่าย ผู้ Stake จะได้รับส่วนแบ่งรางวัลจากการ Staking ตามสัดส่วนเหรียญที่ล็อคเอาไว้

Proof of Work

Proof of work (PoW) คือกลไกฉันทามติ ซึ่งใช้โดย Bitcoin, Litecoin และเหรียญคริปโตอื่น ๆ ที่กำหนดให้นักขุดต้องลงทุนในทรัพยากรคำนวณเพื่อแก้ Nonce (ตัวเลขที่ใช้เพียงครั้งเดียว) กระบวนการนี้อาจมีราคาสูง ทำให้แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกรรมที่เสร็จสมบูรณ์ไปแล้ว

Public Key

Public Key คือรหัสสาธารณะของ Crypto Wallet ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้ในการสร้างที่อยู่ Wallet โดยจะแสดงบน Blockchain แบบสาธารณะ ทั้งรหัสส่วนตัวและรหัสสาธารณะจะได้รับมาจากแหล่งเดียวกัน ซึ่งก็คือวลีกู้คืนหรือ Seed Phrase

Sats หรือ Satoshis

Satoshis หมายถึงหน่วยเงินที่เล็กที่สุดของ Bitcoin แต่ละ Bitcoin จะเท่ากับ 100 ล้าน Satoshi (Sats)

Scalability

สำหรับศัพท์คริปโต Scalability คือความสามารถในการขยายเครือข่ายด้วยความเร็วและราคาที่ถูกเมื่อเครือข่ายเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น คำนี้ยังทำหน้าที่เป็นคำใหญ่ของ “Scalability Solution” ซึ่งหมายถึงวิธีต่างๆ ในการเพิ่มปริมาณข้อมูลผ่านการปรับปรุงเครือข่าย Layer 1หรือใช้ Layer 2 ที่จะส่งธุรกรรมกลับไป Layer 1 เพื่อความปลอดภัย

SegWit

ย่อมาจาก Segregated Witness ซึ่งหมายถึง Bitcoin Soft Fork ที่ปรับปรุงด้านความเร็วและค่าธุรกรรมโดยการเพิ่มความจุของบล็อก SegWit ทำหน้าที่เป็นการอัพเกรดสำคัญเพื่อเพิ่มปริมาณข้อมูลของเครือข่ายและกำหนดกระบวนการสำหรับการอัพเกรด Taproot ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Soft Fork ที่ทำธุรกรรมเร็วขึ้นและมีฟีเจอร์เพิ่มเติม

SHA-256

SHA-256 (อัลกอริทึมแฮชเพื่อความปลอดภัย 256 บิต) เป็นฟังก์ชันแฮชที่เป็นหัวใจสำคัญของ Bitcoin, Bitcoin Cash, Bitcoin SV และ Blockchain อื่นๆ โดยตัวอัลกอริทึมจะรับอินพุตทุกขนาดแล้วแปลงเป็นค่าแฮชขนาด 256 บิต 64 อักษร

Sharding

เครือข่ายเช่น Cardano และ Polkadot ทำให้ Sharding เป็นที่นิยม ซึ่งเป็น Scaling Solution ที่แยก Blockchain หลักออกเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อถึงกันหรือ “Shard” กลยุทธ์นี้ช่วยให้ธุรกรรมสามารถประมวลผลไปแบบขนานก่อนที่จะถูกจัดเก็บไว้ในบัญชีแยกประเภทของ Blockchain หลัก

Smart Contract

Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนเครือข่าย Blockchain ซึ่งใช้งานครั้งแรกโดย Ethereum และทำให้สามารถทำธุรกรรมได้ตามเงื่อนไข พร้อมทำให้เกิดอุตสาหกรรมการเงินแบบกระจายอำนาจและ Decentralized Exchange

Solidity

Solidity เป็นภาษาโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการเขียนสัญญาอัจฉริยะบน Ethereum และเครือข่ายอื่นๆ ที่เข้ากันได้กับ EVM

Stablecoin

Stablecoin คือเหรียญคริปโตที่มีมูลค่าคงที่ตามสกุลเงินหรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ตัวอย่างเช่น USDT (Tether), USDC (US Dollar Coin) และ DAI ที่ยึดกับดอลลาร์สหรัฐ โทเค็นแต่ละสกุลใช้การสินทรัพย์ในการสนับสนุนมูลค่าที่ยึดไว้

Staking

Staking หมายถึงการล็อคเหรียญคริปโตไว้ในสัญญาอัจฉริยะเพื่อรองรับการตรวจสอบความถูกต้องบนเครือข่าย Proof of Stake เช่น Ethereum อย่างไรก็ตาม คำนี้ยังใช้เพื่อเชื่อมต่อกับโปรโตคอลต่างๆ มากกว่าเครือข่ายโดยรวม ตัวอย่างเช่น Aave ซึ่งเป็นโปรโตคอลกู้ยืมที่ได้รับความนิยม ที่รองรับ Staking เพื่อประกันการสูญเสียในกรณีที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การ Staking ทั่วไปจะให้ผลตอบแทนเป็นเหรียญคริปโต

TA หรือ Technical Analysis

Technical Analysis หรือการวิเคราะห์ทางเทคนิคหมายถึงการใช้กราฟตัวชี้วัดเพื่อคาดการณ์แนวโน้มของตลาดและการเคลื่อนไหวของราคาที่อาจเกิดขึ้น กระบวนการนี้รวมถึงการระบุระดับราคาแนวรับและแนวต้าน ไปจนถึงรูปแบบที่ใช้คาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคต

Testnet

Testnet เป็นแพลตฟอร์มการทดสอบที่ใช้โดยโปรเจกต์ Blockchain ใหม่ก่อนเปิดตัวบน Mainnet (เครือข่ายหลัก) หรือเพื่อทดสอบฟีเจอร์และการเปลี่ยนแปลงใหม่ก่อนที่จะปรับใช้กับ Mainnet

Token

Token หมายถึงสินทรัพย์ดิจิทัลที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของ โดยทั่วไปแล้ว คำนี้หมายถึงสินทรัพย์ที่อยู่บน Blockchain ที่รองรับมากกว่าสินทรัพย์หลักของ Blockchain (เหรียญ) ตัวอย่างเช่น โทเค็น Aave (AAVE) อยู่บนเครือข่ายตนเอง ซึ่งรวมถึง Ethereum Blockchain แม้ว่าโทเค็น Aave จะไม่มีส่วนช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของตัวเครือข่ายก็ตาม

Tokenization

Tokenization คือศัพท์คริปโตที่หมายถึงกระบวนการใช้เหรียญคริปโตเพื่อแสดงการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ในโลกจริง เพื่อให้สามารถใช้บน Blockchain ได้ ตัวอย่างเช่น อสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบโทเค็นจะทำให้อสังหาริมทรัพย์หรือกระแสเงินสดของสินทรัพย์กลายเป็นโทเค็นที่ซื้อขายได้ง่ายขึ้น

UTXO

UTXO ย่อมาจาก Unspent Transaction Output คือจำนวนเงินที่เหลือหลังจากทำธุรกรรมกับ Bitcoin หรือ Blockchain อื่นที่ใช้ UTXO หากคุณมีหนึ่งบิทคอยน์ที่มาจากการทำธุรกรรมครั้งเดียวและใช้ 0.5 บิทคอยน์เพื่อซื้อรถมือสอง 0.5 บิทคอยน์ที่เหลือจะกลายเป็นเงินทอนในรูปแบบของ UTXO

Validator

Validator หรือผู้ตรวจสอบคือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซอฟต์แวร์พิเศษเพื่อตรวจสอบธุรกรรมบนเครือข่าย Proof of Stake

Volatility

Volatility หรือความผันผวนหมายถึงระดับการเคลื่อนไหวของราคาเหรียญคริปโต ซึ่งส่วนใหญ่จะถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงเนื่องจากราคาสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อตลาดคริปโตเติบโตขึ้น ความผันผวนก็อาจลดลงเมื่อมีการซื้อขายในตลาดมากขึ้น

Wallet

Crypto Wallet คือแอพหรืออุปกรณ์ที่เก็บรหัสส่วนตัวที่ใช้ควบคุมเหรียญคริปโตบนที่อยู่ Blockchain ซึ่งแตกต่างจากกระเป๋าเงินจริงตรงที่ Crypto Wallet จะไม่เก็บเงิน แต่จะเก็บรหัสที่ใช้ควบคุมเงิน หรือก็คือเหรียญคริปโตนั่นเอง

Whale

Whale หรือวาฬหมายถึงบุคคลหรือองค์กรที่ควบคุมเหรียญคริปโตเป็นจำนวนมาก ซึ่งบ่อยครั้งวาฬคริปโตก็เพียงพอที่จะทำให้ตลาดผันผวนแกว่งตัวได้

White Paper

สำหรับศัพท์คริปโต White Paper มักจะเป็นก้าวแรกในการเปิดตัวเครือข่ายคริปโต โดยตัว White Paper จะอธิบายเครือข่าย ซึ่งมักเป็นปัญหาที่เครือข่ายมุ่งแก้ไข ไปจนถึงฟีเจอร์และกลไกต่างๆ

Wrapped Token

Wrapped Token หรือโทเค็นที่ตรึงมูลค่าไว้กับเหรียญอื่นคือการแสดงสินทรัพย์นอก Blockchain ตัวอย่างเช่น Wrapped Bitcoin (wBTC) จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงมูลค่าของ BTC ของตนบนเครือข่ายที่ไม่รองรับ BTC ตั้งแต่แรก เช่น Ethereum กระบวนการนี้จะล็อค BTC เพื่อสร้าง wBTC ในจำนวนที่เท่ากัน ซึ่งสามารถนำไปใช้กับเครือข่ายอื่นได้ กระดานแลกเปลี่ยนหลายแห่งยังรองรับการแลก BTC เป็น wBTC อีกด้วย

Pump and Dump

Pump and Dump คืออีกหนึ่งศัพท์สำหรับนักลงทุนมือใหม่ ซึ่งหมายถึงกลโกงในการดันราคาเหรียญแล้วทุบทีหลัง เพื่อทำกำไรจากการซื้อเหรียญในราคาที่ถูก แล้วขายเหรียญในราคาที่แพงกว่านั่นเอง