Rank #2
Ethereum

Ethereum

ETH
$3,083.61
-1.24% /24h

Ethereum currently traded at $3,083.61 price, we update this information in real time. Over the past 24 hours it changed from $3,122.33 to $3,083.61. Currently Ethereum is ranked as #2 in our chart. The total supply of Ethereum is 120,124,343.00

graph not available

Category

$Best of the best

Market cap

$370,416,732,748.00

Volume (24h)

$6,986,137,526.64

Volume/Market cap (24h)

1.89%

Circulating supply

120,124,343.00 ETH

Total supply

120,124,343.00 ETH

Max supply

0.00 ETH

Fully diluted market cap

$370,416,732,748.00
ETH to USD converter

ทุกคนที่ลงทุนในตลาดคริปโตต่างเคยได้ยินเรื่อง Ethereum (ETH) หรือ อีเธอเรียม มาบ้างแล้ว ไม่ว่าคุณจะเข้าใจว่านี่เป็นเหรียญคริปโตที่ใหญ่เป็นอันดับสองตามมูลค่าตลาด ตามหลังเพียง Bitcoin (BTC) เท่านั้น หรือจะเข้าใจว่าเป็นแพลตฟอร์มที่บริการแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจที่ใหญ่ที่สุดในโลก (dApp) ในคู่มือนี้ คุณจะพบทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ Ethereum วิธีการทำงาน ความเป็นมาของเหรียญ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ราคา Ethereum


ก่อนที่จะเริ่มเทรด คุณควรเตรียมความพร้อมสำหรับความผันผวนของราคาที่ไม่สามารถคาดเดาได้เสียก่อน ตามภาพประกอบ ลองพิจารณาว่าในปี 2017 ราคา ของเหรียญก็มีการเติบโต 1,400% ในเวลาเพียงแค่สามเดือน โดยมีมูลค่าตลาดถึง 7 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนธันวาคม 2017 ภายในไม่ถึงหนึ่งปี มูลค่าตลาดของ Ethereum ก็ลดลงเหลือประมาณ 28 พันล้านดอลลาร์

มีคาดการณ์ว่าข้อบังคับที่ได้รับการปรับปรุงและการได้รับการยอมรับของตลาดจะทำให้ตลาดมีความผันผวนน้อยลง ในระหว่างนี้ เทรดเดอร์ควรติดตามแนวโน้มอย่างใกล้ชิดและควรติดตามดัชนีราคา Ethereum แบบสดทุกวันที่มาพร้อมกราฟราคาที่ใช้อ้างอิงได้

แม้ว่าอีเธอเรียมจะมีความคล้ายคลึงกันแบบกลายๆ กับบิทคอยน์ แต่ก็ต่างกันเพราะถูกสร้างขึ้นจากเทคโนโลยี Blockchain สำหรับมือใหม่ จำนวนบิทคอยน์ที่จะถูกสร้างขึ้นถูกจำกัดไว้ที่ 21 ล้านเหรียญ ในขณะที่เหรียญ ETH สามารถสร้างได้อย่างไม่จำกัด อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี

Ethereum มีส่วนแบ่งของคู่แข่งในแพลตฟอร์ม Blockchain เช่นกัน แม้ว่าจะเป็นเหรียญที่เปิดตัวมานานและมีประสบการณ์ที่จะทำให้เทคโนโลยีของเหรียญเติบโตเต็มที่ที่สุดในตลาด แต่เหรียญอย่าง Zilliqa (ZIL), EOS (EOS), และ Neo (NEO) ก็เป็นคู่แข่งสำคัญของ Ethereum ซึ่งมีแผนที่จะพัฒนาจุดด้อย ซึ่งหลายๆ จุดได้รับการแก้ไขแล้วในการอัพเกรด Eth2 ในอนาคต

เช่นเดียวกับเหรียญคริปโตอื่นๆ ราคาของอีเธอเรียม  ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายข้อด้วยกัน ซึ่งมักเป็นเหตุการณ์ปัจจุบันในตลาด การเปลี่ยนแปลงด้านข้อบังคับ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกี่ยวกับเครือข่าย และอีกมากมาย การพิจารณาปัจจัยทั้งหมดนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่ก็ยังสามารถตัดสินใจได้ด้วยข้อมูลที่มีเช่นกัน หากต้องการติดตามข่าวสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ Ethereum โปรดตรวจสอบหน้าข่าวสาร Ethereum ของ Cryptonews อย่างสม่ำเสมอ

Ethereum คืออะไร?


Ethereum เป็นแพลตฟอร์ม Blockchain แบบโอเพ่นซอร์สที่ใช้เพื่อสร้างแอพพลิเคชันต่างๆ ตั้งแต่แอพธุรกิจและการเงิน (โดยเฉพาะการเงินแบบกระจายอำนาจหรือ DeFi) ไปจนถึงเกมและสื่อบันเทิง แพลตฟอร์มดังกล่าวขับเคลื่อนโดยเหรียญคริปโตของตัวเองที่เรียกว่า Ether ถูกย่อเป็น ETH นอกจากนี้ยังมีภาษาโปรแกรมของตัวเองที่เรียกว่า Solidity และเป็นระบบ Turing Complete  ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อให้ทำงานได้ตามต้องการให้เสร็จสิ้นด้วยคำสั่ง เวลา และทรัพยากรที่เพียงพอ

Ethereum ได้นำเสนอแนวคิดใหม่ในโลกคริปโตที่เพิ่งเปิดตัวอย่าง สัญญาอัจฉริยะ ซึ่งเป็นสัญญาที่ดำเนินการด้วยตนเองโดยมีเงื่อนไขของข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่ถูกเขียนลงในบรรทัดของโค้ดโดยตรง ซึ่งจะได้รับการดำเนินการบน Blockchain และไม่สามารถแก้ไขได้ สิ่งนี้จะขจัดความจำเป็นในเรื่องการไว้วางใจระหว่างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะทุกคนสามารถตรวจสอบเงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าวได้ และไม่มีทางที่จะเขียนอะไรแฝงลงไปในโค้ดได้โดยที่ผู้เข้าร่วมทุกคนมองไม่เห็น นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และนักวิทยาการเข้ารหัสลับ Nick Szabo อ้างอิงว่าตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติแบบดั้งเดิมถือเป็นรูปแบบพื้นฐานของสัญญาอัจฉริยะ: คุณเพียงใส่เงินตามจำนวนที่ต้องการ กดปุ่ม และรับขนม ไม่จำเป็นต้องให้พนักงานมอบขนมให้กับคุณ ทุกอย่างถูกเขียนโปรแกรมในเครื่องแล้วเรียบร้อย ซึ่งเป็นไอเดียที่เรียบง่ายอย่างมาก

การรวมกันของสัญญาอัจฉริยะและการทำงานของ Blockchain ซึ่งตามคำจำกัดความแล้ว เป็นการกระจายอำนาจ ไม่เปลี่ยนรูป และโปร่งใส ทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการจัดการข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูง โดยมีเรื่องการเงินเป็นสิ่งสำคัญ ตอนนี้หมายความว่าเป็นไปได้ที่จะทำให้อะไรต่างๆ เร็วขึ้น ถูกลง และมีความโปร่งใสมากกว่าเดิม ซึ่งนำไปสู่การเติบโตของการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) ทุกวันนี้ DeFi ก้าวไปไกลกว่า Ethereum ในฐานะแพลตฟอร์มพื้นฐาน แต่โปรเจ็กต์ส่วนใหญ่ยังคงใช้ Ethereum ในระดับหนึ่งเช่นกัน

เหรียญทำงานอย่างไร (ในตอนนี้)?


ใครก็ตามที่คุ้นชินในตลาดคริปโตมาระยะหนึ่งแล้วคงจะสังเกตเห็นการพูดคุยเกี่ยวกับการอัพเกรด Ethereum อยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม ณ จุดนี้ (ในเดือนสิงหาคม 2021) เหรียญยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นอยู่มาก นี่คือเหตุผลที่เราจะกล่าวถึงวิธีการทำงานของอีเธอเรียมในตอนนี้และการทำงานของเหรียญในอดีต ไปจนถึงการอัพเกรดตามแผนที่กำลังจะเกิดขึ้น ด้านล่างนี้ เราจะอธิบายเพิ่มเติมถึงสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และจะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของ Ethereum ได้อย่างไรบ้าง

แกนหลักของ Ethereum คือแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์บน Blockchain โดยเสนอแพลตฟอร์มสำหรับแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (dApp) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บริการโดยไม่ต้องให้ผู้ใช้เชื่อถือข้อมูลของตน เพราะทางแพลตฟอร์มได้ขจัดความจำเป็นในการใช้งานคนกลางด้วยการใช้สัญญาอัจฉริยะ โดยตั้งเป้าที่จะทำให้ใช้งานง่ายกว่าแอพทั่วไป

Ethereum ยังเป็นพื้นฐานสำหรับโปรเจกต์อีกมากมายที่ไม่มี Blockchain เป็นของตัวเอง ตัวอย่างเช่น โปรเจกต์ที่ต้องการเงินทุน จะสร้างต้นแบบของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายบนเครือข่าย Ethereum เพื่อขายโทเค็นเพื่อระดมทุน จากนั้นพวกเขาจะสามารถใช้เงินทุนเหล่านั้นเพื่อสร้างแพลตฟอร์มของตนเองด้วยโทเค็นหลักที่จะแลกเปลี่ยนเป็น Ethereum ได้ (ในกรณีส่วนใหญ่ สิ่งนี้เรียกว่าโทเค็น ERC-20) กระบวนการขายโทเค็นเหล่านี้เรียกว่า Initial Coin Offering หรือการระดมทุน ICO นั่นเอง

ส่วนสิ่งที่ขับเคลื่อนการทำงานของอีเธอเรียมก็คือ Blockchain ซึ่งประกอบด้วยบล็อกที่เชื่อมโยงกันด้วยโปรโตคอลการเข้ารหัสที่ซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนรูป มีความโปร่งใส และการกระจายอำนาจ บล็อกเหล่านี้จะถูกเพิ่มเข้าไปใน Blockchain ผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการขุดซึ่งต้องใช้ฮาร์ดแวร์พิเศษ (การ์ดจอคอมพิวเตอร์) ปัจจุบัน นักขุดคือผู้ที่รักษาเครือข่ายให้ปลอดภัยและมั่นคง เปิดให้มีการทำธุรกรรม และได้รับรางวัลจากการทำเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของแนวทางนี้ (หรือที่เรียกว่ากลไก Proof of Work) ก็คือต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งหมายความว่าจะใช้พลังงานมหาศาลและไม่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมกับปัญหาอื่นๆ มากมาย

Ethereum อีกส่วนหนึ่งประกอบด้วย Ethereum Virtual Machine (EVM) นี่คือส่วนที่ดำเนินการด้านกฎของเครือข่ายและตรวจสอบว่าสัญญาอัจฉริยะหรือธุรกรรมใดๆ เป็นไปตามกฎ สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการประมวลผล EVM คือสภาพแวดล้อมแบบรันไทม์สำหรับการทำธุรกรรมใน Ethereum มีการนำ EVM ไปใช้งานมากมาย แต่ทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่อธิบายไว้ใน Ethereum Yellowpaper ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดทางเทคนิคทั้งหมดของ Ethereum

Ether เป็นชื่อของสกุลเงิน ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำธุรกรรมและดำเนินการสัญญาอัจฉริยะ มักเรียกกันว่า “แก๊ส” ทุกสิ่งที่คุณทำบนเครือข่ายมีค่าใช้จ่ายเป็น Ether​จำนวนหนึ่ง—ทุกธุรกรรมที่คุณทำ ทุกสัญญาอัจฉริยะที่คุณใช้งาน ทั้งหมดจะต้องชำระด้วยเหรียญดังกล่าว ในขณะที่จำนวนเงินนั้นขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของสิ่งที่คุณต้องการทำ การจัดเก็บ Ether ทำได้ในบัญชี และมีสองประเภทด้วยกัน:

  • บัญชีสัญญา: สิ่งเหล่านี้เป็นของสัญญาอัจฉริยะ
  • บัญชีของเจ้าของที่อยู่ภายนอก (EOAs): ตามที่ชื่อบอกไว้ นี่เป็นอะไรที่พิเศษมากกว่า (สัญญาอัจฉริยะ) ภายในเครือข่าย ในกรณีนี้ นี่คือที่ที่ผู้ใช้จะได้จัดเก็บ Ether  ของตน

ในตอนนี้ Ethereum ค่อนข้างช้าและไร้ประสิทธิภาพ เพื่อให้เครือข่ายมีการกระจายอำนาจและลดความเสี่ยงที่จะเกิดจุดเดียวของความล้มเหลว โหนดนับพันทั่วโลกจึงรวบรวมและดำเนินการภายใต้โค้ดเดียวกัน ยิ่งมีคนใช้เครือข่ายมากเท่าไร ค่าแก๊สก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีการแข่งขันสูงและทุกคนต้องการให้ธุรกรรมหรือสัญญาอัจฉริยะของตนเองดำเนินการก่อนใคร แต่ปัญหาเหล่าก็นี้ได้รับการแก้ไขแล้วด้วย Ethereum 2.0 และเราจะกล่าวถึงเพิ่มเติมในภายหลัง

ประวัติอีเธอเรียม


Ethereum มีการเปิดตัวครั้งแรกในช่วงปลายปี 2013 โดย Vitalik Buterin ในเอกสาร Whitepaper เป้าหมายคือการสร้างแอพพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ โดยตัวเอกสารกล่าวว่าโดยรวมแล้ว Blockchain สามารถได้ประโยชน์จากการใช้งานที่มากกว่าแค่เงินเพียงอย่างเดียว และสิ่งที่จำเป็นคือภาษาสคริปต์ ซึ่ง Ethereum ถูกประกาศในเดือนมกราคม 2014 โดยมีผู้มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมมารวมตัวกันเพื่อหาว่า Ethereum จะกลายเป็นอย่างไรในอนาคต โปรดอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับพวกเขาในส่วนทีม Ethereum ของคู่มือนี้

การพัฒนาของทุกสิ่งเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม ตั้งแต่ Ethereum Virtual Machine ไปจนถึง Ethereum Foundation ได้รับทุนจากการระดมทุนทางออนไลน์ที่เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม 2014 ในช่วงเวลานี้ นักลงทุนจะสามารถซื้อ ETH ได้โดยใช้ Bitcoin

นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก Ethereum ก็ได้ผ่านการอัพเกรดโปรโตคอลตามแผนแล้วมากมาย สิ่งเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องบางส่วนของแพลตฟอร์ม เพิ่มฟังก์ชันการทำงานใหม่ๆ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนจากอัลกอริธึมฉันทามติปัจจุบันอย่าง Proof of Work (PoW) ไปเป็น Proof of Stake (PoS) 

การปรับใช้งานเครือข่าย Ethereum ครั้งแรกถูกเรียกว่า Frontier และเกิดขึ้นในปี 2015 ซึ่งตามมาด้วยความสำเร็จของ Olympic ในขั้นตอนการทดสอบ มันค่อนข้างเฉพาะกลุ่มอยู่มาก เพราะมันมีไว้สำหรับนักพัฒนาและผู้ใช้ทางเทคนิคอื่นๆ ไม่เหมือนกับในปัจจุบัน จุดประสงค์ในตอนนั้นคือเพื่อให้นักขุดสามารถเริ่มดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นเร่งรีบอะไรนัก ด้านการอัพเกรด Frontier Thawing Fork ก็ได้เปิดตัวการทำธุรกรรม ตามมาด้วย Homestead ในปี 2016 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลอยู่หลายครั้ง ในขณะที่เครือข่ายเองก็ได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อให้อัพเกรดเครือข่ายเพิ่มเติมได้นั่นเอง

หนึ่งในการอัพเกรด Hard Fork ที่รู้จักกันดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของ Ethereum คือ DAO Fork ในปี 2016 โดย DAO (ย่อมาจาก Decentralized Autonomous Organization) เปิดตัวหลังจากแคมเปญระดมทุน วัตถุประสงค์หลักคือการจัดหารูปแบบธุรกิจแบบกระจายอำนาจแบบใหม่สำหรับการจัดระเบียบองค์กรทั้งเชิงพาณิชย์และไม่แสวงหาผลกำไร ไม่มีโครงสร้างการจัดการหรือคณะกรรมการบริหาร และมีโค้ดเป็นแบบโอเพ่นซอร์ส อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้กลับใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในโค้ด DAO เพื่อดูดเงินหนึ่งในสามของ The DAO ไปยังบัญชีย่อย ซึ่งคิดเป็นมากกว่า 3.6 ล้าน Ether ซึ่งในขณะนั้นมีมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ เงินดังกล่าวไม่ได้สูญหายไปอย่างถาวร แต่ถูกใส่เข้าไปในบัญชีภายใต้ระยะเวลาการถือครอง 28 วันภายใต้เงื่อนไขของสัญญา Ethereum แต่ชุมชนกลับไม่เห็นด้วยในสิ่งที่ควรทำ ผู้ที่เชื่อว่าไม่มีใครควรมีอำนาจที่จะพลิกกลับเหตุการณ์ดังกล่าวได้ (เนื่องจากมันจะขัดแย้งกับสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นจิตวิญญาณของการกระจายอำนาจ) ปล่อยให้เงินสูญหายไปและรักษา Blockchain เดิมไว้ ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Ethereum Classic (ETC) ส่วนผู้ที่ต้องการย้อนรอยไปยังเหตุการณ์เดิมและรับเงินคืนก็สามารถทำได้ผ่านการอัพเกรด Hard Fork โดยย้ายเงินทุนใน The DAO ไปยังที่อยู่สำหรับการกู้คืน ซึ่งพวกสามารถแลกเปลี่ยนกลับไปยัง Ethereum โดยเจ้าของเดิมได้ การตัดสินใจเกิดขึ้นในแบบที่เป็นประชาธิปไตย: ผู้ถือ Ethereum ทุกคนได้รับอนุญาตให้โหวต และการตัดสินใจทำ Fork ก็มีคะแนนเสียงมากกว่า 85%

แม้การ Fork จะเปลี่ยน Ethereum จากจุดยืนก่อนหน้าไป แต่ก็ยังห่างไกลจากการทำ Fork ครั้งสุดท้ายอยู่ ในปีเดียวกันนั้น Tangerine Whistle Fork ถูกนำมาใช้เพื่อจัดการกับการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ (DoS) บนเครือข่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคมในปีเดียวกัน การตอบสนองครั้งที่สองต่อการโจมตีดังกล่าวคือ Spurious Dragon Fork

ในปี 2017 ก็มีการอัพเกรด Byzantium Fork เข้ามา ที่สำคัญคือ Fork ดังกล่าวลดรางวัลการขุดจาก 5 ETH เป็น 3 ETH และได้ชะลอการใช้งาน Difficulty Bomb ไปหนึ่งปี (จะอธิบายเพิ่มเติมในภายหลัง) โดยเป็นการหยุดชั่วคราวนานสองปีในระหว่างนั้นและ Constantinople ซึ่งเปิดตัว

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 เพื่อทำให้ Blockchain ไม่ถูกหยุดก่อนที่จะใช้อัลกอริธึม PoS ในปีเดียวกัน​ Istanbul ก็มีการปรับปรุงด้านอื่นๆ เช่น การปรับปรุงการขยายเครือข่าย การทำงานร่วมกันกับ Blockchain อื่นๆ และฟังก์ชันที่สร้างสรรค์มากขึ้นสำหรับสัญญา

มกราคม 2020 ได้มีการชะลอการใช้งาน Difficulty Bomb อีกครั้ง ในรูปแบบของ Muir Glacier Fork ในเดือนตุลาคม Staking Deposit Contract  ถูกรำมาใช้งาน ซึ่งกำหนดรากฐานที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่กลไก PoS และเปิดใช้งาน Beacon Chain ในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน โดย Beacon Chain คือก้าวแรกสู่ Eth2 นั่นเอง

ปี 2021 ก็มีการอัพเกรด Fork ที่สำคัญเช่นกัน: Berlin เปิดตัวในเดือนเมษายนและปรับค่าแก๊สให้เหมาะสมสำหรับการดำเนินการ EVM บางรูปแบบ รวมถึงเพิ่มการสนับสนุนสำหรับธุรกรรมหลายประเภท London เริ่มใช้งานจริงในเดือนสิงหาคม โดยเปลี่ยนแปลงตลาดค่าธรรมเนียมธุรกรรม พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการคืนค่าแก๊สและตาราง Ice Age โดยการ Fork ที่เตรียมเปิดตัวคือการอัพเกรด Altair บน Beacon Chain ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวในช่วงปี 2021 และจะรองรับ “Sync Committees” ซึ่งสามารถเปิดใช้งานไคลเอ็นต์ขนาดเล็กได้ และจะเพิ่มบทลงโทษสำหรับการไม่ใช้งานและกิจกรรมที่ทำให้เกิดความน่าสงสัยใน Blockchain อย่างจริงจัง

อนาคตของอีเธอเรียมได้รับการตัดสินใจแล้วเรียบร้อย: การเปลี่ยนจากกลไก PoW เป็น PoS หมายความว่าแพลตฟอร์มมีเป้าหมายที่จะมีความยั่งยืนมากขึ้นและจะดำเนินการต่อพัฒนาต่อในปีต่อๆ ไป การอัพเกรดที่จำเป็นสำหรับสิ่งนี้เรียกว่า Eth2, Ethereum 2.0 หรือ Serenity

Ethereum 2.0


ต่อไป เราจะพูดถึงภาพรวมของ Ethereum 2.0 สำหรับภาพรวมแบบละเอียด 

อนาคตของอีเธอเรียมอยู่ในอัลกอริทึมฉันทามติ Proof of Stake มาระยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อเครือข่ายใช้งานมานานหลายปีและมีผู้ใช้หลายล้านคน โดยมีโปรเจ็กต์และเหรียญคริปโตอื่นๆ บนเครือข่ายดังกล่าว และไม่สามารถยกเครื่องใหม่เป็นให้ทำงานต่างกันอย่างสิ้นเชิงได้ในชั่วข้ามคืน นี่คือเหตุผลว่าทำไมการอัพเกรด Ethereum 2.0 แบบใหม่ๆ จึงต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะปรับใช้และให้ทำงานได้สำเร็จ คาดว่าจะมอบความสามารถในการขยายเครือข่าย ความปลอดภัย และความยั่งยืนที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับเวอร์ชันปัจจุบัน โดยมีการอัพเกรดหลักสามอย่างด้วยกัน:

  • The Beacon Chain. ตามที่เราได้กล่าวไปแล้ว Beacon Chain เปิดตัวในเดือนธันวาคม 2020 โดยเปิดใช้งานระบบ Staking ให้เครือข่ายและปูทางไปสู่การอัพเกรดในอนาคต
  • The Merge. ก้าวต่อไปในเส้นทางสู่ Ethereum ใหม่ ซึ่งจะรวบรวมเครือข่ายที่มีอยู่ดั้งเดิมและ Beacon Chain เข้าด้วยกัน นำมาซึ่งการ Staking บน Mainnet และยุติการขุดเหรียญตลอดไป คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปี 2021 หรือ 2022
  • Shard Chains. เพื่อเพิ่มความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมและการจัดเก็บข้อมูล การอัพเกรดนี้ได้แสดงให้ถึงการแยกเครือข่าย Ethereum ที่จะเกิดขึ้นเป็นรอบๆ ซึ่งนี่น่าจะเกิดขึ้นในปี 2022

ผู้ใช้ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการเปิดตัว Ethereum 2.0 ก็สามารถทำได้ผ่านการ Stake เหรียญ ณ ขณะที่เขียน เพียงเปิดใช้งาน Launchpad (เว็บไซต์ Eth2 จะแนะนำตลอดจนจบกระบวนการ) และยืนยันที่อยู่การ Staking หากคุณมี ETH ก็จะได้รับผลตอบแทนเพิ่มสองเท่า: คุณจะได้รับ ETH มากขึ้นในขณะที่รักษาความปลอดภัยเครือข่ายไปพร้อมๆ กัน

คุณยังสามารถเรียกใช้ไคลเอนต์ ซึ่งจะทำให้คุณเป็นผู้มีส่วนร่วมใน Ethereum เพื่อติดตามธุรกรรมและตรวจสอบบล็อกใหม่ๆ มีไคลเอนต์มากมายให้เลือก และคุณสามารถเลือกได้ตามที่คุณต้องการ นอกจากนั้น คุณยังสามารถตามล่าหาข้อบกพร่องได้อีกด้วย นี่คือการทดสอบโดยชุมชน ซึ่งคุณได้รับการสนับสนุนให้ทดสอบการอัพเกรด Eth2 ก่อนที่จะเริ่มใช้งานจริง ค้นหาจุดบกพร่อง และรับรางวัล คุณสามารถสร้างรายได้สูงถึง 50,000 เหรียญดอลลาร์ได้ด้วยวิธีนี้ และมีกระดานผู้นำเพื่อให้ผู้ใช้นำมาอวดกันได้อีกด้วย

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด คุณยังสามารถมีส่วนร่วมในการวิจัยได้อีกด้วย ส่วนที่ดีของการวิจัยดังกล่าวคือการเป็นแบบสาธารณะ ดังนั้นคุณจึงสามารถอ่าน เข้าร่วมการสนทนา และอาจเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งอาจถูกมองข้ามได้นั่นเอง

Difficulty Bomb


เช่นเดียวกับอัลกอริธึมแบบ Proof of Work อีเธอเรียมนำเสนอปริศนาการเข้ารหัสลับสำหรับนักขุดที่พวกเขาต้องแก้ไขเพื่อสร้างบล็อกใหม่และรวบรวมเป็นรางวัล ความยากของปริศนาเหล่านี้ทำให้ผู้เล่นจำนวนมากเข้าร่วมได้ยาก เนื่องจากต้องใช้ค่าไฟฟ้าสูงเกินไป ในขณะที่ผู้ที่มีเหมืองขุดที่ดีและมีราคาแพงกว่าก็มีโอกาสที่จะได้รับผลกำไรมากกว่า ยิ่งปริศนายากขึ้น นักขุดก็จะเข้าร่วมน้อยลงนั่นเอง

นี่คือจุดที่ Difficulty Bomb เข้ามา เมื่อปริศนามีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมีผู้ขุดน้อยลงและมีความล่าช้าอย่างมากในการสร้างบล็อกบน Ethereum Blockchain ซึ่งจะทำให้การขุดเหรียญมีความน่าสนใจน้อยลงอย่างมาก และจุดเริ่มต้นของสถานการณ์นี้มักเรียกว่า Ice Age ของ Ethereum เวลานี้จะถูกนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายจากกลไก PoW ไปเป็น PoS ดังนั้นผู้คนจึงหันมาใช้กลไก Staking ให้เป็นอีกวิธีในการทำให้เครือข่ายทำงานต่อไปและรับรางวัลจากเครือข่าย หรือก็คือ Difficulty Bomb เป็นตัวยับยั้งนักขุดที่อาจเลือกใช้ PoW หลังจากที่เครือข่ายได้เปลี่ยนไปใช้ PoS แล้ว ซึ่งได้สร้าง Ethereum ออกเป็นสองเวอร์ชัน

ระดับความยากบน Ethereum Blockchain เริ่มเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2016 จากบล็อก 200,000 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ยังมีความล่าช้าอยู่บ้างในการชะลอการใช้งาน เนื่องจากไทม์ไลน์สำหรับการอัพเกรด Ethereum 2.0 มีการเปลี่ยนแปลงเข้ามา วันที่แน่นอนของ Difficulty Bomb​จะขึ้นอยู่กับแผนการพัฒนาเหล่านี้ แต่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปีหน้าหรือนับจากนี้โดยประมาณ (สิงหาคม 2021)

ทีมงานอีเธอเรียม


มีทั้งหมดแปดคนที่ถือเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum

คนแรกเลยก็คือ Vitalik Buterin ซึ่งค้นพบไอเดียนี้เมื่อเขาอายุ 19 ปีในเดือนพฤศจิกายน 2013 เขาได้สำรวจแวดวงคริปโตที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่เป็นเวลาสามปีก่อนที่จะสรุปไอเดียของตนใน Whitepaper โดยกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่เขาคิดว่าโปรเจกต์เช่น Bitcoin จะได้รับประโยชน์ เช่น ความสามารถในการตั้งโปรแกรม เขายังได้จัดทำ Bitcoin Magazine ในปี 2011 โดยร่วมกับ Mihai Alisie ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum อีกคน ซึ่งช่วยร่วมกันสร้างสตาร์ทอัพ เปิดบัญชีธนาคารสำหรับการพรีเซลล์ และจัดการกับประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเครือข่าย

Anthony Di Iorio พบกับ Buterin ในงานพบปะ Bitcoin เมื่อปี 2012 และเขาเป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรกๆ ที่ถูกขอให้เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ Ethereum ตัดสินใจเลือกเส้นทางที่ไม่แสวงหาผลกำไร Di Iorio ก็เลือกที่จะไม่ไปต่อ โดย Amir Chetrit  กำลังทำงานร่วมกับ Colored Coins สตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอล ซึ่งเป็นโครงการจัดการสินทรัพย์ในโลกจริงเป็นโทเค็นบนเครือข่าย Bitcoin ในขณะนั้น เขาได้พบกับ Buterin ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเดียวกันมาระยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม เขาก้าวออกจากตำแหน่งเนื่องจากขาดข้อมูลในการประชุมผู้ร่วมก่อตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน 2014 แต่ยังคงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอยู่

Charles Hoskinson ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับ Buterin และ Ethereum ผ่าน Di Iorio และได้รับแต่งตั้งให้เป็น CEO ในปี 2013 เขามีบทบาทสำคัญในการจัดตั้ง Swiss Foundation สำหรับตัวโปรเจกต์ เช่นเดียวกับกรอบทางกฎหมายของแพลตฟอร์ม แต่เขาก็ลาออกไปเนื่องจากทีมงานปฏิเสธที่จะเดินตามแนวทางเพื่อแสวงหาผลกำไร เขาสนับสนุน Ethereum Classic เมื่อเหรียญถูก Fork ออกไป และเริ่มสร้าง Cardano (ADA) ในปี 2016

Gavin Wood wfhพบกับผู้ร่วมก่อตั้งอีกห้าคนในการประกาศ Ethereum g,njvปี 2014 ระหว่างการประชุม Bitcoin ในไมอามี ในฐานะโปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์ เขาเสนอให้ Buterin เขียนโค้ดใช้งาน Ethereum ในภาษาโปรแกรม C++ เมื่อเครือข่ายทดสอบของเขาเริ่มทำงานแล้ว เขาก็ขอนั่งในตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น—ซึ่งถูกเลื่อนขั้นแล้ว แต่ถูกตอบโต้อยู่บ้าง ในเดือนเมษายน 2014 เขาได้เผยแพร่ Ethereum Yellowpaper และต่อมาได้เสนอ Solidity ซึ่งเป็นภาษาการโปรแกรมดั้งเดิมของแพลตฟอร์ม

Jeffrey Wilcke ได้ยินเกี่ยวกับ Ethereum ในขณะที่เขากำลังทำงานกับ Mastercoin ซึ่งเป็นการระดมทุน ICO แรก เขาตัดสินใจเขียนการใช้งานในภาษา Go ของ Google โดยไม่ได้ติดต่อกับ Buterin ในเรื่องนี้ เขาตั้งชื่อโปรเจกต์ว่า Go Ethereum ซึ่งต่อมาย่อเป็น Geth และยังคงใช้งานอยู่ เขาถูกเพิ่มเข้าไปในรายชื่อผู้ร่วมก่อตั้งพร้อมกับ Wood ความจริงที่ว่าการใช้งานที่ดูเหมือนจะเป็นการแข่งขันกันนั้น แท้จริงแล้วถือเป็นผลดีต่อตัวโปรเจ็กต์ เพราะรับประกันได้ว่าจะมีการสำรองข้อมูลอยู่เสมอที่อาจไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม DAO Hard Fork และเกิดการแฮ็กหลายครั้งทำให้ Wilcke ได้ส่งมอบ Geth ให้ Peter Szilagyi ดูแลแทน

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดคือผู้ร่วมก่อตั้งที่มีประสบการณ์มากที่สุดจะเป็นใครไปไม่ได้ถ้าไม่ใช่ Joseph Lubin ซึ่งประสบความสำเร็จในอาชีพการงานที่หลากหลายในด้านการเขียนโปรแกรม ธุรกิจ และการเงิน ก่อนที่จะได้ติดต่อกับ Di Iorio และ Buterin ในเวลาต่อมา Di Iorio และ Lubin ได้ให้ทุนสนับสนุนตัวโปรเจกต์เป็นส่วนใหญ่ และ Lubin ก็เป็นอีกหนึ่งเสียงที่เรียกร้องให้มีการแสวงหาผลกำไรในบริษัท ต่อมาเขาได้สร้าง ConsenSys ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มเปิดตัวสตาร์ทอัพ Blockchain อื่นๆ และยังทำงานอย่างหนักเพื่อให้ได้ Ethereum มาเป็นพันธมิตรสถาบันที่ทรงอิทธิพลในปัจจุบัน