. 0 min read

QM Pattern คืออะไร? แนะนำในการเทรด ปี 2024

แพทเทิร์น Quasimodo Pattern หรือที่เรียกว่า QM Pattern คือรูปแบบการเทรดที่เน้นไปที่การหาจุดกลับตัวของราคา ซึ่งเป็น Pattern ที่ต่อยอดมาจาก Head and Shoulder โดยใช้ทฤษฎี Dow Theory ในการอ้างอิง ทั้งยังถือเป็นแพตเทิร์นยอดนิยมทั้งการเทรดสั้นและเทรดยาว

ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกกันว่า QM Pattern คืออะไร? และจะนำไปประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์อื่นๆ ได้อย่างไรบ้าง มาเริ่มกันเลย!

QM Pattern คืออะไร?


Quasimodo Pattern หรือ QM Pattern คือการเทรดที่เน้นไปที่การหาขุดกลับตัวของราคา ‘Reversal’ โดยจะแบ่งออกได้เป็นสองรูปแบบด้วยกัน ได้แก่ Bullish QM (การกลับตัวของราคาเป็นขาขึ้น) และ Bearish QM (การกลับตัวของราคาเป็นขาลง) โดยคอนเซ็ปต์ของแพทเทินกลับตัวที่ว่านี้เป็นการอ้างอิงมาจากทฤษฎี Dow Theory ซึ่งเริ่มต้นมาจากการวิเคราะห์แนวโน้มตลาดในปัจจุบัน

ซึ่งหากราคากลับตัวเป็นขาขึ้น ราคาจะต้องทำระดับ Higher High ให้ได้ และในทางกลับกัน ราคาจะต้องทำ Lower Low หากกลับตัวเป็นขาลงให้ได้ก่อน เพื่อเป็นการยืนยันแนวโน้มของราคานั่นเอง  โดยแพตเทินกราฟ QM จะรอให้ราคาปรับฐานให้มั่นคงก่อนเปิดสถานะในจุดแนวต้านและแนวรับเดิม

Head and Shoulder คืออะไร?


อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นว่า QM Pattern คือ Pattern ที่ต่อยอดมาจาก Head and Shoulder Pattern ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากขาขึ้นหรือขาลง และพร้อมเปิดสถานะที่แนวต้านหรือแนวรับของไหล่ซ้ายทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้ราคาทำ Higher High หรือ Lower Low

หมายความได้ว่าหน้าตาของแพตเทินกราฟทั้งสองแบบจะแตกต่างกันเล็กน้อย โดย Head and Shoulder จะมีไหล่ซ้ายและขวาเท่ากัน ส่วน QM Pattern จะต้องใช้เวลารอนานกว่าในการทำไหล่ขวานั่นเอง

หมายเหตุ: QM Pattern จะมีโอกาสทำกำไรได้มากกว่า เพราะมีการยืนยันราคาอีกครั้งหนึ่ง 

กลยุทธ์การเทรด 2 รูปแบบ


ตามที่อธิบายไปข้างต้น QM Pattern คือแพตเทินที่มี 2 รูปแบบการเทรดด้วยกัน ได้แก่ Bullish QM และ Bearish QM โดยเราจะอธิบายความแตกต่างของทั้งสองรูปแบบดังต่อไปนี้

Bullish QM Pattern

สำหรับวิธีการระบุแนวโน้มที่เป็นขาขึ้น ให้นักลงทุนสังเกตการเคลื่อนไหวของราคาตามขั้นตอนในรูปด้านล่าง

Bullish QM Pattern
ที่มารูป ForexBee
  • การก่อตัวของ Lower Low (LL) และ Higher High (HH)
  • ราคาสร้างจุดต่ำสุดใหม่สุดท้ายจะทำหน้าที่เป็นไหล่ซ้าย
  • การก่อตัว LL และ HH ไหล่ซ้ายเกิดขึ้นที่จุดต่ำสุด ราคาอาจพลิกเป็นขาขึ้นทำ HH ใหม่

การประยุกต์ใช้กับ Demand Zone และกลยุทธ์อื่น

หลังจากราคาสร้างจุดสูงสุดใหม่ (HH) ราคามีแนวโน้มย้อนกลับไปทดสอบแนวรับที่ระดับไหล่ซ้าย (Demand Zone) ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นจุดที่นักเทรดสามารถเข้าซื้อหรือเปิดสถานะ Long โดยคาดหวังว่าราคาจะกลับตัวเป็นขาขึ้นต่อไปได้ นักเทรดสามารถใช้ร่วมกับเทคนิคดังต่อไปนี้:

  • การใช้ RSI: โดยทั่วไปแล้ว ราคากับ RSI ควร Divergent กัน ณ จุด Low (L) หมายความว่าจุด L นั้นมีโอกาสเป็นแนวต้านไหล่ซ้ายที่เหมาะสมกว่า
  • การใช้ Fibonacci Retracement: หากแนวรับ Demand Zone อยู่ที่ระดับ 0.61 หรือ 0.78 พอดีก็จะยิ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าแนวรับมีความแข็งแกร่ง

Bearish QM Pattern

มาต่อกันที่วิธีการระบุแพทเทิร์นกลับตัว นักเทรดสามารถสังเกตการเคลื่อนไหวของราคาได้ตามรูปภาพต่อไปนี้

Bearish QM Pattern
ที่มารูป ForexBee
  • รูปแบบ HH และ LL บนกราฟบ่งบอกถึงแนวโน้มขาลง นักเทรดรอขายเมื่อราคาแตะแนวต้านไหล่ซ้าย
  • จุดสูงสุดทำหน้าที่เป็นไหล่ซ้าย แนวต้านสำคัญที่นักเทรดควรจับตามอง
  • คาดการณ์ว่าราคากลับตัวเป็นขาลงหลังทดสอบไหล่ซ้ายและทำ LL ต่อ

การประยุกต์ใช้กับ Supply Zone และกลยุทธ์อื่น

หลังจากที่ราคาทำจุดต่ำสุดใหม่ (LL) ราคาจะกลับไปที่ระดับแนวต้านไหล่ซ้าย (Supply Zone) ซึ่งเป็นจุดที่นักเทรดสามารถขายหรือเปิดสถานะ Short เอาไว้ได้ เพื่อคาดหวังว่าราคาจะกลับตัวเป็นขาลงต่อนักเทรดสามารถใช้กลยุทธ์อื่นร่วมด้วย เช่น:

  • การใช้ RSI: โดยทั่วไปแล้ว ราคาที่ทำ HH จะเกิด RSI Divergent กับจุด H ซึ่งหมายความว่าจุดดังกล่าวคือแนวค้านไหล่ซ้ายที่เหมาะสม
  • การใช้ Fibonacci Retracement: หากแนวรับอยู่ที่ระดับ 0.61 หรือ 0.78 ของ Fibonacci ยิ่งตอกย้ำว่าแนวรับดังกล่าวแข็งแกร่ง

หมายเหตุ: นักเทรดควรพิจารณาตั้ง Stop Loss ใต้จุด LL เดิมเพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือตั้งจุด Take Profit เพื่อทำกำไร โดยอิงตามกลยุทธ์ Moving Average หรือทฤษฎี Elliot Wave Theory เป็นต้น

อ้างอิง

บทสรุป


QM Pattern คือการเทรดตามแพทเทิร์นกลับตัวหรือ Reversal ทั้งยังเป็นแนวทางที่สามารถใช้ได้กับทั้งช่วงตลาดขาขึ้นและขาลงได้ เปิดโอกาสให้นักเทรดสามารถใช้งานเครื่องมือช่วยเทรดหรือตัวชี้วัดอื่นๆ หรือการดูรูปแบบกราฟต่างๆ และ Moving Average ร่วมด้วยได้ เพื่อช่วยในการยืนยันแนวโน้มของราคาเหรียญคริปโต เช่น  RSI, Fibonacci, และทฤษฎี Elliot Wave Theory